กรมควบคุมโรคชี้แจง หลังแชร์ว่อนเน็ต วัคซีนโควิด-19 ทำมาจาก "ไขมันหมู"

29 พฤษภาคม 2564

ทำเอาประชาชนใจหายใจคว่ำไปตามๆกัน หลังจากที่มีการแชร์ข้อความในโซเชียล "วัคซีนโควิด-19 ทำจากไขมันหมู" ซึ่งล่าสุดทางด้าน กรมควบคุมโรค ได้ออกมาชี้แจงเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวแล้วว่าเป็น "ข่าวปลอม"

ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลถึงประเด็นเรื่อง "วัคซีนโควิด-19 ทำมาจากไขมันหมู" ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงไปยัง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ก่อนพบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น "เป็นข้อมูลเท็จ" ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด
 

กรณีการส่งต่อข้อความในโลกโซเชียลมีเดียเป็นจำนวนมาก โดยระบุเนื้อหาว่า "วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ทำมาจากไขมันหมู" นั้น ทางกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบและชี้แจงข้อเท็จจริงว่า เป็นการส่งต่อข้อมูลเท็จซ้ำๆเพื่อให้เกิดความเข้าใจผิด

ทั้งนี้วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ที่ไทยนำเข้ามาเป็นของ 2 บริษัท คือ ซิโนแวค และแอสตราเซนเนก้า ซึ่งได้มีการตรวจสอบข้อมูลรวมทั้งส่วนประกอบโดยละเอียดของวัคซีนจากผู้เชี่ยวชาญแล้ว พบว่า "ไม่มีไขมันหมูเป็นส่วนประกอบของวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 แต่อย่างใด"

ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากกรมควบคุมโรค สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ กรมควบคุมโรค หรือโทร 1422 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

กรมควบคุมโรคชี้แจง หลังแชร์ว่อนเน็ต วัคซีนโควิด-19 ทำมาจาก "ไขมันหมู"

สรุปคือ จากการตรวจสอบของผู้เชี่ยวชาญ พบว่าไม่มีไขมันหมูเป็นส่วนประกอบของวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 แต่อย่างใด หน่วยงานที่ตรวจสอบ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข