ค้านฉีดไฟเซอร์ให้บุคลากรด่านหน้า เเฉกลัวถูกจับได้ซิโนแวคไร้ประสิทธิภาพ

04 กรกฎาคม 2564

คัดค้านการฉีดไฟเซอร์เป็นวัคซีนเข็มที่3ให้บุคลากรทางการเเพทย์ แฉว่าสาเหตุหนึ่งที่ไม่ยอมฉีดให้บุคลากรด่านหน้าคือ หากฉีดจะเท่ากับยอมรับว่า ซิโนแวค ไม่มีผลต่อการป้องกัน แล้วจะแก้ตัวยากมากขึ้น

4 ก.ค.64 ความคืบหน้าเกี่ยวกับการนำเข้าวัคซีนทางเลือก ของประเทศไทย  ซึ่งได้มีการประชุมสรุปแนวทางการบริหารจัดการวัคซีนไฟเซอร์ ที่คาดว่าจะมาถึงประเทศไทยเดือน ก.ค. จำนวน 1.5 ล้านโดส และในไตรมาส 4 อีก 20 ล้านโดส  โดยมติที่ประชุมเห็นชอบให้ใช้วัคซีนไฟเซอร์ที่ได้รับระยะแรก จำนวน 1.5 ล้านโดส เป็นวัคซีนเข็มที่ 1 ทั้งหมดแก่ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป หรือหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ขึ้นไป ในพื้นที่ที่มีเชื้อโควิด-19ระบาดรุนแรง กทม.-ปริมณฑล

โดยผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อเร็วๆนี้ได้มีการประชุมของหน่วยงานหนึ่งในกระทรวงสาธารณสุข เพื่อซักซ้อมทำความเข้าใจ และกำหนดเป้าหมายการกระจายวัคซีนไฟเซอร์ล็อตแรก 1.5 ล้านโดส ซึ่งได้รับจากการบริจาค และคาดว่าจะกระจายภายในเดือนกรกฎาคม-สิงหาคมนี้ทันที 

ค้านฉีดไฟเซอร์ให้บุคลากรด่านหน้า เเฉกลัวถูกจับได้ซิโนแวคไร้ประสิทธิภาพ

เนื้อหาของการประชุมได้มีการอธิบายถึงประสิทธิภาพของวัคซีนไฟเซอร์ในหลากหลายมิติ รวมถึงผลข้างเคียงที่จะเกิดกับการฉีดเข็มแรกมากกว่าเข็มที่ 2 โดยผลข้างเคียงจะเกิดขึ้นภายใน 2-3 วัน และเกิดกับผู้ชายมากกว่าผู้หญิง  ส่วนวิธีการฉีดวัคซีน จะแบ่งเป็น 2 ครั้ง ระยะห่าง 3 สัปดาห์ ต้องเก็บรักษาในอุณภูมิ -90 ไปถึง -60 องศาเซลเซียส ซึ่งหากเป็นอุณหภูมิระดับนี้ จะสามารถเก็บรักษาวัคซีนไว้ได้นานถึง 6 เดือน แต่หากเก็บไว้ที่อุณหูมิระหว่าง 2 ถึง 8 องศาเซลเซียส จะเก็บไว้ได้เพียงแค่ 1 เดือนเท่านั้น 

 

ส่วนการฉีดและกระจายวัคซีนไฟเซอร์ มีการหารือแบ่งกลุ่มเป้าหมายออกเป็น 3 กลุ่ม 3 ทางเลือก คือ 

กลุ่มแรก เป็นกลุ่มบุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 12 ปี แต่ต่ำกว่า 18 ปี  

กลุ่มที่สอง คือ กลุ่มเสี่ยงที่ยังไม่ได้รับวัคซีน ได้แก่ ผู้สูงอายุ, ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และหญิงตั้งครรภ์

กลุ่มที่สาม คือ บุคลากรด่านหน้า บุคลาการทางการแพทย์ เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกัน และเป็นการฉีดเข็ม 3 เพราะบุคลากรด่านหน้ามีความเสี่ยงสูง และต้องทำงานใกล้ชิดกับผู้ป่วยโควิด ประกอบกับที่ผ่านมา มีบุคลากรที่ได้รับวัคซีนซิโนแวค 2 เข็มไปแล้ว แต่ยังติดเชื้ออยู่ โดยข้อเสนอการฉีดวัคซีนเข็ม 3 ให้กับบุคลากรด่านหน้า มีหลายเสียงให้การสนับสนุน 

สุดท้ายที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้กระจายวัคซีนไฟเซอร์ จำนวน 1.5 ล้านโดส ให้กับกลุ่มเสี่ยงที่เป็นผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป รวมถึงหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ขึ้นไป แต่จะต้องอยู่ในพื้นที่เสี่ยงที่มีการระบาดรุนแรง ซึ่งขณะนี้คือ พื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เพื่อลดการป่วยรุนแรงและการเสียชีวิต แต่ยังไม่มีการฉีดให้กับกลุ่มบุคลากรด่านหน้า เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลยืนยันเรื่องการฉีดวัคซีน mRNA เข็มที่ 3 เพื่อการกระตุ้นภูมิ 

 

เเละจากข้อมูลในการแถลง ศบค.เมื่อวันที่  3 ก.ค. 64 เผยถึงไทม์ไลน์จัดซื้อวัคซีน Pfizer ป้องกันโควิด-19 ในไทย

ค้านฉีดไฟเซอร์ให้บุคลากรด่านหน้า

ก่อน เม.ย. 64 ติดต่อหารือกับ Pfizer

16 เม.ย. 64 ที่ประชุม ศบค. ครั้งที่ 5/2564 มีมติจัดหาวัดซีน

20 เม.ย. 64 ครม. รับทราบ ตามที่ ศบค. เสนอ

29 เม.ย. 64 ทั้งสองฝ่ายได้มีการลงนามใน CONFIDENTIAL DISCLOSURE AGREEMENT

3 พ.ค. 64 กรมควบคุมโรค ส่งร่าง Binding Term Sheet ให้ อสส. พิจารณา

25 พ.ค. 64 กรมควบคุมโรค มีหนังสือส่งร่าง Bindling Term Sheet ที่ได้เจรจาเพิ่มเติมกับทาง Pfizer ให้สำนักงานอัยการสูงสุดพิจารณา

28 พ.ค. 64 สำนักงานอัยการสูงสุดแจ้งผลการพิจารณา Binding Term Sheet การตกลงจองซื้อวัคซีน Pfizer จัดซื้อตามนโยบายรัฐบาล

10 มิ.ย. 64 ลงนาม Binding Term Sheet

11 มิ.ย. 64 ขอขึ้นทะเบียน

24 มิ.ย. 64 อย.ขึ้นทะเบียน

26 มิ.ย. 64 Pfizer ส่งเอกสารสัญญา Manufacturing and Supply Agreement

28 มิ.ย. 64 ส่งให้สำนักงานอัยการสูงสุด

5 ก.ค. 64 อัยการสูงสุดส่งกลับกรมควบคุมโรค

6 ก.ค. 64 เข้า ครม.เห็นชอบ ก่อนลงนาม