"เพนกวินสีทอง" (1:100,000 ตัวเท่านั้น) ที่จะเกิดขึ้นตามธรรมชาติเช่นนี้

25 กุมภาพันธ์ 2564

ช่างภาพสัตว์ป่าชาวเบลเยี่ยม เดินทางสำรวจสิ่งมีชีวิตในมหาสมุทรแอตแลนติกทางตอนใต้ เขาได้ตัดสินใจมุ่งหน้าไปยังเกาะแห่งหนึ่งในเซาท์จอร์เจีย เพื่อถ่ายภาพฝูงเพนกวินราชา ที่มีมากกว่า 120,000 ตัว แต่ท่ามกลางเหล่าฝูงเพนกวินตัวสีดำ เขากลับพบ เพนกวินสีทอง”

อดัมส์ กล่าวกับสำนักข่าว Kennedy News ว่า “ตลอดชีวิตการทำงานเป็นช่างภาพสัตว์ป่า ผมไม่เคยเห็นเพนกวินสีทองมาก่อน นับว่าโชคดีมากเพราะมันอยู่ห่างจากผมไปเพียง 50 เมตรเท่านั้น หากมันอยู่ไกลกว่านี้ ผมอาจลายตาจนมองไม่เห็นก็ได้”  ซึ่งปกติแล้วเพนกวินจะมีสีขนสีดำ คอเหลือง ท้องขาว แต่เจ้าเพนกวินสีทองที่พบนั้นไม่มีเพียงสีดำเท่านั้น ซึ่งที่เป็นเช่นนี้เพราะเกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมที่เรียกว่า “Leucism” หรือ “ภาวะด่าง” เป็นภาวะที่เกิดจากความผิดปกติของเมลานินที่ไม่สามารถผลิตเม็ดสีดำออกมาได้

 

"เพนกวินสีทอง" (1:100,000 ตัวเท่านั้น) ที่จะเกิดขึ้นตามธรรมชาติเช่นนี้

 

ถึงตรงนี้ หลายคนอาจเข้าใจผิดว่า ภาวะด่าง = ภาวะเผือก (Albinism) ซึ่งความจริงแล้ว ภาวะเผือกนั้นเป็นโรคทางพันธุกรรม ที่ไม่สามารถสร้างเม็ดสีใด ๆ ได้เลย (สังเกตง่าย ๆ คือ ถ้าเป็นภาวะเผือกตาจะเป็นสีแดง) แต่สำหรับภาวะด่าง คือยังสามารถสร้างเม็ดสีได้แต่ไม่ทั้งหมด โดยจะมีเพียงบางสีเท่านั้นที่ร่างกายไม่สามารถผลิตออกมาได้ ทั้งนี้ การเกิดภาวะด่างในเพนกวิน มีโอกาสเกิดเพียง 1 ใน 20,000-146,000 ตัวเท่านั้น หมายความว่า ในเพนกวิน 1 ฝูง จะมีเพียง 1 ตัวเท่านั้น ที่มีลักษณะสีทองเช่นนี้

อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่เพนกวินสีทองตัวแรกที่ถูกพบ เพราะเคยมีรายงานการพบเพนกวินสีทองครั้งแรกในปี ค.ศ.1988 และอีกครั้งคือในปี ค.ศ.2000 แต่ทั้ง 2 ครั้งนั้นไม่มีรูปถ่ายยืนยันแต่อย่างใด ดังนั้นภาพถ่ายของ อีฟ อดัมส์ จึงนับว่าเป็นการปรากฏตัวของเพนกวินสีทองอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรกนั่นเอง
 

"เพนกวินสีทอง" (1:100,000 ตัวเท่านั้น) ที่จะเกิดขึ้นตามธรรมชาติเช่นนี้

 

สุดท้าย แดเนียล โทมัส นักวิจัยทางทะเลจากมหาวิทยาลัยแอริโซนา กล่าวว่า “มันแตกต่างจากฝูงอย่างชัดเจน ซึ่งมันดูโดดเด่นและงดงามในสายตามนุษย์อย่างเรา แต่สำหรับสมาชิกในฝูงเพนกวินด้วยกัน มันอาจไม่ได้มีเสน่ห์หรือเป็นที่ต้องการของตัวเมีย อีกทั้งมีความเสี่ยงที่จะถูกล่าได้ง่ายกว่าเพนกวินสีดำทั่วไป” ซึ่งทั้งหมดนี้ เป็นเพียงการสันนิษฐานปัญหาในการใช้ชีวิตที่อาจเกิดขึ้นกับมันเท่านั้น นักวิจัยยังคงต้องติดตามและศึกษากันต่อไป

 

"เพนกวินสีทอง" (1:100,000 ตัวเท่านั้น) ที่จะเกิดขึ้นตามธรรมชาติเช่นนี้

 

ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก : อีฟ อดัมส์ (Yves Adams)