เผยการควบคุม เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง อย่างถูกต้อง

04 ตุลาคม 2565

เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง แมลงศัตรูที่ก่อให้เกิดปัญหาสำคัญและมีผลกระทบความเสียหายต่อผลผลิตมันสำปะหลังเป็นอย่างมาก

เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง ในอดีตปัญหาเกี่ยวกับแมลงศัตรูที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผลผลิตมันสำปะหลังมีค่อนข้างน้อย เนื่องจากมันสำปะหลังเป็นพืชที่ปลูกง่าย ทนทานและปรับตัวได้ดี แต่ปัจจุบันการระบาดของเพลี้ยแป้งในมันสำปะหลังกลายเป็นปัญหาสำคัญและมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ  มีรายงานการระบาดเมื่อต้นปี 2551  และขยายวงออกไปตามแหล่งปลูกมันสำปะหลังที่สำคัญ  เช่น จังหวัดกำแพงเพชร ระยอง ชลบุรี สระแก้ว ปราจีนบุรีและนครราชสีมา  สาเหตุสำคัญของการระบาดอย่างกว้างขวางคือ การใช้ท่อนพันธุ์ที่มีเพลี้ยแป้งไปปลูกโดยไม่มีการจัดการให้ท่อนพันธุ์สะอาดก่อน ทำให้ผลผลิตมันสำปะหลัง ในปี 2552 ที่คาดว่าจะมีถึง 27 ล้านตัน ลดลงเหลือประมาณ 19 ล้านตันเท่านั้น ซึ่งกระทบต่อธุรกิจมันสำปะหลังโดยตรง และกระทบการส่งออกและเศรษฐกิจของประเทศโดยรวมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

เผยการควบคุม เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง อย่างถูกต้อง

ลักษณะการทำลายของเพลี้ยแป้ง

เพลี้ยแป้งทำความเสียหายต่อมันสำปะหลัง โดยการดูดกินน้ำเลี้ยงตามส่วนต่างๆ เช่น ใบ ยอด และตา ในส่วนของต้นที่ยังอ่อนอยู่ ยอดที่ถูกทำลายจะงอหงิกเป็นพุ่ม ลำต้นจะบิดเบี้ยวมีช่วงข้อถี่ ทำให้มีผลต่อคุณภาพท่อนพันธุ์ หัวมีขนาดเล็ก เปอร์เซ็นต์แป้งต่ำ หากการระบาดรุนแรงยอดจะแห้งตาย ถ้ามีระบาดในช่วงที่มันสำปะหลังอายุน้อย อาจทำให้ต้นมันสำปะหลังตายหรือไม่สามารถสร้างหัวได้ เพลี้ยแป้งจะระบาดรุนแรงในฤดูแล้งมากกว่าในฤดูฝนโดยเฉพาะฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานาน แปลงที่มีการระบาดอย่างรุนแรงความเสียหายเกิดขึ้นเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์

เพลี้ยแป้งดูดน้ำเลี้ยงจากมันสำปะหลัง โดยใช้ปากที่มีลักษณะเป็นท่อยาวแทงเข้าไปในส่วนของใบ ยอด หรือตาจากนั้นก็จะขับถ่ายมูลที่มีลักษณะเป็นของเหลวเหนียวๆ ออกมา เรียกว่า มูลหวานซึ่งจะเป็นที่อาศัยและอาหารของราดำ เมื่อราดำเจริญเติบโตทำให้การสังเคราะห์แสงของมันสำปะหลังเกิดขึ้นได้ไม่เต็มที่

เผยการควบคุม เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง อย่างถูกต้อง

การควบคุมเพลี้ยแป้งในมันสำปะหลังอย่างถูกต้อง

 

