โรคที่มากับหน้าร้อนมีอะไรบ้างและวิธีการป้องกัน

29 เมษายน 2567

ช่วงหน้าร้อนแบบนี้ต้องเผชิญกับสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าวทำให้เกิดอาการรู้สึกวิงเวียนศีรษะ หน้ามืด คล้ายจะเป็นลม วันนี้จะพามาดูโรคที่มากับหน้าร้อนว่ามีอะไรบ้าง

อุจจาระร่วงเฉียบพลัน (Acute Diarrhea)

เป็นภาวะที่มีการถ่ายเหลวหรือถ่ายเป็นน้ำตั้งแต่ 3 ครั้งขึ้นไป ภายใน 24 ชั่วโมง หรือถ่ายเป็นมูกเลือดมากกว่า 1 ครั้ง ซึ่งสามารถหายได้เองหากไม่มีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้น แต่ในกรณีที่มีอาการรุนแรงมากขึ้น อาจจะถ่ายเหลวเป็นน้ำมากกว่า 10-20 ครั้งต่อวัน และไม่สามารถรับประทานอาหารหรือน้ำได้เลย ส่งผลให้ร่างกายเกิดภาวะช็อก หรือหมดสติจากการขาดน้ำได้

อาการอุจจาระร่วงเฉียบพลัน ที่ต้องรีบพบแพทย์

. ปวดท้องอย่างรุนแรง

. ปวดศีรษะ

. มีไข้

. คลื่นไส้

. อ่อนเพลีย

โรคที่มากับหน้าร้อนมีอะไรบ้างและวิธีการป้องกัน

ไข้ไทฟอยด์ หรือ ไข้รากสาดน้อย (Typhoid)

เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Salmonella Typhi โดยเชื้อชนิดนี้สามารถแพร่กระจายไปยังทุกส่วนของร่างกายได้ ซึ่งติดต่อได้จากการรับประทานอาหาร หรือดื่มน้ำที่มีเชื้อปนเปื้อน และเมื่อเราสัมผัสกับเชื้อชนิดนี้แล้ว อาจส่งผลกระทบต่ออวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายได้ อีกทั้ง หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ก็อาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนที่รุนแรงถึงขั้นอันตรายถึงชีวิตได้

อาการไข้ไทฟอยด์ หรือไข้รากสาดน้อย

. ไข้สูง

. เบื่ออาหาร

. แน่นท้อง

. ท้องผูก

อาหารเป็นพิษ (Food Poisoning)

เป็นโรคที่พบบ่อยในช่วงหน้าร้อน ซึ่งเกิดจากการปนเปื้อนของเชื้อโรคจำพวก S.aureus หรือ B. cereus หรือ C. perfringens ส่วนใหญ่จะมีอาการหลังจากรับประทานที่มีรสจัด หรืออาหารที่ปรุงไม่สุกพอ เช่น อาหารค้างคืน เนื้อสัตว์ที่ปรุงไม่สุก หรือทานดิบ ๆ และเมื่อรับประทานอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อโรคเข้าไปแล้ว อาจทำให้เกิดอาการต่างๆตามมา ที่ทำให้การใช้ชีวิตของคุณอาจแย่ลง

อาการอาหารเป็นพิษ

. อาเจียน ติดต่อกันไม่หยุดหรือมี เลือดออก

. ปวดท้องในลักษณะปวดบิดเป็นพักๆ

. ท้องเสีย

. คลื่นไส้หรืออาเจียน

โรคที่มากับหน้าร้อนมีอะไรบ้างและวิธีการป้องกัน

อหิวาตกโรค (Cholera)

เป็นโรคติดต่ออันตรายร้ายแรงและสามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วซึ่งมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อแบคทีเรีย วิบริโอ โคเลอรี (Vibrio Cholerae) ซึ่งเชื้อจะเข้าไปอยู่บริเวณลำไส้ และจะสร้างพิษออกมา และทำปฏิกิริยากับเยื่อบุผนังลำไส้เล็ก ทำให้เกิดอาการท้องร่วงอย่างรุนแรง จนทำให้ร่างกายเสียน้ำหรือเกลือแร่อย่างรวดเร็ว และหากปล่อยไว้ให้อาการรุนแรง ก็อาจอันตรายถึงชีวิตได้ โดยมีปัจจัยเสี่ยงมาจากการรับประทานอาหารที่ไม่ได้ผ่านการปรุงสุก หรือสดสะอาดนั่นเอง  

อาการอหิวาตกโรค

. ถ่ายเหลวเป็นน้ำสีคล้ายน้ำซาวข้าว

. ถ่ายมีมูกเลือด

. ปวดท้องน้อยมาก

. อาจมีอาการคลื่นไส้หรืออาเจียนร่วมด้วย

โรคบิด  (Dysentery)

โรคบิดจะแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ก็คือ มีตัวก่อบิด และไม่มีตัวก่อบิด ซึ่งโรคบิดที่มีตัวก่อบิดจะเกิดจากเชื้ออะบีนา และเมื่อเชื้ออะมีบาเข้าไปสู่กระแสเลือด หรือแพร่ไปยังอวัยวะภายในต่างๆ ก็อาจทำให้เนื้อเยื่อในอวัยวะต่างๆถูกทำลาย หรือก่อให้เกิดฝีที่อวัยวะต่าง ๆ และอาจเกิดอาการติดเชื้อ หรืออาการอื่น ๆ ที่รุนแรงขึ้น ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาที่ทันท่วงทีก็อาจทำให้อันตรายถึงชีวิตได้

อาการที่มีตัวก่อบิด

. ปวดท้องเวลาถ่าย

. ถ่ายปนมูกปนเลือด

. อาจมีฝีในตับ

. ถ่ายอุจจาระบ่อยครั้ง

อาการที่ไม่มีตัวก่อบิด

. ไข้สูง

. ถ่ายเป็นมูกปนเลือด

. ปวดท้อง

. อาเจียน

. เบื่ออาหาร

5 วิธีดูแลสุขภาพในช่วงหน้าร้อน

. ดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 8 แก้วขึ้นไป เพื่อทดแทนน้ำที่สูญเสียไป เพื่อป้องกันภาวะร่างกายขาดน้ำซึ่งอาจทำให้เกิดอาการหน้ามืดเป็นลมได้

. เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และต้องผ่านการปรุงสุกที่สดสะอาดอยู่เสมอ

. หลีกเลี่ยงการใช้ชีวิตประจำวันในสถานที่มีอากาศร้อนจัด แต่หากมีความจำเป็นต้องสัมผัสแดดควรทาครีมกันแดด สวมแว่นกันแดด หรือพกร่มไปด้วยทุกครั้ง

. งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะอากาศร้อนอาจทำให้แอลกอฮอล์ถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือดได้เร็วกว่าปกติ

. กลุ่มเสี่ยงที่เป็นเด็กเล็ก ผู้สูงวัย และกลุ่มที่มีโรคประจำตัว ควรอยู่ในห้องที่มีอากาศระบายได้ดี

. ควรใส่เสื้อผ้าที่ระบายความร้อนได้ดี หรือเลือกเสื้อผ้าที่สามารถดูดซับเหงื่อและระบายความร้อนได้ดี เพื่อไม่ให้ระคายเคืองผิวหนัง

ขอบคุณ : โรงพยาบาลเปาโล โชคชัย4