เปิดเงื่อนไข "แพ้วัคซีนโควิด" แบบไหน เข้าหลักเกณฑ์ได้รับเงินเยียวยา

06 มิถุนายน 2564

เริ่มในวันที่ 7 มิถุนายน นี้แล้ว สำหรับดีเดย์การฉีดวัคซีนโควิด-19 ทั่วประเทศ โดยกระทรวงสาธารณสุขจะกระจายวัคซีนไปยัง 76 จังหวัดตามแผนการจัดสรรซึ่งตามนโยบายของ ศบค. มีเป้าหมายฉีดวัคซีนโควิด เข็มแรก จำนวน 50 ล้านโดสให้เสร็จภายในเดือนกันยายน 2564

โดยวัคซีนที่รัฐบาลจัดหาทั้งวัคซีนของ แอสตราเซเนกา และซิโนแวค สามารถฉีดได้ในกลุ่มอายุ 18 ปีขึ้นไปเหมือนกัน สำหรับการกระจายวัคซีนแอสตราเซเนกา ทาง ศบค.จะเป็นผู้กำหนดในการจัดส่งให้แต่ละจังหวัด ซึ่งจะมีการพิจารณาจากจำนวนประชากร และสถานการณ์การระบาดเป็นหลัก

 

ขณะเดียวกันเรื่องของมาตรการจ่ายเยียวยาสำหรับผู้ที่แพ้วัคซีนนั้น ทางเลขาธิการ สปสช. เผย 3 สัปดาห์ ขณะนี้มีผู้ยื่นขอเข้ามา 344 ราย จ่ายช่วยเหลือเบื้องต้นอาการไม่พึงประสงค์หลังฉีดวัคซีนโควิดไปแล้ว 239 ราย เป็นเงิน 3,016,700 บาท

เงื่อนไขการ "แพ้วัคซีนโควิด" ที่เข้าหลักเกณฑ์รับเงินเยียวยา มีดังนี้

1.) นอนโรงพยาบาล โดยเกินกว่า 50% จะมีอาการชา มีบางส่วนที่มีอาการชานานเกิน 2 เดือน
2) .มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลียจนต้องนอนพักในโรงพยาบาล

เงื่อนไขการขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น

1.) ไม่ได้กำหนดไว้ว่าจะต้องมีอาการแบบใดถึงจะยื่นขอได้ 
หากฉีดวัคซีนโควิด-19 แล้วมีอาการไม่พึงประสงค์ สามารถขอรับได้เลย 
2.) ไปสถานที่ที่ฉีด ปรึกษาแพทย์ ถ้าแพทย์คิดว่าเกี่ยวก็จะช่วยส่งเรื่องให้ 
3.) กรณีที่สงสัยความเจ็บป่วยรวมถึงเสียชีวิตว่ามีสาเหตุจากวัคซีน สามารถยื่นคำร้องได้ทันที ไม่ต้องรอผลการตรวจพิสูจน์
4.) เมื่อมีได้จ่ายช่วยเหลือไปแล้ว ในภายหลังหากพิสูจน์ทางการแพทย์แล้วพบว่าไม่เกี่ยวข้องกับการฉีดวัคซีนโควิด-19 เราก็จะไม่เรียกเงินคืน
5.) กรณีเสียชีวิตหรือทุพพลภาพถาวรจะได้รับการช่วยเหลือไม่เกิน 400,000 บาท
6.) กรณีสูญเสียอวัยวะหรือพิการช่วยเหลือไม่เกิน 240,000 บาท 
7.) กรณีเกิดภาวะเจ็บป่วยที่ต้องรับการรักษาไม่เกิน 1 แสนบาท

ซึ่งจะช่วยเหลือจำนวนเท่าใดนั้น เป็นการพิจารณาของอนุกรรมการฯ ตามภาวะความรุนแรง โดยสามารถยื่นเรื่องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นกับ สปสช.ได้ที่ โรงพยาบาลที่ฉีด หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) หรือที่ สปสช.สาขาเขตพื้นที่ทั้ง 13 เขต โดยมีระยะเวลายื่นคำร้องได้ภายใน 2 ปีนับแต่วันที่ทราบความเสียหาย