สามารถทำได้โดยวิธีเขตกรรม และวิธีกล ได้แก่ การไถพรวนดินหลายๆ ครั้ง และตากดินอย่างน้อย 2 สัปดาห์ เพื่อลดประมาณเพลี้ยแป้งและศัตรูพืชอื่นๆ ที่อยู่ในดิน หลีกเลี่ยงการปลูกมันสำปะหลังที่อาจทำให้ต้นมันสำปะหลังงอกและระยะแรกของการเจริญเติบโตอยู่ในช่วงแล้งหรือฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานาน เนื่องจากเป็นสภาพแวดล้อมเหมาะกับการเจริญเติบโตของเพลี้ยแป้ง เมื่อตรวจพบเพลี้ยแป้งเริ่มเข้าทำลาย ให้ถอนต้น หรือตัดส่วนที่มีเพลี้ยแป้งนำไปเผาทำลาย และหากจำเป็นต้องปลูกใหม่ให้ใช้ท่อนพันธุ์ที่สะอาดปราศจากเพลี้ยแป้ง รวมทั้งการควบคุมโดยชีววิธี ทั้งแมลงห้ำและแมลงเบียน โดยกำหนดแนวทางการควบคุมตามพื้นที่ ที่พบการระบาด ดังนี้

1. พื้นที่ที่ยังไม่พบการระบาด

1.1 ใช้ท่อนพันธุ์สะอาดปราศจากโรค และแมลงทำลาย หรือไม่นำท่อนพันธุ์มาจากแหล่งอื่น

1.2 เก็บซากพืชออกจากแปลง ไถพรวนหลาย ๆ ครั้ง และตากดินอย่างน้อย 14 วัน

1.3 แช่ท่อนพันธุ์ด้วยสารฆ่าแมลงที่แนะนำก่อนปลูก เพื่อป้องกันเพลี้ยแป้งที่ติดมากับท่อนพันธุ์หรือระบาดมาจากแปลงข้างเคียง เนื่องจากเป็นระยะวิกฤติ จำเป็นต้องตัดวงจรชีวิตของเพลี้ยแป้ง หรือลดจำนวนเพลี้ยแป้งให้เหลือน้อยที่สุด

1.4 ตรวจแปลงสม่ำเสมอทุก 2 สัปดาห์ (หากพบการระบาดดูรายละเอียดในข้อ 2)

เผยการควบคุม เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง อย่างถูกต้อง

2. พื้นที่ที่มีการระบาดของเพลี้ยแป้ง

2.1 หลีกเลี่ยงการปลูกในฤดูแล้ง ควรปลูกช่วงต้นฝน ซึ่งฝนที่ตกต่อเนื่องจะทำให้การระบาดลดลง

2.2 ไถพรวนดินหลาย ๆ ครั้ง ตากดินอย่างน้อย 14 วัน

2.3 ต้องแช่ท่อนพันธุ์ด้วยสารเคมีที่แนะนำเพื่อกำจัดเพลี้ยแป้ง

2.4 ตรวจแปลงสม่ำเสมอทุก 2 สัปดาห์

2.5 มันสำปะหลังที่มีอายุ 1 – 4 เดือน หากพบระบาดไม่รุนแรงให้ตัดยอดที่มีเพลี้ยแป้งเกาะอยู่แล้วพ่นสารฆ่าแมลงบริเวณที่พบ หากรุนแรงให้ถอนทิ้งทั้งหมดแล้วนำไปทำลายนอกแปลง

2.6 หากพบการระบาดในมันสำปะหลังอายุ 5 – 8 เดือน ให้ตัดยอดหรือถอนต้นที่พบเพลี้ยแป้ง นำไปทำลายนอกแปลงและพ่นสารฆ่าแมลงบริเวณที่พบและบริเวณโดยรอบที่มีการระบาดทันที

2.7 หากพบการระบาดในมันสำปะหลังอายุมากกว่า 8 เดือน ควรเร่งเก็บผลผลิต ตัดต้นทิ้งนำไปทำลาย ทำความสะอาดแปลง แล้วปลูกพืชอื่นที่ไม่เป็นพืชอาศัยของเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังแทน เช่น ข้าวโพด อ้อย ข้าวฟ่าง หรือทานตะวัน

