ใช้รถต้องรู้! Carfreedom จะมาบอกทริคการดู ค่า Treadwear แก้มยาง

18 มกราคม 2567

สำหรับใครที่กำลังสงสัยวา ยางรถยนต์ที่คุณเลือกใช้ ในรถของคุณนั้นมีความทนทานมากน้อยเเค่ไหน ซึ่งส่วนใหญ่แล้วกันแล้วจะเช็คกันที่ “เดือน-ปีที่ผลิต” บนแก้มยางเท่านั้น แต่วันนี้เราจะมาสอนดูค่า “Treadwear” ว่า ยางเเต่ล่ะเส้นนั้น มความทนทานมากน้อยเเค่ไหน

ใช้รถต้องรู้! Carfreedom จะมาบอกทริคการดู ค่า Treadwear แก้มยาง 

ใช้รถต้องรู้! Carfreedom จะมาบอกทริคการดู ค่า Treadwear แก้มยาง

ขยายความคำว่า ค่า Treadwear บนแก้มยางคืออะไร?

     หากสังเกตให้ดีจะพบว่าบนแก้มยางมีการระบุ “Treadwear” ตามด้วยตัวเลขเอาไว้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐานการแบ่งเกรดคุณภาพยางที่เรียกว่า Uniform Tyre Quality Grading (UTQG) โดยค่า Treadwear ใช้สำหรับบ่งบอกถึงอัตราความสึกหรอของยางเส้นนั้นๆ ซึ่งใช้ตัวเลขกำกับ เช่น 200, 260, 350, 400 หรือกระทั่ง 800 เป็นต้น

     ซึ่งเรทคะแนน Treadwear มาจากการเปรียบเทียบในเรื่องการสึกหรอ ความนิ่ม-แข็งของเนื้อยางจนได้มาเป็นตัวเลขคะแนน Treadwear ระดับต่างๆ เช่น 100, 300, 400, 700, 800 เป็นผลการทดสอบของลักษณะเนื้อยาง ซึ่งหมายความว่าหากคุณกำลังเลือกระหว่างยางชนิดเดียวกันจากผู้ผลิตรายเดียวกัน ค่าของ Treadwear นี่แหละที่จะช่วยคุณตัดสินใจได้ว่ายางตัวไหนเหมาะกับการใช้งานของรถคุณ และคุณมากที่สุด เช่นค่า Treadwear น้อยกว่าก็หมายความถึงลักษณะของยางจะมีอายุการใช้งานสั้นกว่า แตกลายง่ายกว่า แต่ในเรื่องการขับขี่จะดี เกาะถนนมากกว่า และในทางกลับกันกับค่า Treadwear ที่มากกว่าจะใช้งานได้นานกว่า แต่แน่นอนในเรื่องการขับขี่ใช้งาน สมรรถนะการเกาะถนนก็ย่อมด้อยลงไปด้วยเช่นกัน

 

 

       ค่า Treadwear สูงจะมีความแข็งของเนื้อยางมากกว่า จึงมักพบข้อเสียที่คนใช้รถทั่วไปไม่พึงประสงค์ เช่น ยางมีเสียงดัง แข็งกระด้าง ไม่เกาะถนนเท่าที่ควร ยางประเภทนี้จึงเหมาะสำหรับรถที่ใช้งานหนัก ขับทางไกลเป็นประจำ จะช่วยยืดระยะเวลาในการเปลี่ยนยาง ทำให้มีค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาน้อยลง

    ใช้รถต้องรู้! Carfreedom จะมาบอกทริคการดู ค่า Treadwear แก้มยาง  

     ส่วนยางที่มีค่า Treadwear ต่ำจะมีความนิ่มของเนื้อยางมากกว่า จึงทำให้มีการยึดเกาะถนนที่ดีกว่า เสียงรบกวนในขณะขับขี่ต่ำกว่า และให้ความนุ่มนวลมากกว่า แต่ข้อเสียคือ ยางมีอัตราการสึกหรอสูง จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนยางบ่อยมากขึ้นนั่นเอง

   

     ซึ่งตัวเลข Treadwear ของยางแต่ละรุ่นถูกกำหนดขึ้นโดยผู้ผลิตยางเอง ไม่ใช่มาตรฐานของหน่วยงาน หรือองค์กรใดองค์กรหนึ่งโดยเฉพาะ ดังนั้นยางที่มี Treadwear 400 ของผู้ผลิต A อาจมีการสึกหรอแตกต่างจากยางที่มี Treadwear 400 ของผู้ผลิต B เล็กน้อย นอกจากนี้ ประสิทธิภาพต่างๆ ของยางแต่ละรุ่น เช่น ความนุ่มเงียบ, ความทนทาน, การยึดเกาะถนน ฯลฯ ยังมีปัจจัยอื่นอีกนอกเหนือจากค่า Treadwear เพียงอย่างเดียว ไม่ว่าจะเป็นคุณภาพของวัตถุดิบที่ใช้ผลิตยาง, การออกแบบโครงสร้างยาง หรือการออกแบบลวดลายของดอกยาง เหล่านี้ล้วนแต่เป็นสิ่งที่เจ้าของรถต้องพิจารณาควบคู่กันไปด้วย

 


 

 สุดท้ายนี้ มาตรฐานการแบ่งเกรดคุณภาพยาง Uniform Tyre Quality Grading (UTQG) ยังมีการระบุถึง Traction และ Temperature เอาไว้ด้วย โดย Traction จะหมายถึงความสามารถในการยึดเกาะถนนโดยเฉพาะบนทางเปียก โดยไล่จากสูงสุดไปต่ำสุด คือ AA, A, B และ C ขณะที่ Temperature หมายถึงความสามารถในการทนความร้อน โดยมีค่าจากดีสุดไปยังแย่สุด คือ A, B และ C เป็นต้น