สปส.เตือนแลกเงินสด ม.33 มีโทษจำคุก หนักสุดถึงขั้นถูกตัดสิทธิ์เงินเยียวยา

24 มีนาคม 2564

นางลัดดา แซ่ลี้ รองโฆษกสำนักงานประกันสังคม ได้มีการยืนยันว่า สำหรับผู้ประกันตน มีความผิดทั้งทางอาญาและทางแพ่ง มีโทษทั้งจำคุกและเรียกเงินคืน หนักสุดถึงขั้นถูกตัดสิทธิ์เงินเยียวยาจากภาครัฐตลอดชีวิตเพราะถือเป็นการทุจริตเงินหลวง

หลังจากที่มีกระแสข่าวออกมาอย่างมากมายสำหรับกรณีของ ผู้ที่ได้รับการเยียวยาช่วยเหลือจากภาครัฐในช่วงโควิด-19 ระบาด ทั้ง โครงการเราชนะ คนละครึ่ง บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ รวมถึงโครงการ ม.33 เรารักกัน ปรากฎว่าได้มีการตรวจพบผู้รับแลกเงินสด จะหักเงินค่าบริการตั้งแต่ร้อยละ 5 ถึง 10 บาท  นั่นหมายความว่า เงินที่รัฐโอนเข้าระบบ เป๋าตังค์ ให้ 1,000 บาท หากไปแลกเป็นเงินสดนั้น ผู้ที่ได้รับสิทธิ์จะได้เงินสด เพียง 900 ถึง 950 บาทเท่านั้น

สืบเนื่องจากกรณีดังกล่าวนั้น ทางข่าวช่องวัน ได้มีการไปสัมภาษณ์ นางลัดดา แซ่ลี้ รองโฆษกสำนักงานประกันสังคม ได้มีการยืนยันว่า สำหรับผู้ประกันตน มีความผิดทั้งทางอาญาและทางแพ่ง มีโทษทั้งจำคุกและเรียกเงินคืน หนักสุดถึงขั้นถูกตัดสิทธิ์เงินเยียวยาจากภาครัฐตลอดชีวิตเพราะถือเป็นการทุจริตเงินหลวง นอกจากนี้ยังไม่สามารถลงทะเบียนว่างงานเพื่อรับการช่วยเหลือเยียวได้ เพราะถือว่ามีการทุจริตจึงต้องให้ออกจากงาน เช่นเดียวกับผู้ประกอบการร้านค้า ที่รับแลกเงินสดมีความผิดทั้งแพ่งและอาญาเช่นกัน

โดยล่าสุดนั้นได้มีคณะกรรมการทำการตรวจสอบบุคคลที่ เปิดครับแลกเงินยาวจากภาครัฐที่มีการเผยแพร่ทาง Social Mediaรวมไปถึงผู้ประกันตนที่นำเงินจากโครงการม ม.33 เรารักกันไปแลกเป็นเงินสด ซึ่งยืนยันว่า ตรวจสอบไม่ยาก หากพบความผิดปกติ ที่เกิดขึ้นจากการกดโอนเงินจากแอพพลิเคชั่น"เป๋าตังค์"ของผู้ใช้สิทธิ์ ไปในแอพพลิเคชั่น"ถุงเงิน"ของร้านค้า แต่ละร้านผิดปกติจนน่าสังเกต ซึ่งระบบการโอนเงินของธนาคาร ก็จะแจ้งมาที่ส่วนกลาง เพื่อให้สำนักงานประกันสังคมแต่ละจังหวัด เข้าไปตรวจสอบดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิด

สำนักงานประกันสังคมจึงอยากฝากเตือนผู้ประกันตน ว่าไม่อยากให้เกิดคดีดังกล่าวเพราะว่ามีโทษหนักและกระทบกับหน้าที่การงานในอนาคต พร้อมทำความเข้าใจกับผู้ที่ได้รับเงินเยียวยาว่าสาเหตุที่ไม่ได้รับเป็นเงินสด เพราะต้องการช่วยเหลือ ให้ครบทุกกลุ่มทั้งประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนและร้านค้าผู้ประกอบการรายเล็กเพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศ