รีบสังเกตด่วน! 8 อาการใหม่โอไมครอน หากไปพื้นที่เสี่ยง

27 ธันวาคม 2564

นักวิจัยอังกฤษเผยข้อมูลใหม่ 8 อาการใหม่โอไมครอน รีบสังเกตหากไปพื้นที่เสี่ยง แล้วคำถามเดิมจะกลับมา.."ฉันติดหรือยัง?"

จากกรณีที่เชื้อไวรัสโคโรน่า สายพันธุ์ใหม่ "โควิดโอไมครอน" ได้กระจายไปทั่วโลกแล้วตอนนี้ ซึ่งความสามารถของ ไวรัสโควิดสายพันธุ์โอมิครอน นี้มีความสามารถในการทำให้มนุษย์ติดเชื้อได้อย่างว่องไวที่สุด และจากข้อมูลของนักวิทยาศาสตร์ระบุว่า เชื้อ Omicron นั้นกระจายในอากาศ นั่นหมายความว่า มันไม่ได้ติดเชื้อเฉพาะสารคัดหลั่งแล้ว

8 อาการใหม่โอไมครอน รีบสังเกตหากไปพื้นที่เสี่ยง แล้วคำถามเดิมจะกลับมา.."ฉันติดหรือยัง?"

จากการที่นักวิทยาศาสตร์ได้วิจัยมานั้นพบว่า วัคซีนเข็มสาม สามารถช่วยยับยั้งอาการการติดเชื้อโอไมครอนได้ แต่ทางที่ดีคือ มนุษย์ควรรีบสังเกตุอาการโอมิครอน ให้ได้ก่อนสายเกินไป เพราะแม้จะยังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตจำนวนมากจาก เชื้อไวรัสโควิดโอมิครอน แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีเลย 

เกี่ยวกับเรื่องนี้ หนังสือพิมพ์เดอะ มิร์เรอร์ และเทเลกราฟ สื่อใหญ่ของอังกฤษ รายงานเมื่อช่วงกลางสัปดาห์ที่ผ่านมา ระบุว่า  ศาสตราจารย์ ทิม สเปคเตอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านระบาดวิทยาทางพันธุกรรม ของมหาวิทยาลัยคิงส์ คอลเลจ ลอนดอน ประเทศอังกฤษ หัวหน้าคณะวิจัย โซ (ZOE Covid App Symptom) ได้ให้ข้อสังเกตเกี่ยวกับ อาการผู้ติดเชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) ว่ามีความคล้ายคลึงกับอาการของไข้หวัด แต่ก็มี 2 อาการใหม่ให้เป็นที่สังเกต

8 อาการใหม่โอไมครอน รีบสังเกตหากไปพื้นที่เสี่ยง แล้วคำถามเดิมจะกลับมา.."ฉันติดหรือยัง?"


โดยจากการวิจัยพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ที่ทดสอบพีซีอาร์ (PCR) ที่มีผลเป็นบวกและมีการติดเชื้อโอมิครอน จะมีอาการพื้นฐานคล้ายหวัด แต่ไม่มีอาการไข้ ไอเรื้อรัง หรือสูญเสียกลิ่นและรสชาติ (ยังรับกลิ่นและรสชาติได้ดี) อย่างไรก็ตาม ทีมศึกษาวิจัย ZOE ได้สรุป 8 อาการ ที่เป็นสัญญาณบ่งบอกการติดเชื้อโอมิครอน ซึ่ง ได้แก่ 6 อาการที่คล้ายหวัด และ 2 อาการใหม่ ดังนี้ รวมเป็น 8 อาการใหม่โอไมครอน

อาการที่คล้ายหวัด คือ 1.เจ็บคอ 2. เหนื่อยล้า 3. ปวดศีรษะ 4. ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ 5. น้ำมูกไหล 6. จาม

ส่วนอาการใหม่ คือ 7. เหงื่อออกตอนกลางคืน และ 8. ปวดหลังส่วนล่าง

8 อาการใหม่โอไมครอน รีบสังเกตหากไปพื้นที่เสี่ยง แล้วคำถามเดิมจะกลับมา.."ฉันติดหรือยัง?"