การใช้สารฆ่าแมลงป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้ง

การใช้สารเคมีฆ่าแมลงมีความจำเป็นเพื่อป้องกันในระยะแรกของการปลูกและลดปริมาณแมลงศัตรูพืชในช่วงที่เพลี้ยแป้งระบาดรุนแรง

1. การแช่ท่อนพันธุ์ สารฆ่าแมลงที่แนะนำ คือ

1 ไทอะมีโทแซม 25% WG อัตรา 4 กรัม/น้ำ 20 ลิตร

2 อิมิดาโคลพริด 70%WG อัตรา 4 กรัม/น้ำ 20 ลิตร

3 ไดไนทีฟูแรน 10%WP อัตรา 40 กรัม/น้ำ 20 ลิตร

วิธีการแช่ท่อนพันธุ์

1. ตัดท่อนพันธุ์ยาวประมาณ 20 เซนติเมตร มีจำนวนไม่น้อยกว่า 5 ตา หรือขนาดพร้อมปลูก

2. ผสมสารชนิดใดชนิดหนึ่งข้างต้น ตามอัตราที่กำหนด และเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด ควรผสมสารดังกล่าวข้างต้นไม่เกิน 80 ลิตร ต่อการแช่ท่อนพันธุ์ปลูกให้ได้พื้นที่ปลูกไม่เกิน 1 ไร่ เนื่องจากหากผสมมากเกินไปแล้วแช่ไปเรื่อย ๆ ท่อนพันธุ์มันสำปะหลังที่แช่ตอนท้าย ๆ จะได้รับสารในความเข้มข้นที่ต่ำเกินไป ทำให้ระยะเวลาควบคุมเพลี้ยแป้งได้ต่ำกว่า 1 เดือน

3. แช่เพื่อทำให้เพลี้ยแป้งที่ติดมากับท่อนพันธุ์ตายทั้งหมด และผลพลอยได้คือ สารฆ่าแมลงจะแทรกซึมในท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง หลังงอกสารฆ่าแมลงจะถูกเคลื่อนย้ายมาที่ใบและยอด สามารถป้องกันการเข้าทำลายของเพลี้ยแป้งได้ประมาณ 1 เดือน

4. เมื่อแช่ท่อนพันธุ์ไปสัก 3-4 ครั้ง น้ำในถังแช่จะลดลงให้ผสมสารในอัตราเดิมเทเพิ่มลงไปในถังแช่

5. เพื่อความสะดวกในการปฏิบัติงาน ควรมีการตัดท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง และทำการแช่สารฆ่าแมลง ตามคำแนะนำล่วงหน้าก่อนปลูก 1 วัน

 

2. การใช้สารฆ่าแมลงฉีดพ่นทางใบ สารฆ่าแมลงที่แนะนำ คือ

1 ไทอะมีโทแซม 25%WG อัตรา 4 กรัม/น้ำ 20 ลิตร

2 ไดโนทีฟูแรน 10%WP อัตรา 20 กรัม/น้ำ 20 ลิตร

3 โปรไทโอฟอส 50%EC อัตรา 50 ซีซีหรือมิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร

4 พิริมิฟอส เมทิล 50% อัตรา 50 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร

5 ไทอะมีโทแซม+แลมบ์ดาไซฮาโลทริน 24.7%ZC อัตรา 10 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร

เผยการควบคุม เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง อย่างถูกต้อง

วิธีการพ่นสาร

1. การพ่นสารเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด ให้ใช้สารชนิดใดชนิดหนึ่งข้างต้นลดอัตราลงครึ่งหนึ่งผสมกับสารไวท์ออยล์ 67%EC อัตรา 50 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร 

