ไขปริศนา วิธีพิสูจน์หลักฐาน คดีน้องชมพู่ เส้นขน 3 เส้น มัดลุงพลดิ้นไม่หลุด

03 มิถุนายน 2564

ไขปริศนา วิธีพิสูจน์หลักฐานสำคัญในการคลี่คลายคดีน้องชมพู่ ด้วยเทคโนโลยีแสงซินโครตรอน ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุดในเอเชีย แต่ที่ล่าช้า ก็เพราะต้องรอช่วงเวลาที่มีลำแสงมากที่สุด เพื่อที่จะตรวจสอบหลักฐานได้อย่างแม่นยำ

จากกรณี ศาลจังหวัดมุกดาหาร อนุมัติออกหมายจับ ลุงพล หรือ นายไชยพล วิภา ฐานความผิด 3 ข้อหา พรากผู้เยาว์ ทอดทิ้งเด็กเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย และกระทำการใดๆ แก่ศพหรือสภาพแวดล้อม ทำให้การชันสูตรพลิกศพ หรือผลทางคดีเปลี่ยนแปลงไป

 

ไขปริศนา วิธีพิสูจน์หลักฐาน คดีน้องชมพู่ เส้นขน 3 เส้น มัดลุงพลดิ้นไม่หลุด

 

ล่าสุด ในรายการ ข่าวสามมิติ รายงานว่า หลักฐานสำคัญในการคลี่คลายคดีน้องชมพู่ คือเทคโนโลยีแสงซินโครตรอน ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุดในเอเชีย แต่ที่ล่าช้า ก็เพราะต้องรอช่วงเวลาที่มีลำแสงมากที่สุด เพื่อที่จะตรวจสอบหลักฐานได้อย่างแม่นยำ

 

ไขปริศนา วิธีพิสูจน์หลักฐาน คดีน้องชมพู่ เส้นขน 3 เส้น มัดลุงพลดิ้นไม่หลุด

 

โดยตำรวจได้รวบรวมพยานหลักฐานทั้งหมด 16 ชิ้นได้จากที่เกิดเหตุ โดยหลักฐานสำคัญคือ เส้นผมทั้งหมด 36 เส้น ความยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ซึ่งตรวจพบดีเอ็นเอของน้องชมพู่ และเส้นขนไร้ราก 3 เส้น จากนั้นจึงนำเส้นขนนี้ไปตรวจด้วยเทคโนโลยีแสงซินโครตรอน ที่มีความละเอียดระดับนาโนเมตร ที่สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน ซึ่งมีการตรวจหลักฐานตามนิติวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัยที่สุดในเอเชีย มีเครื่องมือหลายชนิดที่สามารถแยกโครงสร้างเส้นผมและเส้นขนได้ จนทราบที่มาของคดีนี้

 

ไขปริศนา วิธีพิสูจน์หลักฐาน คดีน้องชมพู่ เส้นขน 3 เส้น มัดลุงพลดิ้นไม่หลุด

 

ซึ่งเทคโนโลยีดังกล่าว เคยใช้ในการคลี่คลายคดีสำคัญ ๆในต่างประเทศเช่น ที่ประเทศญี่ปุ่น ที่มีการวางยาพิษในงานเลี้ยง มีคนเจ็บป่วยและตายเป็นจำนวนมาก แต่ไม่สามารถหาหลักฐานสำคัญใด ๆได้เลย จนมีการนำหลักฐานคือเส้นขนในที่เกิดเหตุ ไปตรวจด้วยแสงซินโครตรอน และจับผู้ร้ายได้ และต่อให้เวลาผ่านไปเป็นสิบปี ถ้าเส้นขนยังอยู่ ก็สามารถนำมาตรวจได้

 

ไขปริศนา วิธีพิสูจน์หลักฐาน คดีน้องชมพู่ เส้นขน 3 เส้น มัดลุงพลดิ้นไม่หลุด

 

สำหรับวิธีการตรวจหานั้น คือการนำเส้นขนเข้าเครื่องเทอร์โมกราฟฟี เพื่อตรวจหาโครงสร้าง จะใช้การหมุนครึ่งรอบ 180 องศา ใช้เวลาประมาณ 17 นาที เสร็จแล้วจะได้ข้อมูลออกมา แล้วเอามาเข้าโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่ออ่านผล ประมวลผล และทำภาพ 3D รวมถึงการใช้รังสี x เพื่อตรวจดูธาตุระดับอะตอม ทั้งนี้ แสงซินโครตรอน จะมีความเข้มข้นกว่าแสงทั่วไป หรือกระทั่งแสงเอกซเรย์ ทำให้สามารถตรวจสอบธาตุที่มีปริมาณน้อย ๆ ในตัวอย่างได้ และมีความละเอียดมากกว่า

 

ชมคลิป