สธ.เผยแล้ว "โอไมครอน" รายแรกของไทย ผ่านเข้ามาได้อย่างไร

06 ธันวาคม 2564

สธ.เผยแล้ว "โอไมครอนรายแรก" เข้ามาไทยได้อย่างไร โดยผู้ติดเชื้อโคไมครอนรายนี้เป็นชายชาวอเมริกัน เดินทางมาจากประเทศสเปน เข้าไทยในรูปแบบtest and go

จากกรณีอัพเดทข่าวล่าสุด "โอไมครอนเข้าไทย" โดยนพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์แถลงด่วนพบโอไมครอนรายแรกในไทย เป็นชายชาวอเมริกัน เดินทางมาจากประเทศสเปน ซึ่งเข้าไทยในรูปแบบ test and go โดยเข้ามาตั้งแต่วันที่  1 ธันวาคม 2564 และได้รับแจ้งจากโรงพยาบาลว่าตรวจพบเชื้อโควิด-19 

ข่าววันนี้ นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ เผยว่า ผู้ป่วยโอไมครอนรายนี้  เป็นชายไทย อายุ 35 ปี สัญชาติอเมริกัน ที่ได้อาศัยอยู่ในประเทศสเปนเป็นเวลา 1 ปี ประกอบอาชีพ นักธุรกิจ เบื้องต้นไม่มีโรคประจำตัว ซึ่งป่วยแบบไม่มีอาการ 

 

สธ.เผยแล้ว "โอไมครอน"รายแรก" เข้ามาไทยได้อย่างไร

ไทม์ไลน์ผู้ป่วยโอไมครอนรายแรกของไทย วันที่ 28 พฤศจิกายน 2564 ตรวจ PCR ที่สเปนผลไม่พบเชื้อหลังจากนั้นไปทานข้าวกับเพื่อนซึ่งเพื่อนไม่มีอาการป่วยจนถึงปัจจุบัน กระทั่งวันที่ 29 พฤศจิกายน 2564 บินจากประเทศสเปนไปดูไบ โดยเที่ยวบิน EK142 และพักที่ดูไบ 9 ชั่วโมงโดยไม่ได้พูดคุยกับใครและสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา

จากนั้นวันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 บินจากดูไบมากรุงเทพฯด้วยเที่ยวบิน EK 372 หลังจากลงเครื่องเวลาประมาณเที่ยงคืนไปเก็บตัวอย่างแบบ Drive Thru ที่โรงพยาบาลคู่สัญญาและกลับเข้าโรงแรม ซึ่งผู้ป่วยเข้าโครงการ Test & go  

 

ในเดือนธันวาคมตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2564 และได้รับแจ้งจากโรงพยาบาลว่าตรวจพบเชื้อโควิด โดยมีรายละเอียด CT : ORF1ab = 33.10 และ N gene = 30.71 กระทั่งวันที่ 3 ธันวาคมส่งตัวอย่างตัวเชื้อยืนยันที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

 

สธ.เผยแล้ว "โอไมครอน"รายแรก" เข้ามาไทยได้อย่างไร

 

ซึ่งโครงการ TEST & GO (Exemption from Quarantine) เป็นโครงการ สำหรับผู้เดินทางที่ได้รับวัคซีนจากประเทศที่มีสิทธิ์เดินทางเข้าไทยไม่ต้องกักตัวเริ่มเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 สำหรับนักท่องเที่ยวจากประเทศนำร่อง โดยกำหนดให้เฉพาะนักท่องเที่ยวที่ฉีดวัคซีนโควิด-19 และเดินทางเข้าประเทศไทยทางอากาศได้รับการยกเว้นจากการกักตัว

ทั้งนี้สำหรับเทคนิคการตรวจสายพันธุ์ไวรัสก่อโรคโควิด-19 จะมี 3 วิธีทดสอบ คือ

1.RT-PCR โดยใช้น้ำยาพิเศษแต่ละสายพันธุ์โดยตรง ใช้เวลา 1-2 วัน โดยศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ 15 แห่งทั่วประเทศดำเนินการได้

2.Target sequencing เป็นการดูรหัสพันธุกรรมว่าเหมือนชนิดใดใช้เวลา 3 วัน

3.Whole genome sequencing เป็นการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งตัว ใช้เวลา 1 สัปดาห์ ทั้งนี้ ขณะนี้ยังไม่มีน้ำยาเฉพาะที่จะตรวจหาสายพันธุ์ใหม่โอมิครอนด้วยวิธีRT-PCRซึ่งใช้เวลาเร็วที่สุด1-2วัน จะต้องใช้เวลาพัฒนาอีก 2 สัปดาห์

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก Tnews