สังคม

heading-สังคม

"วิษณุ" ลั่น ศาลไม่จำเป็นต้องชี้แจงเพิ่ม ปม"ธรรมนัส"ไม่พ้นตำแหน่ง

06 พ.ค. 2564 | 12:58 น.
"วิษณุ" ลั่น ศาลไม่จำเป็นต้องชี้แจงเพิ่ม ปม"ธรรมนัส"ไม่พ้นตำแหน่ง

นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายกฎหมาย เผยถึงกระแสวิพากษ์วิจารณ์คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ให้ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการเกษและสหกรณ์ ไม่พ้นจากตำแหน่ง ส.ส.และรัฐมนตรี

นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายกฎหมาย เผยถึงกระแสวิพากษ์วิจารณ์คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ให้ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการเกษและสหกรณ์ ไม่พ้นจากตำแหน่ง ส.ส.และรัฐมนตรี เนื่องจากไม่ขาดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามการเป็น ส.ส.และ รัฐมนตรี

กรณีเคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลแขวงรัฐนิวเซาท์เวลส์ ออสเตรเลีย ความผิดคดียาเสพติด เมื่อปี 2536  ว่า เคยมีความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกามีคำสั่ง ว่าหากถูกพิพากษาจำคุกในหรือต่างประเทศ ตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป โดยพ้นโทษมาแล้วไม่ถึง 5 ปี ถือว่าเป็นบุคคลต้องห้าม ขาดคุณสมบัติการเป็น ส.ส. แต่กรณี ร้อยเอกธรรมนัสถูกตัดสินลงโทษจำคุกคดียาเสพติด ตั้งแต่ ปี 2536 และพ้นโทษ เมื่อปี 2540 ถือว่าพ้นโทษมาแล้วเกิน 5 ปี จึงถือว่าไม่ขาดคุณสมบัติตามกฎหมาย ส่วนการวิพากษ์วิจารณ์ ความเหมาะสม จริยธรรม ตนมองว่า ถือเป็นอีกเรื่องหนึ่งแล้วแต่จะวิจารณ์กัน

 ส่วนจะยื่นเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช.  วินิจฉัยในเรื่องคุณธรรม จริยธรรม หรือไม่ไม่ทราบ แต่ในข้อกฎหมาย ถือว่าสิ้นสุดตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ

 ทั้งนี้ นายวิษณุ ยืนยันด้วยว่าคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ กรณีนี้ถือเป็นบรรทัดฐานที่ใช้ได้กับทุกคนเพราะไม่เคยมีคำวินิจฉัยมาก่อน และใช้ได้กับความผิดทุกกรณีไม่เฉพาะแต่ความผิดคดียาเสพติดอย่างเดียว แต่ไม่ใช่การล้างมลทิน เพราะเป็นเรื่องคำวินิจฉัยเกี่ยวกับคุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม ซึ่งอาจจะมีมลทินก็ได้

 ส่วนที่เป็นประเด็นถกเถียงข้อกฎหมายในสังคม ศาลรัฐธรรมนูญ ควรจะทำคำชี้แจงกับสังคมหรือไม่นั้น ศาลรัฐธรรมนูญไม่จำเป็นต้องชี้แจงหรือพูดอะไรเพิ่มเติม เพราะได้วินิจฉัยจบแล้ว ส่วนผลทางวิชาการ ทางการเมือง แล้วแต่จะวิจารณ์กันไป  

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายกฎหมาย เผยถึงกระแสวิพากษ์วิจารณ์คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ให้ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการเกษและสหกรณ์ ไม่พ้นจากตำแหน่ง ส.ส.และรัฐมนตรี เนื่องจากไม่ขาดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามการเป็น ส.ส.และ รัฐมนตรี

กรณีเคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลแขวงรัฐนิวเซาท์เวลส์ ออสเตรเลีย ความผิดคดียาเสพติด เมื่อปี 2536  ว่า เคยมีความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกามีคำสั่ง ว่าหากถูกพิพากษาจำคุกในหรือต่างประเทศ ตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป โดยพ้นโทษมาแล้วไม่ถึง 5 ปี ถือว่าเป็นบุคคลต้องห้าม ขาดคุณสมบัติการเป็น ส.ส. แต่กรณี ร้อยเอกธรรมนัสถูกตัดสินลงโทษจำคุกคดียาเสพติด ตั้งแต่ ปี 2536 และพ้นโทษ เมื่อปี 2540 ถือว่าพ้นโทษมาแล้วเกิน 5 ปี จึงถือว่าไม่ขาดคุณสมบัติตามกฎหมาย ส่วนการวิพากษ์วิจารณ์ ความเหมาะสม จริยธรรม ตนมองว่า ถือเป็นอีกเรื่องหนึ่งแล้วแต่จะวิจารณ์กัน

ส่วนจะยื่นเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช.  วินิจฉัยในเรื่องคุณธรรม จริยธรรม หรือไม่ไม่ทราบ แต่ในข้อกฎหมาย ถือว่าสิ้นสุดตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ

นายวิษณุ ยืนยันด้วยว่าคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ กรณีนี้ถือเป็นบรรทัดฐานที่ใช้ได้กับทุกคนเพราะไม่เคยมีคำวินิจฉัยมาก่อน และใช้ได้กับความผิดทุกกรณีไม่เฉพาะแต่ความผิดคดียาเสพติดอย่างเดียว แต่ไม่ใช่การล้างมลทิน เพราะเป็นเรื่องคำวินิจฉัยเกี่ยวกับคุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม ซึ่งอาจจะมีมลทินก็ได้

 

ส่วนที่เป็นประเด็นถกเถียงข้อกฎหมายในสังคม ศาลรัฐธรรมนูญ ควรจะทำคำชี้แจงกับสังคมหรือไม่นั้น ศาลรัฐธรรมนูญไม่จำเป็นต้องชี้แจงหรือพูดอะไรเพิ่มเติม เพราะได้วินิจฉัยจบแล้ว ส่วนผลทางวิชาการ ทางการเมือง แล้วแต่จะวิจารณ์กันไป  

 

ขอบคุณ Springnews

 

ข่าวล่าสุด

heading-ข่าวล่าสุด

ข่าวเด่น

ไทยโดนด้วย ยักษ์ใหญ่รถยนต์ปิดโรงงาน 7 แห่ง เลิกจ้างอีก 20,000 คน

ไทยโดนด้วย ยักษ์ใหญ่รถยนต์ปิดโรงงาน 7 แห่ง เลิกจ้างอีก 20,000 คน

เหลือเชื่อ เรื่องราวของจระเข้ที่ใหญ่ที่สุด คุณอาจไม่เคยรู้

เหลือเชื่อ เรื่องราวของจระเข้ที่ใหญ่ที่สุด คุณอาจไม่เคยรู้

เพจดังตั้งคำถาม ข้าวไข่ดาว 65 บาท ในยุคนี้ถูกหรือเเพง ชาวเน็ตถกเสียงแตก

เพจดังตั้งคำถาม ข้าวไข่ดาว 65 บาท ในยุคนี้ถูกหรือเเพง ชาวเน็ตถกเสียงแตก

เผยค่ารักษา "นักบินหนุ่ม" พร้อมเหตุผลขอรับบริจาค หลังป่วยมะเร็ง

เผยค่ารักษา "นักบินหนุ่ม" พร้อมเหตุผลขอรับบริจาค หลังป่วยมะเร็ง

คนละครึ่ง 2568 โฉมใหม่ เน้นเที่ยววันธรรมดา เริ่ม มิ.ย. 68

คนละครึ่ง 2568 โฉมใหม่ เน้นเที่ยววันธรรมดา เริ่ม มิ.ย. 68