ใช้รถต้องรู้! ขับรถเกียร์ออโต้ขึ้น-ลงเขา ต้องใช้เกียร์อะไรถึงปลอดภัย?

29 กุมภาพันธ์ 2567

ผู้ขับรถเกียร์ออโต้ที่ดูเหมือนง่ายแต่แท้จริงแล้วก็ยากเอาเรื่อง เพราะถ้าเกิดเราใช้เกียร์ผิดก็อาจส่งผลให้รถเสียหลักจนเกิดอุบัติเหตุได้ เพราะฉะนั้นทาง Carfreedom จะมาเผยเคล็ดลับการขับรถ เกียร์ออโต้ขึ้น-ลงเขา อย่างไรให้ปลอดภัยที่สุดกันครับ!

 ใช้รถต้องรู้! ขับรถเกียร์ออโต้ขึ้น-ลงเขา ต้องใช้เกียร์อะไรถึงปลอดภัย?

ใช้รถต้องรู้! ขับรถเกียร์ออโต้ขึ้น-ลงเขา ต้องใช้เกียร์อะไรถึงปลอดภัย?

การขับรถขึ้นเขาด้วยเกียร์ออโต้

ควรใช้เกียร์ต่ำในการขับรถขึ้นเขา ซึ่งไฟบอกตำแหน่งเกียร์อาจระบุเป็น D2 หรือ 2 ขึ้นอยู่กับรุ่นรถ กรณีที่รถสามารถปรับเป็นโหมดเกียร์ธรรมดาได้ ให้เลือกใช้เกียร์ 2 เป็นหลัก หากเส้นทางมีความชันเพิ่มขึ้นจนทำให้เครื่องยนต์เริ่มไม่มีแรง ให้ปรับเป็นเกียร์ L หรือ 1 จะช่วยเรียกพละกำลังของเครื่องยนต์กลับคืนมา จึงสามารถขับต่อไปได้อย่างไร้กังวล 

ใช้รถต้องรู้! ขับรถเกียร์ออโต้ขึ้น-ลงเขา ต้องใช้เกียร์อะไรถึงปลอดภัย?

เมื่อเข้าสู่ช่วงทางราบให้สลับไปใช้ตำแหน่งเกียร์ D บ้าง จะช่วยลดภาระการทำงานของเครื่องยนต์ และช่วยลดอัตราสิ้นเปลืองลงได้

 

 

การขับรถลงเขาด้วยเกียร์ออโต้

ใช้รถต้องรู้! ขับรถเกียร์ออโต้ขึ้น-ลงเขา ต้องใช้เกียร์อะไรถึงปลอดภัย?
ระหว่างลงทางชันให้ผลักเกียร์ไปยังตำแหน่ง D2 หรือ 2 เครื่องยนต์จะช่วยสร้าง Engine Brake เพื่อหน่วงความเร็วป้องกันไม่ให้รถไหลลงเขาด้วยความเร็วสูงจนเกินไป ช่วยลดภาระของระบบเบรกไม่ให้เบรกร้อนจัด ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้รถเบรกไม่อยู่ โดยระหว่างนี้รอบเครื่องยนต์อาจพุ่งสูงถึง 4,000 - 5,000 รอบต่อนาที (หรือราว 3,000 - 4,000 รอบต่อนาทีสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล) ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ แต่หากทางลงเขามีความลาดชันมาก อาจใช้เกียร์ L หรือ 1 เพื่อเพิ่มแรงหน่วงของเครื่องยนต์ โดยระหว่างนี้เครื่องยนต์จะไม่มีการฉีดจ่ายน้ำมันแต่อย่างใด จึงไม่ต้องกังวลว่าจะสิ้นเปลืองน้ำมันโดยใช่เหตุ

เทคนิคและข้อควรระวังในขณะขับรถยนต์ลงเขา  

1.ใช้เกียร์ต่ำเท่านั้น
เราควรใช้เกียร์ต่ำหรือเกียร์ D ในการขับรถขึ้นลงเขาเท่านั้น เพราะมันจะทำให้เราสามารถควบคุมรถได้ง่ายขึ้น ช่วยให้เราเข้าโค้งและชะลอรถได้อย่างปลอดภัย พร้อมหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุหรืออันตรายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2.ไม่ควรใช้เกียร์ว่างลงเขา
เราไม่ควรใช้เกียร์ว่างหรือเกียร์ N ลงเขา เพราะมันจะทำให้รถไหลลงเขาด้วยความเร็วสูง ซึ่งมีความเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ อีกทั้งยังทำให้ชุดเฟืองเกียร์เกิดการสึกหรอจากความร้อน จนทำให้ระบบเบรกและชุดเกียร์เกิดความเสียหายได้ในที่สุด

3.เหยียบเบรกให้ถูกวิธี
อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่าการเหยียบเบรกขณะขับรถลงเขาไม่ควรลากเบรกยาว ๆ หรือเหยียบเบรกตลอดเวลา ต้องค่อย ๆ แตะเบรกเบา ๆ เพื่อชะลอความเร็ว เพราะมันอาจทำให้จานเบรกและเครื่องยนต์เสียหายได้

4.ขับชิดซ้าย ไม่เร่ง ไม่แซงโดยไม่จำเป็น
พยายามขับรถชิดซ้ายเข้าไว้ในขณะที่ขึ้นลงเขา ไม่ควรเร่งหรือแซงโดยไม่จำเป็นเพราะมันอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้จากมุมอับสายตา และถ้าหากมีรถขับจี้ท้ายมาก ๆ ก็ควรให้คันหลังขึ้นแซงไปก่อนเพื่อความปลอดภัย

5.ให้สัญญาณรถคันอื่นอยู่เสมอ
เมื่อคุณขับรถเข้าสู่ทางโค้งหรือมุมอับสายตาระหว่างขึ้นลงเขา ควรให้สัญญาณแก่เพื่อนร่วมทางตลอด เช่น บีบแตรหรือเปิดไฟสัญญาณ เพื่อเตือนรถคันอื่นให้รู้ตัว

6.ควบคุมความเร็วและปฏิบัติตามกฎจราจร
เราควรใช้ความเร็วรถตามที่กฎหมายกำหนด ควรประคองความเร็วให้อยู่ที่ประมาณ 50-80 กิโลเมตร/ชั่วโมง และห้ามฝ่าฝืนกฎจราจรอย่างเด็ดขาด เพราะอุบัติเหตุสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกที่ทุกเวลา