"ดร.อนันต์"ชี้ WHO ไม่ได้ค้านวัคซีนผสมสูตร จากสื่อ สาระที่ได้อาจผิดเพี้ยน

13 กรกฎาคม 2564

นักวิจัยด้านไวรัสวิทยา ไบโอเทค ออกมาเเสดงความคิดเห็น กรณีองค์การอนามัยโลกหรือ เตือน ฉีดวัคซีนผสมสูตร ลับเข็ม อาจเป็นอันตรายได้ ยัน WHO ไม่ได้ค้านการใช้วัคซีนแบบสลับเข็ม

หลังจากที่ ดร.โสมญา สวามินาธาน หัวหน้าทีมนักวิทยาศาสตร์ขององค์การอนามัยโลก หรือ WHO ออกมาเตือนหลายๆประเทศทั่วโลกว่า ไม่ควรฉีดวัคซีนโควิดที่ผสมสูตรให้กับประชาชน เนื่องจากจะเป็นการก่อให้เกิด “เทรนด์อันตราย” (dangerous trend) เพราะยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบด้านสุขภาพในการดำเนินการดังกล่าวรณี  แนะควรหลีกเลี่ยงฉีดวัคซีนผสมสูตร 


 

  ด้าน ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักวิจัยด้านไวรัสวิทยา ไบโอเทค  โพสต์เฟซบุ๊ค Anan Jongkaewwattana คิดเห็นเรื่องดังกล่าวว่า ...ส่วนตัวผมไม่คิดว่า Dr. Swaminathan จาก WHO ค้านการใช้วัคซีนแบบสลับเข็มนะครับ แต่สิ่งที่ค้านคือคนไปขอฉีดแบบนั้นกันเอง คำว่า Public Health agencies (ซึ่งก็คือคณะกรรมการสาธารณสุข + ผู้เชี่ยวชาญ) can [decide] based on available data (บนข้อมูลที่มีในแต่ละประเทศ) ที่อยู่ใน ทวิตเตอร์ของเธอเองก็ชัดเจนอยู่ในตัวเองแล้ว 

"ดร.อนันต์"ชี้ WHO ไม่ได้ค้านวัคซีนผสมสูตร

ความเห็นของนักวิชาการควรใช้สารตรงจากนักวิชาการครับ ถ้าผ่านการย่อยมาจากสื่อ สาระที่ได้อาจผิดเพี้ยน

"ดร.อนันต์"ชี้ WHO ไม่ได้ค้านวัคซีนผสมสูตร

สำหรับมติคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ณ วันที่ 12 กรกฎาคม 2564

 
1.ฉีด วัคซีนโควิด19 สลับชนิด โดยเข็มที่ 1 เป็น ซิโนแวค เข็มที่ 2 เป็นแอสเซนเนก้า ระยะห่างกัน 3-4 สัปดาห์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันเชื้อกลายพันธุ์ เดลตา โดยโรงพยาบาลต่างๆ สามารถดำเนินการได้ทันที เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่บุคลากรทางการแพทย์

"ดร.อนันต์"ชี้ WHO ไม่ได้ค้านวัคซีนผสมสูตร
2. ฉีดวัคซีนแบบบูสเตอร์ โดส (Booster Dose  ) ให้วัคซีนเข็มที่ 3 ห่างจากเข็ม 2 ในระยะ 3-4 สัปดาห์ขึ้นไป โดยบุคลากรทางการแพทย์ต้องได้รับวัคซีนครบ 2 เข็มเกิน 4 สัปดาห์แล้ว จึงจะสามารถฉีดกระตุ้นบูสเตอร์ โดสได้ทันที ซึ่งการบูสเตอร์ โดส จะใช้ แอสตร้าเซนเนก้า เป็นหลัก เพราะมีข้อมูลทางวิชาการว่า การให้วัคซีนกระตุ้นคนละชนิดจะเป็นผลดีต่อการสร้างภูมิคุ้มกันในบุคคล เพื่อป้องกันโรคโควิด-19 มากขึ้น
3.ใช้ชุดตรวจ Rapid antigen test ในสถานพยาบาลกว่า 300 แห่ง เร็วๆ และจะอนุญาตให้ประชาชนตรวจได้เองที่บ้านได้  ปัจจุบันมี 24 บริษัท ที่ขึ้นทะเบียน Rapid antigen test กับ  อย. แล้ว
4.แนวทางการแยกกักตัวที่บ้าน (Home Isolation) และแยกกักในชุมชน  (Community Isolation) สำหรับผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรง ซึ่งทั้งหมดจะมีระบบติดตาม มีเครื่องมือวัดออกซิเจนในกระแสเลือด มียา และอาหาร โดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ร่วมกับโรงพยาบาลและคลินิกชุมชนอบอุ่นในพื้นที่คอยดูแล

ขอบคุณ
Anan Jongkaewwattana