ช่างภาพอินเดีย เผยภาพของเสือบนหน้าผา ทำเอาหลายคนงงตาแตก เสืออยู่ตรงไหน?

28 กรกฎาคม 2564

ช่างภาพอินเดีย เผยภาพของเสือบนหน้าผา ทำเอาหลายคนงงตาแตก เสืออยู่ตรงไหน? เนี้ยนเนียนไปเรียนมาจากไหน วันนี้มีชาเลนจ์ง่ายๆ มาฝากลูกเพจกันอีกแล้ว Saurabh Desai ช่างภาพในอินเดียได้เผยแพร่ภาพของเสือดาวหิมะที่ถ่ายได้บนหน้าผาบริเวณหุบเขา Spiti ทางเหนือของอินเดีย

แม้ว่าขนยาวหนาพร้อมลวดลายจะช่วยให้ดูกลมกลืนกับสภาพแวดล้อมที่อาศัยซึ่งเป็นภูเขาหินและหิมะปกคลุมได้ดีขนาดนี้ แต่ตามรายงานของ World Wildlife Fund กลัพบว่าว่ามีพวกมันน่าจะเหลืออยู่ในธรรมชาติ 4,000 - 6,000 ตัวเท่านั้น เนื่องจากสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงและปัญหาการสูญเสียถิ่นที่อยู่ตามธรรมชาติ

ช่างภาพอินเดีย เผยภาพของเสือบนหน้าผา

เห็นเสือกันไหมทุกคน?

สำหรับ เสือดาวหิมะ เป็นสัตว์ในวงศ์ Felidae ชนิดหนึ่ง เป็นสัตว์ป่าที่หายากใกล้สูญพันธุ์ มีขนยาวหนาแน่น สีพื้นเทาอมเหลือง บริเวณสีข้างจะอมเหลืองจาง ๆ มีลายดอกเข้มทั่วตัวคล้ายเสือดาว (P. pardus) ช่วยให้ดูกลมกลืนกับสภาพแวดล้อมที่อาศัยซึ่งเป็นภูเขาหินและหิมะปกคลุม ลายดอกบริเวณหลังและสีข้างมีขนาดใหญ่ ส่วนบริเวณหัวและขาเป็นลายจุดขนาดเล็ก บริเวณคาง อก และท้องเป็นสีขาวปลอดไม่มีลาย ลายบริเวณหลังและสีข้างจะจางกว่าบริเวณอื่น 
ช่างภาพอินเดีย เผยภาพของเสือบนหน้าผา

ซึ่งต่างจากเสือลายจุดชนิดอื่นที่มักมีลายที่หลังเข้มกว่า หางด้านบนจะเป็นวงสีดำ ด้านล่างของหางเป็นจุดจาง ๆ เปรียบเทียบลายดอกของเสือดาวหิมะกับของเสือดาวแล้ว ดอกของเสือดาวหิมะจะห่างกันมากกว่าและไม่คมชัดเท่า มีกล้ามเนื้อหน้าอกและหัวไหล่ที่แข็งแรง อุ้งเท้ากว้างแข็งแรงและปกคลุมด้วยขน ช่วยให้เพิ่มพื้นที่ผิวและกระจายน้ำหนักตัวลงบนหิมะได้อย่างสม่ำเสมอ และช่วยปกป้องอุ้งเท้าจากความเย็นของหิมะได้ดี มีโพรงจมูกใหญ่ที่มีลักษณะพิเศษช่วยให้อากาศที่เย็นเปลี่ยนเป็นอุ่น ก่อนที่จะสูดหายใจเข้าไปในปอด และมีหางยาวที่ขนฟูสามารถพันรอบตัวเพื่อป้องกันความหนาวได้เหมือนผ้าพันคอ

ช่างภาพอินเดีย เผยภาพของเสือบนหน้าผา

มีความยาวลำตัวและหัว 90–135 เซนติเมตร ความยาวหาง 90 เซนติเมตร ความสูงถึงหัวไหล่ 60 เซนติเมตร น้ำหนักในตัวผู้ 44–55 กิโลกรัม ตัวเมีย 35–40 กิโลกรัม เสือดาวหิมะตัวเมียจะตกลูกครั้งละ 2 ตัว ทุก ๆ 2 ปี ลูกตัวผู้จะอยู่กับแม่นาน 18 เดือน ส่วนตัวเมียจะอยู่ 2 ปี ก่อนจะแยกตัวออกไป

ช่างภาพอินเดีย เผยภาพของเสือบนหน้าผา

ขอบคุณที่มา : สำรวจโลก , วิกิพีเดีย