เปิดความจริง ตรวจพบดีเอ็นเอสัตว์ปนเปื้อนในอาหารเจกว่าร้อยละ 17.5

08 ตุลาคม 2564

เปิดความจริง กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ตรวจพบดีเอ็นเอเนื้อสัตว์ปนเปื้อนในอาหารเจ มากกว่าร้อยละ 17.5 เลยทีเดียว

จากกรณี (8 ตุลาคม 2564) มีรายงานว่า นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยสำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้มีการตรวจเฝ้าระวังอาหารที่นิยมรับประทานในช่วงเทศกาลกินเจ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งในปี 2564 ได้มีการเฝ้าระวังทั้งปี เปิดความจริงพบว่าในอาหารเจพบดีเอ็นเอสัตว์อยู่กว่า ร้อยละ 17.5

โดยแบ่งอาหารเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ อาหารเลียนแบบเนื้อสัตว์ อาหารประเภทเส้น และผักผลไม้สดจากตลาดสดในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑลรวมจำนวน 93 ตัวอย่าง ผลการตรวจวิเคราะห์ พบว่า อาหารเลียนแบบเนื้อสัตว์ เช่น เป็ดเจ หมูสามชั้นเจ ลูกชิ้น ปลาเค็ม ไส้กรอก จำนวน 57 ตัวอย่าง ตรวจพบ ดีเอ็นเอ (DNA) ของเนื้อสัตว์ปนเปื้อนในอาหารเจ จำนวน 10 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 17.5 อาหารประเภทเส้น เช่น วุ้นเส้น เส้นหมี่ เส้นเล็ก เส้นใหญ่ จำนวน 15 ตัวอย่าง ทุกตัวอย่างตรวจไม่พบกรดซอร์บิก ซึ่งไม่อนุญาตให้ใช้ในอาหารประเภทนี้ แต่ตรวจพบกรดเบนโซอิก จำนวน 9 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 60 ปริมาณที่พบอยู่ในช่วง 304-855 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งไม่มีตัวอย่างใดเกินค่ามาตรฐานที่กำหนด

ทั้งนี้กรดเบนโซอิก และกรดซอร์บิก เป็นวัตถุกันเสียที่ใช้ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ มีความเป็นพิษต่ำ แต่ถ้าได้รับในปริมาณที่สูงมากอาจทำให้เกิดอันตรายได้สำหรับผู้แพ้สารนี้ เช่น เกิดผื่นคัน คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย เป็นต้น ผักและผลไม้สด เช่น คะน้า ขึ้นฉ่าย ถั่วฝักยาว แครอท มะเขือเทศ ส้ม แอปเปิ้ล มันญี่ปุ่น จำนวน 21 ตัวอย่าง ตรวจพบสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชตกค้างในส้มและแอปเปิ้ล จำนวน 5 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 23.8 

 

เจอดีเอ็นเอสัตว์ในอาหารเจ

 

- สาวคันหลัง นึกว่าสิว ทนเจ็บปวดมานาน 2 เดือน กลับกลายเป็นเรื่องน่ากลัว

- เตรียมเสนอศบค.ชุดใหญ่ล็อกดาวน์ 4 จังหวัด

- ลือให้แซด จีซู BLACKPINK กำลังเดตกับ Son Heung Min นักเตะของสเปอร์

นายแพทย์ศุภกิจ กล่าวต่ออีกว่า การกินเจเพื่อให้มีสุขภาพดี ควรรับประทานอาหารที่สะอาดปลอดภัย ถูกหลักโภชนาการ รับประทานอาหารเจให้หลากหลายชนิด และปรุงสุกใหม่ๆ ไม่ควรซื้ออาหารมาเก็บไว้นาน ๆ หากมีความจำเป็นต้องเก็บอาหารนั้นควรเก็บไว้ในตู้เย็นและนำมาอุ่นก่อนรับประทาน

 

นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

 

สำหรับการรับประทานอาหารเจที่เลียนแบบเนื้อสัตว์ ผู้บริโภคหรือผู้ปรุงอาหารควรเลือกซื้อวัตถุดิบจากร้านที่เชื่อถือได้ และควรมีฉลากระบุสถานที่ผลิต วันเดือนปี และเครื่องหมาย อย.หรือเลขสารระบบอาหารที่ชัดเจน เพราะถ้าแหล่งผลิตไม่ได้มาตรฐานบางครั้งอาจมีส่วนประกอบ เช่น ไข่ นม หรือเนื้อสัตว์ปนเปื้อน ส่วนผักและผลไม้สด ควรล้างน้ำให้สะอาดก่อนรับประทานหรือนำมาปรุงอาหารเพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพของผู้บริโภคและได้รับความสุขทั้งกายและใจตลอดช่วงเทศกาลกินเจปีนี้

 

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก Tnews