"ประเพณีบุญบั้งไฟ" ความเชื่อท้องถิ่นของชาวอีสาน พลังแห่ง Soft Power

29 มีนาคม 2567

ประเพณีบุญบั้งไฟเป็นประเพณีที่จัดขึ้นตามความเชื่อท้องถิ่นของชาวอีสาน ตำนาน พญาคันคาก-พระยาคันคาก ถือเป็นงานใหญ่ชาวอีสาน จัดขึ้นช่วงเดือนพฤษภาคม – มิถุนายนของทุกปี อีกหนึ่งพลังแห่ง Soft Power

ใกล้เข้าสู่ช่วงเทศกาลงานประเพณีบุญบั้งไฟงานใหญ่ชาวอีสานเข้ามาทุกทีแล้ว ซึ่งก็เป็นงานที่หลายคนรู้จักกันเป็นอย่างดีและต่างก็ตั้งตารอกันกับเทศกาลปล่อยจรวดของไทย แต่สำหรับท่านใดที่อยากจะรู้จักประเพณีบุญบั้งไฟ "ไทยนิวส์" ของเราก็จะขอนำพาทุกท่านไปรู้จักประเพณีนี้กัน


ประเพณีบุญบั้งไฟเป็นประเพณีที่จัดขึ้นตามความเชื่อท้องถิ่นของชาวอีสานในการขอฟ้าขอฝนกับเทพบนสรวงสวรรค์ จัดขึ้นช่วงเดือนพฤษภาคม – มิถุนายน ซึ่งเป็นช่วงที่ชาวนาทำการเพาะปลูก จุดกำเนิดของประเพณีบุญบั้งไฟยังมีตำนานเล่าขานสืบต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่นกล่าวถึงการทำศึกกันระหว่างสัตว์โลก มีพญาคันคากเป็นผู้นำทัพ กับเหล่าเทพ มีพญาแถนเป็นเทพสูงสุด เรื่องราวเกิดจากที่มนุษย์และสรรพละเลยการสักการะบูชาต่อพญาแถน พญาแถนจะห้ามมิให้พญานาคเข้าเป็นเล่นนำ

"ประเพณีบุญบั้งไฟ" ความเชื่อท้องถิ่นของชาวอีสาน พลังแห่ง Soft Power

ซึ่งการเล่นนำของพญานาคนั้นจะทำให้เกิดฝนตกตามความเชื่อ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้สิ่งมีชีวิตบนพื้นโลกเกิดสภาวะขาดแคลนน้ำ แห้งแล้ง พญาคันคากผู้ครองเมืองจึงต้องขึ้นไปเจรจากันพญาแถนแต่ไม่เป็นผลจนทำให้เกิดการทำศึกขึ้น ท้ายที่สุดแล้วด้วยเล่กลอันชาญฉลาดของพญาคันคากจึงสามารถเอาชนะพญาแถนได้ในที่สุด และได้ให้ข้อตกลงกับพญาแถนว่าจะต้องคืนฟ้าฝนให้กับเหล่าสัตว์ เมื่อถึงเวลาที่ต้องการมีฝนฟ้ามนุษย์จะทำการจุดบั้งไฟขึ้นมาเพื่อแจ้งต่อพญาแถนนั้นเอง 

"ประเพณีบุญบั้งไฟ" ความเชื่อท้องถิ่นของชาวอีสาน พลังแห่ง Soft Power

ในการประกอบพิธีของประเพณีบุญบั้งไฟ จะจัดขึ้นทั้งหมด 3 วัน วันแรกจะเป็นการเลี้ยงเซ่นไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำท้องถิ่น มีการจุดบั้งไฟขนาดเล็ก เรียกว่า “บั้งไฟเสี่ยง” เพื่อเป็นการเสี่ยงทายผลผลิตของการปลูกข้าวในปีนั้น ๆ วันที่ 2 เป็นวันแห่บั้งไฟ โดยแต่ละหมู่บ้านจะต้องมีขบวนนางรำแห่บั้งไฟประกอบดนตรีที่เรียกว่า “วงกลองยาว” มาประชันการแสดง ส่วนวันสุดท้ายจะเป็นวันจุดบั้งไฟ เป็นการพนันบั้งไฟกันของเหล่านักพนัน หากบั้งไฟของใครจุดไม่ขึ้นหรือเกิดการระเบิดกลางอากาศ เจ้าของบั้งไฟจะต้องจับโยนลงบ่อโคลน เป็นการละเล่นที่สนุกสนานไปในตัว 


ปัจจุบันหลายพื้นที่ที่จัดงานเริ่มปรับเปลี่ยนรูปแบบของการจัดมากยิ่งขึ้น เช่นการเปิดโอกาสให้ขบวนแห่บั้งไฟจากต่างพื้นที่สามารถส่งเข้ามาประกวดกันมากยิ่งขึ้น มีการประดับตกแต่งยานพาหนะเป็นที่แห่บั้งไฟ และจุดนี้แหละกลายมาเป็นจุดเด่นของงานประเพณีนี้ เมื่อมีการประกวดแข่งขันขบวนนางรำแห่บั้งไฟมากยิ่งขึ้นจึงทำให้แต่ละทีมนั้นต้องคลีเอทโชว์เพื่อความสนุกสนาน สร้างความโดดเด่นดึงดูดคะแนนจากคณะกรรมการและเหล่าผู้ชมในงาน เรียกได้ว่างัดไม้เด็ดมาฟาดฟันกันอย่างดุเดือดกันเลยทีเดียว

