หญิงวัย 36 ปี ถูกหนูที่เลี้ยงไว้กัด ผ่านไป 10 วัน ร่างกายเริ่มรู้สึกไม่ปกติ

25 มิถุนายน 2564

เพจเฟซบุ๊ก ศูนย์วิจัยโรคปรสิต Parasitic Disease Research Center โพสต์ภาพเหตุการณ์ หลังจากมีหญิงวัย 36 ปี รายหนึ่ง เลี้ยงหนูไว้ภายในบ้าน จนกระทั่งพลาดท่าโดนกัดเข้าไปที่มือซ้าย แต่พอเวลาผ่านไป 10 เพิ่ง ร่างกายเริ่มรู้สึกได้ถึงความไม่ปกติ หลังจากที่เธอเริ่มมีอาการไข้

เพจเฟซบุ๊กโพสต์ข้อความระบุว่า.. Rat Bite Fever หนูที่เลี้ยงไว้กัดมือ เลยได้ไข้กับผื่นจากเชื้อโรค

-> หญิงอายุ 36 ปี มีอาการไข้ ปวดตามข้อ กล้ามเนื้อ และศีรษะ มีอาการมาแล้ว 3 วัน 
-> มีประวัติถูกหนูที่เลี้ยงเลี้ยงไว้ กัดที่มือซ้ายเมื่อ 10 วันก่อนมาโรงพยาบาล
-> ผลการตรวจร่างกายพบผื่นแดงที่เท้า (A) และมือ ลักษณะตุ่มเป็นรอยนูน (C) ข้อเท้าขวา เข่าซ้าย และข้อมือซ้ายบวมและอ่อนนุ่ม 
-> ผู้ป่วยได้รับการรักษา โดยได้รับยา Ceftriaxone ทางหลอดเลือดดำ
-> ผลการเพาะเชื้อพบติดเชื้อ Streptobacillus moniliformis เป็นบาซิลลัสแกรมลบ ผู้ป่วยรายนี้ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคไข้หนูกัด
-> การรักษาอย่างต่อเนื่องทำให้อาการไข้และปวดข้อดีขึ้น ผู้ป่วยได้กลับบ้านในวันที่ 7 โดยได้รับยา Amoxicillin ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นตามลำดับ
 

เห็นเคสที่น่าสนใจ เลยอยากนำมาฝากสมาชิก เป็นเคสที่รายงานโดยหมอ Stephane Giorgiutti และ Nicolas Lefebvre (2019) ตีพิมพ์ในวารสาร N Engl J Med ความจริงผู้ป่วยรายนี้ติดเชื้อทางจุลชีวิทยา ไม่ใช่ปรสิต แต่น่าจะเกิดประโยชน์สำหรับเป็นข้อเตือนใจระมัดระวังเวลาเลี้ยงหนู และสังเกตอาการที่เกิดขึ้นหากโดนกัดปกติแล้ว 

โรคไข้หนูกัด เกิดจาการติดเชื้อจุลชีพที่พบได้บ่อยมีอยู่ 2 ชนิด คือ S. moniliformis พบทางฝั่งอเมริกาเหนือ อีกตัวคือ Spirillum minus มีรายงานทางเอเชีย เชื้อโรคจะเข้าสู่ร่างกายคนได้โดยผ่านทางแผล รวมถึงทางตา จมูก หรือปาก โรคนี้ไม่ติดต่อจากคนหนึ่งสู่อีกคน คนติดต่อจากการสัมผัสกับสัตว์กลุ่มกัดแทะที่มีแบคทีเรียเหล่านี้ อาจจะจากการโดนกัด หรือการกินอาหารหรือน้ำที่มีการปนเปื้อนเชื้อจากน้ำลาย ฉี่หรือมูลสัตว์กลุ่มนี้ เป็นต้น

ท่านที่เลี้ยงหนู และสัตว์กัดแทะอื่นๆ ท่านต้องระมัดระวังอย่าให้โดนกัดมือเป็นโดยเด็ดขาด และรวมถึงเวลาเลี้ยง ก็เลี่ยงการสัมผัสน้ำลาย ฉี่ และมูลโดยมือ ควรสวมถุงมือ ล้างกรง เปลี่ยนน้ำบ่อย ดูแลรักษาหนูโดยปรึกษาสัตวแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นประจำ มิฉะนั้น ท่านอาจจะเสี่ยงต่อเชื้อนี้ได้

Picture courtesy : Stephane Giorgiutti and Nicolas Lefebvre. Rat Bite Fever. N Engl J Med 2019; 381:1762

เอกสารอ้างอิง

- Stephane Giorgiutti and Nicolas Lefebvre. Rat Bite Fever. N Engl J Med 2019; 381:1762
- Centers for Disease Control and Prevention, USA. Rat-bite fever. Access: https://www.cdc.gov/rat-bite-fever/index.html

 หญิงวัย 36 ปี ถูกหนูที่เลี้ยงไว้กัดมือข้างซ้าย ผ่านไป 10 วัน ร่างกายเริ่มรู้สึกไม่ปกติ

ที่มา ศูนย์วิจัยโรคปรสิต Parasitic Disease Research Center