ยิ่งนานวันยิ่งพบผู้ป่วยในเคสของ ดีเจมะตูม เตชินท์ พลอยเพชร มากขึ้นเรื่อยๆ หลังจากที่กรมควมคุมโรคได้ออกมายืนยันแล้วว่า เคสนี้ มีผู้ป่วยติดเชื้อโควิด 19 ที่ยืนยันได้แล้วถึง 24 ราย ซึ่งก่อนหน้านี้ด้าน นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้บอกว่ากรณีนี้ถือเป็น ซูเปอร์เสปรดเดอร์
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- ศบค.แถลงยอดติดเชื้อล่าสุด พุ่งขึ้นหลักร้อยอีกครั้ง หมอทวีศิลป์ตอบปมร้อน ดีเจมะตูม
- ดีเจมะตูม ตอบกลับหลังโดนจับโป๊ะไปภูเก็ต - เชียงใหม่แล้วไม่กักตัว
- เดือดปุด! #ดีเจมะตูม ขึ้นเทรนด์ทวิตฯอีกครั้ง เพื่อนคนดังลั่นแรงถ้าหยุดสอดแล้วจะรวย - เป็นดาราไม่ได้ควรขยัน ชาวเน็ตตอกกลับแซ่บไม่แพ้กัน
- หนิง ปณิตา รีบชี้แจง หลังให้กำลังใจ ดีเจมะตูม บอกสิ่งที่ทำคืดเจ๋งมากๆ
ล่าสุด ร.ต.อ.พงศกร ขวัญเมือง โฆษกของกรุงเทพมหานคร ได้โพสต์แจ้งไทม์ไลน์เกี่ยวกับผู้ป่วยโควิดที่มีความเชื่อมโยงกับงานวันเกิดของดีเจมะตูม เตชินท์ ซึ่งมีรายละเอีดยว่า "สรุปการสอบสวนโรคผู้ติดเชื้อโควิด - 19 ของ กทม. ตั้งแต่วันที่ 20 ธ.ค. 63 ถึงวันที่ 26 ม.ค. 64 (721 ราย) เป็นคนต่างจังหวัดที่ Admit รพ.ในพื้นที่ กทม. 153 ราย และเป็นคนที่อยู่ในพื้นที่ กทม. 568 ราย
การติดเชื้อในประเทศ ส่วนใหญ่มาจากการสัมผัสผู้ป่วยยืนยัน ที่เป็นคนในครอบครัวหรือจากคนในที่ทำงาน การไปสถานบันเทิง/สถานที่ชุมชน และการตรวจเชิงรุกในตลาด และชุมชน ซึ่งTimeline แถลงไปแล้ว 643 ราย และ วันนี้ มี Timeline ผู้ติดเชื้อที่อยู่ใน กทม. ซึ่งได้สอบสวนโรคเสร็จเรียบร้อยแล้ว เพิ่มอีก 15 ราย Time line 15 ราย
นอกจากนี้ยังมีการสังเกตว่า ผู้ป่วยติดเชื้อในจำนวน 15 ราย ที่ได้มีการสอบสวนโรคแล้ว ซึ่งพบว่ามีผู้ป่วยที่มีความเกี่ยวกับกับกรณีงานวัดเกิดของ ดีเจมะตูม ที่โรงแรมบันยันทรี ได้แก่ ผู้ป่วยรายที่ 657 อาชีพผู้จัดการฝ่ายประชาสัมพันธ์ ที่มีประวัติไปวันเกิดเพื่อน ซึ่งเป็นงานวันเกิดของดีเจมะตูม ได้มีการปกปิดข้อมูลต่อเจ้าหน้าที่ เช่นเดียวกันกับ ผู้ป่วยชายรายที่ 658 ซึ่งมีอาชีพเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ
พร้อมกันนี้ ยังมีนักร้องนักแสดงชาย ที่ไปร่วมงานวันเกิดดีเจมะตูม ก็ไม่ได้บอกชื่อของตัวเอง และมีการปกปิดไทม์ไลน์ส่วนหนึ่งในวันที่ 14-20 มกราคม เช่นกัน ซึ่งเรื่องดังกล่าวทำให้ชาวเน็ตไม่พอใจเป็นอย่างมากหลังจากที่ได้เห็นไทม์ไลน์ดังกล่าว จนทำให้หลายๆ คนเกิดการตั้งคำถามขึ้นว่าการที่ผู้ป่วยปกปิดประวัติเช่นนี้มีความผิดหรือไม่
อย่างไรก็ตาม มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2564 เรื่อง ข้อกำหนดการบริหารราชการในสถานการ์ณฉุกเฉิน ฉบับที่ 17 ซึ่งมีข้อความตอนท้าย ระบุว่า "ผู้ติดเชื้อที่จงใจปกปิดข้อมูลการเดินทางหรือแจ้งข้อมูลเท็จต่อเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการสอบสวนและควบคุมโรค เป็นผลให้เชื้อโรคแพร่ออกไป อาจเข้าข่ายเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ ซึ่งเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 ด้วย"