 

นอกจากนี้ยังเป็นการสนับสนุนให้เหล่าน้อง ๆ นักเรียนนักศึกษาสายนาฏศิลป์ สายศิลปะการแสดงหลาย ๆ สถาบันได้ออกมาโชว์ผลงาน เก็บเกี่ยวประสบการณ์ประกอบการศึกษา ทำเอาเหล่าผู้ชมอย่างเรารู้สึกประทับใจไปตาม ๆ กันกับการแสดงของน้อง ๆ ที่คอยรักษาศิลปวัฒนธรรมอันดีงามเช่นนี้ให้คงอยู่สืบต่อ ไม่น่าเชื่อว่าการออกแบบโชว์และความสามารถในการโชว์ของน้อง ๆ สมัยนี้ไม่แพ้เหล่ารุ่นพี่มากประสบการณ์กันเลยทีเดียว 

"ประเพณีบุญบั้งไฟ" ความเชื่อท้องถิ่นของชาวอีสาน พลังแห่ง Soft Power
ซึ่งการจัดงานด้านศิลปะการแสดงเช่นนี้ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเหล่า LGBTQ+ เข้ามามีบทบาทต่อการแสดงอย่างแน่นอน ทำให้เราได้เห็นเลยว่าเหล่า LGBTQ+ ของประเทศเราเก่งและมีความสามารถไม่แพ้ชาติใดเลยทีเดียว ทั้งการออกแบบโชว์ การออกแบบเครื่องแต่งกาย และการแสดงเบื้องหน้าก็ทำได้ดีจนกลายเป็นอีกหนึ่งสีสันของงาน แสดงให้เห็นว่าสังคมไทยเราเปิดกว้างต่อความหลากหลายทางเพศ กลายเป็นพลังแห่ง Soft Power ส่งเสริมและสร้างโอกาสให้กับความหลากหลายทางเพศได้มีบทบาทต่อสังคมมากยิ่งขึ้น

ความคึกครื้นของงานประเพณีบุญบั้งไฟกลายเป็นจุดดึงดูดเหล่านักท่องเที่ยวหลั่งไหลเข้ามาสัมผัสของบรรยากาศของงานอย่างล้นหลาม เป็นการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมอีสาน แจกความสนุกสนานให้นักท่องเที่ยวกันถ้วนหน้า การันตีเลยว่ามาแล้วไม่ผิดหวังอย่างแน่นอน

สำหรับการเข้าร่วมชมงานประเพณีบุญบั้งไฟของชาวอีสาน ไทยนิวส์ก็ได้ไปรวบรวมแหล่งของการจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟอันยิ่งใหญ่ไว้ให้ทุก ๆ ท่านแล้วที่นี่ สถานที่แรกคือจังหวัดยโสธร โดยส่วนใหญ่จะจัดขึ้นช่วงสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนพฤษภาคมของทุกปี มีการประกวดขบวนฟ้อนแห่บั้งไฟ ตกแต่งบั้งไฟเอ้สวยงาม ช่วงกลางคืนจะกวดธิดา-เทพบุตรบั้งไฟโก้ยโสธร จัดที่อำเภอเมืองยโสธร

"ประเพณีบุญบั้งไฟ" ความเชื่อท้องถิ่นของชาวอีสาน พลังแห่ง Soft Power

เริ่มตั้งแต่บริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอจังหวัดยโสธรเป็นต้นไป สถานที่ต่อมาคืออำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด ที่นี้จะเปิดรับขบวนฟ้อนแห่บั้งไฟแบบไม่อั้น แข่งกันทั้งวันทั้งคืนเลยทีเดียว เริ่มตั้งแต่หน้าที่ว่าการอำเภอพนมไพร ส่วนสถานที่สุดท้ายคือตำบลพุเตย อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ อีกหนึ่งสถานที่ที่จัดงานอย่างยิ่งที่จังหวัดเพชรบูรณ์ภาคเหนือของไทยก็เป็นอีกหนึ่งสถานที่ที่แข่งกันยันช่วงกลางคืนสนุกสนานกันตั้งแต่เช้ายันดึกเลยทีเดิน 

งานประเพณีบุญบั้งไฟงานใหญ่ของชาวอีสานเช่นนี้ทางไทยนิวส์ของเราก็อยากจะเชิญชวนทุก ๆ ท่านได้ลองไปท่องเที่ยวลงไปสัมผัสกับบรรยากาศของงานอย่างใกล้ชิด พบกับการแสดงที่น่าตื่นตาตื่นใจ เอกลักษณ์ดนตรีอีสานที่สนุกสนานไม่แพ้คอนเสิร์ต งานใหญ่ ๆ แบบนี้ที่พลาดไม่ได้เลยคือ “หมอลำ” เชื่อว่าไม่ผิดหวังอย่างแน่นอน ร่วมสืบสานศิลปวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของประเทศไทยไปด้วยกัน

 

สำหรับท่านใดที่อยากเพิ่มเติมข้อมูลหรือมีข้อเสนอใด ๆ สามารถคอมเมนต์พูดคุยกันมาได้เลย ครั้งหน้า ไทยนิวส์ของเราจพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับประเพณีใดอีกนั้นโปรดติดตามชมกันต่อไป