ใช้รถต้องรู้! พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ คุ้มครองอะไรบ้าง เบิกอะไรได้บ้าง

24 เมษายน 2567

พ.ร.บ. มอเตอร์ไซค์ มีความจำเป็นสำหรับผู้ที่เป็นเจ้าของรถ ซึ่ง พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์คือหลักประกันว่าผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร และผู้ประสบภัยบนท้องถนนจะได้รับค่ารักษาพยาบาลและการชดเชยหากเกิดอุบัติเหตุขึ้น

ใช้รถต้องรู้! พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ คุ้มครองอะไรบ้าง เบิกอะไรได้บ้าง 

ใช้รถต้องรู้! พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ คุ้มครองอะไรบ้าง เบิกอะไรได้บ้าง

พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ คือ

พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ คือ ประกันภัยภาคบังคับที่ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ต้องมีตามกฎหมาย เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากอุบัติเหตุบนท้องถนน ไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร หรือคู่กรณี รวมไปถึงการประสบอุบัติเหตุแม้ไม่มีคู่กรณี เช่น รถล้มหรือขี่ชนวัตถุสิ่งของบนถนน โดยพ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ จะให้ความคุ้มครองเรื่องค่ารักษาพยาบาล ค่าสินไหมทดแทน และเงินชดเชย ในกรณีที่เกิดการสูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพ หรือเสียชีวิตจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น

ใช้รถต้องรู้! พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ คุ้มครองอะไรบ้าง เบิกอะไรได้บ้าง

ประเภทของค่าเสียหายที่พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์จ่าย


พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์จะจ่ายค่าเสียหายให้กับผู้ประสบภัย ทั้งผู้ขับขี่ทั้งเจ้าของรถจักรยานยนต์และคู่กรณี รวมถึงผู้โดยสารทั้งสองฝ่ายและบุคคลภายนอกที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากอุบัตินั้น ๆ โดยจะแบ่งค่าเสียหายออกเป็น 2 ประเภท คือ ค่าเสียหายเบื้องต้น และค่าสินไหมทดแทน

 

ค่าเสียหายเบื้องต้น


ค่าเสียหายเบื้องต้น คือ เงินที่เจ้าผู้ขับขี่และผู้ซ้อนสามารถเบิกจากพ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ได้หากเกิดอุบัติเหตุขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ว่าฝ่ายผู้ขับขี่หรือคู่กรณีเป็นฝ่ายผิด รวมถึงอุบัติเหตุที่ไม่มีคู่กรณี โดยมีวงเงินคุ้มครองดังนี้  

  • กรณีบาดเจ็บ ค่ารักษาพยาบาล จ่ายตามจริง สูงสุดไม่เกิน 30,000 บาท ต่อคน
  • กรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพ ชดเชย 35,000 บาท ต่อคน
  • กรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพหลังจากเข้ารับการรักษาแล้ว ชดเชย 65,000 บาท ต่อคน

 

ซึ่งในกรณีที่คุณขับรถล้มเองนั้น หรือขับขี่ชนสิ่งของ ไม่มีคู่กรณี จะถือว่าเป็นอุบัติเหตุ แค่มีพรบ.รถจักรยานยนต์ คุณจะได้รับความคุ้มครอง เบิกค่าเสียหาเบื้องต้นได้ ไม่ต้องควักเงินค่ารักษาเอง 

 

กรณีเกิดอุบัติเหตุ ยังไม่ต้องพิสูจน์ความผิด

  • พ.ร.บ.จะดำเนินการชดใช้ให้เมื่อเกิดอุบัติเหตุ ได้รับบาดเจ็บ สูญเสียอวัยวะ รวมถึงเสียชีวิต แม้ไม่มีคู่กรณี โดยยังไม่ต้องรอพิสูจน์ว่าใครเป็นฝ่ายถูกหรือผิด โดยสามารถเบิกจ่ายได้ทันที ซึ่งในส่วนนี้ครอบคลุมทั้งคนขับและคนซ้อน
  • ค่ารักษาพยาบาล จ่ายตามค่าใช้จ่ายจริง วงเงินไม่เกิน 30,000 บาท/คน
  • เสียชีวิต ทุพพลภาพ สูญเสียอวัยวะ ชดเชย 35,000 บาท/คน


กรณีเกิดอุบัติเหตุ พิสูจน์แล้วว่าเป็นฝ่ายถูก


พ.ร.บ. จะชดเชยให้เมื่อพิสูจน์แล้วว่าผู้ขับขี่เป็นฝ่ายถูก ครอบคลุมทั้งคนขับและคนซ้อนเช่นเดียวกัน โดยมีความคุ้มครองดังนี้

ค่ารักษาพยาบาล จ่ายตามค่าใช้จ่ายจริง วงเงินไม่เกิน 80,000 บาท
เสียชีวิต ทุพพลภาพ ชดเชย 300,000 บาท
หากสูญเสียอวัยวะ จะแบ่งออกเป็น 3 กรณี ดังนี้ 

1.นิ้วขาด 1 ข้อขึ้นไป ชดเชย 200,000 บาท
2.สูญเสียอวัยวะ 1 ส่วน ชดเชย 250,000 บาท
3.สูญเสียอวัยวะ 2 ส่วน ชดเชย 300,000 บาท

หากมีการรักษาตัวในโรงพยาบาล (ผู้ป่วยใน) ชดเชยวันละ 200 บาท ไม่เกิน 20 วัน

(*หมายเหตุ: ความคุ้มครองดังกล่าว จะคุ้มครองเฉพาะกรณีบาดเจ็บหรือเสียชีวิตเท่านั้น ไม่ได้ชดเชยในส่วนของค่าซ่อมแซมอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุแต่อย่างใด)

กรณีเกิดอุบัติเหตุ พิสูจน์แล้วว่าเป็นฝ่ายผิด


กรณีที่เกิดอุบัติเหตุ ซึ่งมีการพิสูจน์ทราบแล้วว่าเป็นฝ่ายผิด หากเกิดการบาดเจ็บทั้งสองฝ่าย ฝ่ายที่ผิดจะได้รับความคุ้มครองแค่ค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้นเท่านั้น ส่วนฝ่ายที่ถูกจะได้รับความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลในเบื้องต้น และได้รับเงินสินไหมทดแทนเพิ่มเติม

ขั้นตอนการแจ้งเคลมพ.ร.บ.รถจักรยานยนต์


1.ส่งผู้เจ็บส่งโรงพยาบาล และแจ้งเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลว่าขอให้สิทธิ์เบิกตามพ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ และทำตามขั้นตอนที่เจ้าหน้าที่แจ้ง 
2.แจ้งความเพื่อลงบันทึกประจำวัน ให้ตำรวจดำเนินการสอบสวน พิสูจน์ว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายถูกหรือผิด จากนั้นเก็บเอกสารจากเจ้าหน้าที่ตำรวจไว้ใช้ในการเคลมค่าสินไหมทดแทน
3.ยื่นเอกสารที่บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด สาขาใดก็ได้ ภายใน 180 วันหลังจากวันเกิดเหตุ