สื่อนอกตีข่าว ไทยเป็นชาติแรกโลก ผสมสูตรวัคซีนซิโนแวค-แอสตร้าฯ

14 กรกฎาคม 2564

สื่อต่างประเทศรายงานข่าว ประเทศไทยผสมสูตรวัคซีนซิโนแวคกับแอสตราเซเนกา เป็นครั้งแรกในโลก หลังบุคลากรการแพทย์หลายติดเชื้อโควิด แม้จะได้รับวัคซีนครบ 2 เข็มแล้ว

วันที่ 14 ก.ค. 64 สื่อต่างประเทศหลายสำนักให้ความสนใจ กรณีที่รัฐบาลไทยปรับแผนฉีดวัคซีนโควิดสลับ 2 ชนิด โดยเข็ม 1 เป็นวัคซีนซิโนแวค และเข็ม 2 เป็นแอสตร้าเซนเนก้า ห่างจากเข็มแรกนาน 3-4 สัปดาห์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันเชื้อกลายพันธุ์สายพันธุ์เดลตา โดยระบุว่า ไทยถือเป็นชาติแรกที่มีการใช้วัคซีนไขว้ 2 ชนิด 

สื่อนอกตีข่าว ไทยเป็นชาติแรกโลก ผสมสูตรวัคซีนซิโนแวค-แอสตร้าฯ

 

โดยสำนักข่าวบีบีซี รายงานว่า การตัดสินใจเปลี่ยนแผนการฉีดวัคซีนของไทยมีขึ้น หลังจากผู้ติดเชื้อโควิด-19ใ นไทยเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์หลายร้อยคนติดเชื้อโควิด หลังฉีดซิโนแวคครบสองเข็มแล้ว สำหรับแผนปรับการฉีดวัคซีนก็คือ ผู้ที่ฉีดซิโนแวคเข็มแรก ให้มาฉีดแอสตราเซเนกาในเข็มสอง ส่วนเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ที่ได้รับซิโนแวคครบ 2 เข็ม จะได้รับการฉีดวัคซีนกระตุ้นภูมิต้านทานของร่างกาย เข็มที่ 3 เป็นวัคซีนต่างชนิดกัน

สื่อนอกตีข่าว ไทยเป็นชาติแรกโลก ผสมสูตรวัคซีนซิโนแวค-แอสตร้าฯ

ขณะที่สำนักข่าวรอยเตอร์ ได้ระบุถึงคำกล่าวของ อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ที่กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า การฉีดวัคซีนไขว้ระหว่างซิโนแวคกับแอสตร้าเซนเนก้านั้น จะช่วยป้องกันไวรัสสายพันธุ์เดลตาได้ดียิ่งขึ้น และช่วยสร้างระบบภูมิคุ้มกันต่อไวรัสโควิดได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยชี้ว่าการฉีดวัคซีนแอสตร้าฯ ในเข็มสองนั้นจะทิ้งระยะห่างจากซิโนแวคเข็มแรก 3-4 สัปดาห์ แผนนี้จะถูกนำไปใช้กับประชาชนที่ได้รับวัคซีนซิโนแวคแล้วในเข็มแรก ส่วนบุคลากรทางการแพทย์ที่รับซิโนแวคครบสองเข็มแล้วนั้น รัฐบาลไทยเตรียมฉีดบูสเตอร์เข็มสามเป็นวัคซีนต่างชนิดกัน ซึ่งอาจเป็นวัคซีนของไฟเซอร์หรือแอสตร้าฯ

สื่อนอกตีข่าว ไทยเป็นชาติแรกโลก ผสมสูตรวัคซีนซิโนแวค-แอสตร้าฯ


นอกจากนี้สำนักข่าวรอยเตอร์ ยังระบุอีก ในปัจจุบันยังไม่มีผลการศึกษาหรืองานวิจัยอย่างชัดเจนเกี่ยวกับการใช้วัคซีนไขว้ระหว่างซิโนแวค กับแอสตร้าเซเนก้า ซึ่งประเทศไทยเป็นชาติแรกที่ใช้รูปแบบการฉีดดังกล่าว ขณะที่สื่อต่างประเทศบางแห่งรายงานว่า การให้ข้อมูลระหว่างหน่วยงานสาธารณสุขไทย กับคณะทำงานควบคุมโรคโควิดของรัฐบาลมักเผยแพร่ข้อมูลไม่ตรงกันซึ่งสร้างความสับสนแก่สาธารณชนในหลายครั้ง

ขอบคุณ bbc ,reuters