ตร.ไซเบอร์ เตือนภัยมิจฉาชีพ ฉวยโอกาสแฝงตัวสร้างเว็บ ลอยกระทงออนไลน์

07 พฤศจิกายน 2565

พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษก กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) ขอประชาสัมพันธ์เตือนภัยมิจฉาชีพ ฉวยโอกาสใช้  วันสำคัญก่อเหตุ ผ่านสื่อสังคมออนไลน์

ตร.ไซเบอร์ เตือนภัยมิจฉาชีพ ฉวยโอกาสแฝงตัวสร้างเว็บ ลอยกระทงออนไลน์ 

เมื่อวันที่ 6 พ.ย.65 พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษก กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) ขอประชาสัมพันธ์เตือนภัยมิจฉาชีพ ฉวยโอกาสใช้  วันสำคัญก่อเหตุ ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ ดังนี้

ตร.ไซเบอร์ เตือนภัยมิจฉาชีพ ฉวยโอกาสแฝงตัวสร้างเว็บ ลอยกระทงออนไลน์

 

 

เนื่องด้วย "วันลอยกระทง" วันที่ 8 พฤศจิกายน 2565 ประชาชนส่วนใหญ่ก็จะออกมาทำกิจกรรม ร่วมกันสืบทอดประเพณีอันดีงาม และมีประชาชนบางส่วนที่ไม่ได้เดินทางออกมาร่วมทำกิจกรรมร่วมกันสืบทอดประเพณีลอยกระทงอันดีงาม และมีประชาชนบางส่วนที่ไม่ได้เดินทางออกมาร่วมกิจจกรรม เนื่องจากเหตุผลหลายๆ ประการ โดยจะใช้บริการลอยกระทงออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ต่างๆ ของหน่วยงานรัฐ หรือหน่วยงานเอกชน ซึ่งจะมีการให้ประชาชนกรอกข้อมูลต่างๆ เพื่ออธิษฐานขอพรออนไลน์ในการ ลอยกระทงออนไลน์ ซึ่งอาจทำให้เหล่ามิจฉาชีพอาจอาศัยโอกาสดังกล่าวสร้างเว็บไซต์ปลอมขึ้นมาทั้งหมดหรือเว็บไซต์ปลอมที่คล้ายคลึงกับเว็บไซต์จริง เพื่อหลอกลวงให้ประชนกรอกข้อมูลส่วนบุคคล และข้อมูลทางการเงิน เช่น ชื่อนามสกุล วันเดือนปีเกิด เบอร์โทรศัพท์ หมายเลขบัตรประชาชน เลขบัญชีธนาคาร เลขบัตรเครดิต รหัสหลังบัตร 3 หลัก รหัส OTP เป็นต้น เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในทางมิชอบ ไม่ว่าจะเป็นการนำข้อมูลไปเข้าถึงบัญชีเฟซบุ๊ก ไลน์ โดยมิชอบ แล้วไปหลอกยืมเงินผู้อื่น หรือใช้บัตรเครดิตรูดซื้อสินค้า หรือถูกโอนเงินจากบัญชีธนาคาร หรือไปแอบอ้างทำเรื่องที่ผิดกฎหมาย

ตร.ไซเบอร์ เตือนภัยมิจฉาชีพ ฉวยโอกาสแฝงตัวสร้างเว็บ ลอยกระทงออนไลน์
 

กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี โดย พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผู้บัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ผบช.สอท.) ได้ขับเคลื่อนตามนโยบายของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และ พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ซึ่งให้ความสำคัญและมีความห่วงใยต่อภัยการหลอกลวงผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวข้องกับการหลอกลวงเอาข้อมูลส่วนตัวของประชาชน ไปใช้ประโยชน์ในทางมิชอบ

โดยได้กำชับไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งวางมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดในโลกออนไลน์ทุกรูปแบบอย่างต่อเนื่องและจริงจัง พร้อมสร้างการรับรู้แนวทางป้องกันให้ประชาชนไม่ตกเป็นเหยื่อของ "มิจฉาชีพ"

การกระทำดังกล่าวจะมีความผิดฐาน “ฉ้อโกงประชาชน” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และ “โดยทุจริต หรือโดยหลอกลวง นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน” ตามพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14(1) ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

โฆษก กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี(บช.สอท.) กล่าวเพิ่มเติมว่า ในปัจจุบันการใช้งาน หรือเข้าถึงบริการต่างๆ บนสื่อสังคมออนไลน์ ควรตรวจสอบให้ดีและระมัดระวังการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคคล ซึ่ง "มิจฉาชีพอาจ" ใช้โอกาสหลอกเอาข้อมูลส่วนตัวไปเเสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ สร้างความเสียหายเป็นวงกว้างได้

วิธีหลีกเลี่ยงการถูกหลอกลวงเอาข้อมูลส่วนตัว พร้อมแนวทางการป้องกัน ดังนี้

1. ระมัดระวังเว็บไซต์ปลอม หรือเว็บไซต์เสมือน หากต้องการจะเข้าเว็บไซต์ใดให้พิมพ์หรือกรอกชื่อเว็บด้วยตนเอง
2. อย่ากดลิงก์ที่เเนบมากับอีเมล หรือความสั้น (SMS) ที่น่าสงสัย ไม่ทราบเเหล่งที่มา
3. หากต้องกรอกข้อมูล ควรกรอกเท่าที่จำเป็นเท่านั้น หากมีการขอข้อมูลในส่วนที่ไม่จำเป็น ให้สันนิษฐานได้ว่าเป็นมิจฉาชีพ แน่นอน หากไม่แน่ใจให้ติดต่อสอบถามกลับไปยังหน่วยงานของรัฐ หรือเอกชนโดยตรง
4. ไม่โพสต์ข้อมูลที่สำคัญลงในสื่อสังคมออนไลน์ และควรตั้งค่าความเป็นส่วนตัวจำกัดผู้เข้าถึงข้อมูล
5. ตั้งรหัสผ่านให้คาดเดาได้ยาก เช่น ใช้อักษรตัวพิมเล็ก ตัวพิมใหญ่ ใช้อักขระพิเศษ ตัวเลข มารวมกัน อย่าใช้ชุดเลขที่เกี่ยวข้องกับวันเดือนปีเกิด หมายเลขโทรศัพท์ และเปิดใช้งานการเข้าถึงแบบหลายชั้น เช่น การใช้ร่วมกับ OTP หรือการยืนยันตัวตนหลายปัจจัย

อีกทั้ง องค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชน ต้องปฏิบัติตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 อย่างเคร่งครัด อาทิเช่น การให้ความคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลด้วยการปกป้องข้อมูลส่วนตัวที่ระบุเจ้าของข้อมูลได้ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลจะต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูล เป็นต้น

ทั้งนี้ หากพบเบาะแสการกระทำผิด หรือ ข้อขัดข้องใดๆ ก็สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ สายด่วนหมายเลข 1441 หรือหมายเลขโทรศัพท์ 081-866-3000 ตลอด 24 ชั่วโมง แจ้งความออนไลน์ที่เว็บไซต์ www.thaipoliceonline.com