วันโกนวันนี้ ทำบุญให้เจ้ากรรมนายเวร เปลี่ยนเรื่องร้ายให้กลายเป็นเรื่องดี

13 กันยายน 2564

วันโกน คือ วันขึ้น 7 ค่ำกับ 14 ค่ำ และวันแรม 7 ค่ำกับ 14 ค่ำ ของทุกเดือน (หรือ วันแรม 13 ค่ำ หากตรงกับเดือนขาด) ซึ่งเป็นวันก่อนวันพระ 1 วัน[1] วันพระ คือ วันขึ้น 8 ค่ำกับ 15 ค่ำ และวันแรม 8 ค่ำกับ 15 ค่ำ ของทุกเดือน (หรือวันแรม 14 ค่ำ หากตรงกับเดือนขาด)

การทำบุญในวันโกนนั้น คุณสามารถทำได้หลัง 1 ทุ่มเป็นต้นไป โดยวันโกนนั้นก็คือวันก่อนวันพระ เรียกได้ว่าเป็นวันที่ไม่ควรลืมที่จะทำบุญให้เจ้ากรรมนายเวร ผี คน และสัตว์ที่ตกทุกข์ได้ยากต่างๆมากมาย คำอธิษฐานเวลาทำบุญวันโกนมาให้ ดังนี้ ” ข้าพเจ้าชื่อ และ ของข้าพเจ้าชื่อ วันนี้วันโกน และต่อ ๆ ไป ทุกวันโกนข้าพเจ้าและ ของข้าพเจ้าจะนำข้าวปลาน้ำมาให้ เจ้ากรรมนายเวรที่ติดตามตัวข้าพเจ้าและ  เทวดาที่ดูแลรักษาตัวข้าพเจ้าและ

ข้าว

เจ้าที่เจ้าทาง ผีสางนางไม้ ภูติผีปีศาจ สัมภเวสีผีเร่ร่อนอดยาก ตลอดจนสัตว์ เดรัจฉานที่ผ่านไปมาทั้งหลาย จงมาดื่มกินข้าวปลาน้ำที่ข้าพเจ้านำมาให้ครั้งนี้ และ เมื่อได้ดื่มกินอิ่มหนำสำราญแล้ว ขอจงรีบนำสิ่งที่ไม่ดีทั้งหลายออกไปจากบ้านและ ตัวของข้าพเจ้าและ ของข้าพเจ้าเดี๋ยวนี้เลย พร้อมทั้งอวยพรให้ข้าพเจ้าและ ของข้าพเจ้าจงร่ำรวยแก้วแหวนเงินทองไหลมาเทมามีโชคลาภถูกหวยถูกล็อตเตอรี่ รางวัลใหญ่ ๆ สุขภาพแข็งแรง ปราศจากทุกข์โศกโรคภัยไข้เจ็บ ปัดเป่าปัญหา อุปสรรคให้หมดสิ้นไปโดยเร็ว ความสุขกลับมาเยือน ความทุกข์ห่างหายฉับพลัน

น้ำ

ใช้ธูปจุด 1 ดอก ข้าวสวย 1 ถ้วยเล็ก น้ำเปล่า 1 แก้ว ปลาทูทอดสวย 1 คู่ (2ตัว) วางที่กลางแจ้งหรือใต้ต้นไม้ใหญ่หน้าบ้านนอกรั้วบ้าน ขอให้ปักธูปไว้ที่ดิน เมื่อได้ทำแล้วขอให้จงได้ทำทุกๆวันโกน จงอย่าได้ลืม ปฏิบัติให้ได้ทุกวันโกน ชีวิตเริ่มดีขึ้นเรื่อย ๆ อะไรที่ติดขัดจะค่อยหายเริ่มราบรื่นขึ้นมา

ประวัติ ในสมัยพุทธกาล พระเจ้าพิมพิสาร กษัตริย์ผู้ครองแคว้นมคธ ได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าซึ่งประทับอยู่ที่ เขาคิชกูฏ ใกล้เมืองราชคฤห์ซึ่งเป็นเมืองหลวงของแคว้น พระเจ้าพิมพิสารได้กราบทูลว่า นักบวชในศาสนาอื่นมีวันประชุมสนทนาเกี่ยวกับหลักธรรมคำสอนในศาสนาของเขา แต่พระพุทธศาสนานั้นยังไม่มี พระพุทธเจ้าจึงทรงอนุญาตให้พระสงฆ์ประชุมสนทนาธรรมและแสดงพระธรรมเทศนาแก่ประชาชนตามคำขออนุญาตของพระเจ้าพิมพิสาร และเมื่อพระพุทธศาสานาได้เผยแผ่เข้ามาในประเทศไทย พุทธศาสนิกชนจึงถือเอาวันดังกล่าวมาเป็นวันธรรมสวนะเพื่อถือศีล ปฏิบัติธรรม ประกอบบุญกุศล และกระทำกิจของสงฆ์มาตั้งแต่สมัยสุโขทัย อีกด้วย