2. การผสมสาร ให้ผสมไวท์ออยล์และสารฆ่าแมลงในน้ำเพียงเล็กน้อยก่อน ใช้ไม้กวนให้เข้ากัน แล้วค่อย ๆ เติมน้ำให้ครบที่กำหนด

3. ในพื้นที่ 1 ไร่ การพ่นต้องใช้อัตราพ่น 80 ลิตร/ไร่ และควรพ่นหงายหัวฉีดขึ้นและพ่นใต้ทรงพุ่ม

4. สำหรับมันสำปะหลังอายุไม่เกิน 4 เดือน ในพื้นที่ 1 ไร่ ให้พ่นในอัตรา 40 ลิตร/ไร่ และควรพ่นติดต่อกันอย่างน้อย 2 ครั้ง เนื่องจากการพ่นสารครั้งเดียวอาจกำจัดได้เฉพาะตัวอ่อนและตัวเต็มวัย แต่ไม่สามารถกำจัดไข่และตัวอ่อนของเพลี้ยแป้งซึ่งอยู่ในถุงที่มีใยสีขาวได้ การผสมกับสารไวท์ออยล์สามารถลดต้นทุนได้

5. ควรมีการสลับใช้สารฆ่าแมลง เป็นกลุ่มชนิดอื่นบ้าง เพื่อป้องกันการต้านทานสารฆ่าแมลงของเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังโดยครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 อาจแช่ท่อนพันธุ์ด้วยสารฆ่าแมลงไทอะมีโทแซมก่อนปลูก หลังจากต้นมันสำปะหลังงอกแล้ว ประมาณ 20 วันถึง 1 เดือนให้ตรวจดูการระบาดของเพลี้ยแป้ง ถ้าพบการระบาดของเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังให้พ่นด้วย สารกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต(โปรไทโอฟอส 50%ECหรือพิริมิฟอสเมทิล 50%ECชนิดใดชนิดหนี่ง อัตรา 50 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร เนื่องจากหลังแช่สารแล้วในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมาถ้ามีการระบาดของเพลี้ยแป้ง แสดงว่าเพลี้ยแป้งได้รับสารกลุ่มนีโอนิโคตินอยด์(ไทอะมีโทแซม ไดโนทีฟูแรน หรืออิมิดาโคพริด) มาแล้วและท้าย ๆ จะเหลือสารที่เข้มข้นน้อยจนไม่สามารถฆ่าเพลี้ยแป้งได้ เพลี้ยแป้งที่รอดชีวิตนั้นได้รับการคัดเลือกสารกลุ่มนิโอนิโคตินอยด์ในอัตราตำ่อาจกระตุ้นให้สร้างความต้านทานต่อสารกลุ่มนี้เช่นเดียวกับเด็กได้รับวัคซีน  สำหรับครั้งต่อไปควรสลับหรือเปลี่ยนเป็นสารฆ่าแมลงกลุ่มอื่นเช่น นีโอนิโคตินอยด์ (ไทอะมีโทแซม อิมิดาโคลพริด ไดโนทีฟูแรน)

กลุ่มของสารเคมีที่แนะนำให้ใช้ในการควบคุมเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง และควรนำมาใช้สลับกันในแต่ละชั่วอายุของเพลี้ยแป้ง ในชั่วอายุเดียวกันควรใช้สารกลุ่มเดียวกัน และสลับด้วยสารอีกกลุ่มเมื่อชั่วอายุต่อไป

กลุ่ม 1 นีโอนิโคตินอยด์ (ไทอะมีโทแซม อิมิดาโคลพริด ไดโนทีฟูแรน)

กลุ่ม 2 ออร์กาโนฟอสเฟต (พิริมิฟอสเมทิล โปรไทโอฟอส)

ต้นทุนการพ่นสารแบบเดี่ยว

เผยการควบคุม เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง อย่างถูกต้อง

สนับสนุนโดย : ปุ๋ยมงกุฎ

เผยการควบคุม เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง อย่างถูกต้อง