คำกล่าวถวายผ้ากฐิน และ อานิสงส์ถวายผ้ากฐิน

03 ตุลาคม 2565

อานิสงส์ถวายผ้ากฐิน มีอะไรบ้าง พร้อมคำกล่าวถวายผ้ากฐิน และ ประวัติ ประเพณีทอดกฐิน มีความเป็นมาอย่างไร ประเพณีทอดกฐินเริ่มช่วงไหน

วันนี้ทีมข่าว ไทยนิวส์ออนไลน์ ขอพาทุกท่านมาย้อน ความสำคัญ เกี่ยวกับประเพณีไทย ประเพณีทอดกฐิน วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา อานิสงส์ถวายผ้ากฐิน มีอะไรบ้าง พร้อม คำกล่าวถวายผ้ากฐิน และ ประวัติ ประเพณีทอดกฐิน มีความเป็นมาอย่างไร ประเพณีทอดกฐินเริ่มช่วงไหน พบกับคำตอบได้ในบทความนี้

คำกล่าวถวายผ้ากฐิน และ อานิสงส์ถวายผ้ากฐิน

ประเพณีทอดกฐิน 

ประเพณีการทอดกฐินของพุทธศาสนิกชนไทยมีมาช้านาน โดยมีทั้งพิธีหลวงและพิธีราษฎร์ โดยการถวายผ้าพระกฐินของพระมหากษัตริย์จัดเป็นพระราชพิธีที่สำคัญประจำปี ในปัจจุบันถวายผ้ากฐินในแง่การสนับสนุนผ้าไตรจีวรเพื่อใช้ในสังฆกรรมสำคัญของคณะสงฆ์ได้ถูกลดความสำคัญลงไป แต่กลับให้ความสำคัญกับบริวารของกฐินทานแทน เช่น เงิน หรือวัตถุสิ่งของ เพื่อนำสิ่งเหล่านี้มาพัฒนาถาวรวัตถุและทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ซึ่งจัดเป็นสังฆทานอย่างหนึ่งเช่นเดียวกัน

การได้มาของผ้าไตรจีวรอันจะนำมากรานกฐินตามพระวินัยบัญญัติของเถรวาทนี้ พระพุทธองค์ไม่ทรงห้ามการรับผ้าจากผู้ศรัทธาเพื่อนำมากรานกฐิน ด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงทำให้เกิดทานพิธีการถวายผ้ากฐิน หรือการทอดกฐินของพุทธศาสนิกชนขึ้น และการถวายผ้ากฐินนั้นจัดเป็นสังฆทาน คือ ถวายแก่คณะสงฆ์โดยไม่เจาะจงภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง เพื่อให้คณะสงฆ์นำผ้าไปอปโลกน์ ยกให้แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งตามที่คณะสงฆ์ลงมติ (ญัตติทุติยกรรมวาจา)

และกาลทานที่มีกำหนดเขตเวลาถวายแน่นอน คณะสงฆ์วัดหนึ่ง ๆ สามารถรับได้ครั้งเดียวในรอบปี มีกำหนดระยะเวลาถวายเพียง 1 เดือน คือ ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ไปจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ระยะเวลานี้เรียกว่า กฐินกาล คือ ระยะเวลาทอดกฐิน หรือ เทศกาลทอดกฐิน ซึ่งเป็นทานที่ถวายได้ภายในเวลาที่มีพระพุทธานุญาตกำหนด จึงมีอานิสงส์เป็นพิเศษในการทอดกฐิน ทำให้ประเพณีการทอดกฐินเป็นบุญประเพณีนิยมที่สำคัญของพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป

คำกล่าวถวายผ้ากฐิน และ อานิสงส์ถวายผ้ากฐิน

อานิสงส์ของการทำบุญทอดกฐิน 

  1. ทำให้เป็นผู้มั่งคั่งมีทรัพย์สินมาก และประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานได้โดยง่าย
  2. ทำให้เป็นผู้มีจิตใจแช่มชื่น บริสุทธิ์และผ่องใสอยู่เสมอ
  3. ทำให้เป็นผู้มีจิตใจตั้งมั่น เป็นสมาธิและเข้าถึงธรรมได้โดยง่าย
  4. ได้ชื่อว่าเป็นผู้สามารถใช้ทรัพย์สมบัติให้เกิดเป็นบุญกุศลติดตัวไปในภพเบื้องหน้าได้อย่างเต็มที่
  5. ทำให้เป็นคนรูปงาม ผิวพรรณงาม เป็นที่รักของคนทั่วไป
  6. ทำให้เป็นผู้มีชื่อเสียง เกียรติคุณ น่ายกย่องสรรเสริญ เป็นที่ตั้งแห่งศรัทธาน่าเคารพนับถือ

คำกล่าวถวายผ้ากฐิน

  • อิมัง มะยัง ภันเต / สะปะริวารัง / กะฐินะ จีวะระทุสสัง / สังฆัสสะ / โอโณชะยามะ / สาธุ โน ภันเต/ สังโฆ/
  • อิมัง /สะปะริวารัง /กะฐินะจีวะระทุสสัง / ปะฏิคคันหาตุ / ปะฏิคคะ เหตตะวา จะ /อิมินา ทุสเสนะ /
  • กะฐินัง/ อัตถะรัตตุ/ อัมหากัง / ทีฆะรัตตัง  / หิตายะ / สุขายะ  / นิพพานายะจะ ฯ

อาราธนาศีลห้า

  • มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ
  • ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ
  • ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ
  • ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ
  • ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ
  • ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ

คำกล่าวถวายผ้ากฐิน (ไทย)

  • ข้าแต่พระภิกษุสงฆ์ผู้เจริญ / ข้าพเจ้าทั้งหลาย / ขอน้อมถวาย /  ผ้าจีวรกฐิน / พร้อมด้วยบริวารทั้งหลายเหล่านี้ / แด่พระภิกษุสงฆ์ / ขอพระภิกษุสงฆ์ / จงรับ / ผ้าจีวรกฐิน / พร้อมด้วยบริวารทั้งหลายเหล่านี้ / ครั้นรับแล้ว /จงกรานกฐิน / ด้วยผ้าผืนนี้ /เพื่อประโยชน์ / เพื่อความสุข / เพื่อมรรคผลนิพพาน / แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย /ตลอดกาลนาน เทอญฯ

คำกล่าวถวายผ้ากฐิน และ อานิสงส์ถวายผ้ากฐิน