 

นอกจากโอไมครอนอาการใหม่แล้ว ยังมีผลการวิเคราะห์ผู้ป่วยติดเชื้อโอมิครอนกว่า 78,000 คนในประเทศแอฟริกาใต้ ซึ่งเป็นแหล่งแรก ๆ ที่พบการติดเชื้อสายพันธุ์ดังกล่าว โดย ทีมงานวิจัยของบริษัทประกันสุขภาพ ดิสคัฟเวอรี เฮลธ์ (Discovery Health) พบว่า สัญญาณแรกเริ่มของผู้ติดเชื้อโอมิครอน ที่พบบ่อยที่สุดคือ อาการเจ็บคอ ตามด้วยคัดจมูก ไอแห้ง และปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ ซึ่งอาการปวดหลังส่วนล่าง เป็นอาการที่พบมากที่สุด

 
อีกทั้ง ผลการศึกษาวิจัยของแพทย์ทั่วไปในแอฟริกาใต้ ยังพบอีกว่า ผู้ป่วยจำนวนมากที่มีผลตรวจติดเชื้อโอมิครอน จะมีอาการเหงื่อออกตอนกลางคืน แม้ว่าจะนอนหลับในห้องที่มีอากาศหนาวเย็นก็ตาม

  8 อาการใหม่โอไมครอน รีบสังเกตหากไปพื้นที่เสี่ยง แล้วคำถามเดิมจะกลับมา.."ฉันติดหรือยัง?"


ด้าน เซอร์ จอห์น เบลล์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด และที่ปรึกษารัฐบาลอังกฤษด้านไวรัสโควิด-19 เปิดเผยว่า จากข้อมูลผลการวิจัยของหลายสำนัก บ่งชี้ว่า ไวรัสโควิดกลายพันธุ์โอมิครอน มีอาการค่อนข้างแตกต่างจากสายพันธุ์ก่อนหน้า ไม่ว่าจะเป็นอาการคัดจมูก เจ็บคอ ปวดกล้ามเนื้อ หรืออุจจาระเหลวในผู้ป่วยบางราย ซึ่งเหล่านี้เป็นสัญญาณบ่งชี้ที่ต้องระวัง ขอให้ประชาชนหมั่นสังเกตตนเอง


สำหรับข้อมูลเบื้องต้นจากกระทรวงสาธารณสุขของไทย ,หมอพร้อม และสสส. ได้ออกประกาศเตือนว่า เมื่อมีอาการดังกล่าวที่ทำให้สงสัยว่าจะติดไวรัสโควิดโอมิครอนหรือไม่ ให้ปฏิบัติดังนี้

- สำหรับผู้ป่วยสูงอายุ หรือ ผู้ป่วยเรื้อรังควรรีบพบแพทย์
- ถ้าเคยไปในพื้นที่เสี่ยง ควรตรวจ ATK
- แม้ฉีดวัคซีนครบ ก็ไม่ควรประมาทให้สังเกตอาการ หากไม่ดีขึ้น ให้รีบพบแพทย์


8 อาการใหม่โอไมครอน รีบสังเกตหากไปพื้นที่เสี่ยง แล้วคำถามเดิมจะกลับมา.."ฉันติดหรือยัง?"

สำหรับ ผู้ที่ฉีดวัคซีนแล้ว อาการมักไม่รุนแรง จนแทบไม่มีอาการ ปัจจุบันยังไม่พบรายงานผู้เสียชีวิตจากสายพันธุ์นี้ในประเทศไทย อย่างไรก็ตาม เราควรต้องเฝ้าระวังและดูแลตัวเองเพื่อป้องกันการติดเชื้อสายพันธุ์นี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยสูงอายุ ผู้ที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีนและใครที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีน แนะนำให้รีบไปรับวัคซีนป้องกันโควิด 

 

อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ที่ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็ม เป็นระยะเวลา 3 เดือนขึ้นไป สามารถรับวัคซีนเข็ม 3 (Booster Dose) เพราะร่างกายของเราต้องการระดับภูมิคุ้มกันที่สูงขึ้น แม้ว่าจะเคยติดเชื้อโควิดมาแล้ว หรือฉีดวัคซีนแล้ว ก็ยังคงติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนนี้ได้

8 อาการใหม่โอไมครอน รีบสังเกตหากไปพื้นที่เสี่ยง แล้วคำถามเดิมจะกลับมา.."ฉันติดหรือยัง?"

ข้อมูลจาก โรงพยาบาลศิครินทร์ กรุงเทพ , สสส. , เดอะ มิร์เรอร์ , เดอะ เทเลกราฟ