ผลศึกษาพบ ทำงานเกิน 55 ชม./สัปดาห์ เสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง-หัวใจ

19 พฤษภาคม 2564

ผลการศึกษาร่วมโดยองค์การแรงงานระหว่างประเทศ - องค์การอนามัยโลก พบว่า ช.ม.การทำงานที่ยาวนานส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 745,000 คน ในปี 2016 กลายเป็นอันตรายจากการทำงานอันดับ 3 เนื่องจากผู้ที่ทำงานมากกว่า 55 ช.ม./สัปดาห์ เสี่ยงป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ เพิ่มขึ้น

การศึกษา พบว่า ปี 2016 มีผู้เสียชีวิตจาก โรคหลอดเลือดสมอง ที่เกิดจากการทำงานเป็นเวลานาน 39,800 ราย และ โรคหลอดเลือดหัวใจ ที่เกิดจากสาเหตุเดียวกัน 347,000 ราย เพิ่มขึ้นร้อยละ 29 นับตั้งแต่ปี 2000

ผู้ที่ทำงานมากกว่า 55 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ มีโอกาสเสียชีวิตจาก โรคหลอดเลือดสมอง สูงขึ้นร้อยละ 35 และมีความเสี่ยงเสียชีวิตด้วย โรคหลอดเลือดหัวใจ สูงขึ้นร้อยละ 17 เมื่อเทียบกับผู้ที่ทำงาน 35 - 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
 

ผู้ชายจะได้รับผลกระทบจากแนวโน้มเหล่านี้มากเป็นพิเศษ เนื่องจากร้อยละ 72 ของผู้เสียชีวิตเป็นเพศชาย ขณะผู้อาศัยในภูมิภาคแปซิฟิกตะวันตกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตลอดจนคนงานวัยกลางคนหรือสูงอายุ ต่างได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญเช่นกัน

ปัจจุบันที่โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือ โรคโควิด-19 (COVID-19) ยังคงแพร่ระบาด ทำให้ผู้คนต้องทำงานเป็นเวลานานเพิ่มขึ้น โดยบริษัทและรัฐบาลกำหนดให้ลูกจ้างทำงานจากบ้าน ซึ่งผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก ดร. ทีโดรส อัดฮานอม กีบรีเยซุส ชี้ว่า “การทำงานจากบ้านทำให้ขอบเขตระยะเวลาของการทำงานไม่ชัดเจน”

ผลศึกษาพบ ทำงานเกิน 55 ชม./สัปดาห์ เสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง-หัวใจ

ปัจจุบันร้อยละ 9 ของประชากรทั้งหมดมีกะทำงานเป็นเวลานาน โดยการทำงานจากบ้านทำให้สถานการณ์ดังกล่าวเพิ่มขึ้นอย่างเลี่ยงไม่ได้

“ไม่มีงานใดที่คุ้มค่ากับความเสี่ยงต่อ โรคหลอดเลือดสมอง หรือ โรคหัวใจ” ทีโดรส กล่าวและว่า “รัฐบาล นายจ้าง และลูกจ้างจำเป็นตกลงเรื่องขีดจำกัดเวลาทำงาน เพื่อปกป้องสุขภาพ”

ที่มา https://www.xinhuathai.com/china/201922_20210518?fbclid=IwAR3rZRf2W4gQDXVAq2O8lk7YW43VukK_TwdRDHiG8oMj_coil6j6Y55v7lI