เผยเหตุผล! ทำไมรถหลุดจำนำทำไมถึงราคาถูกกว่าปกติ?

17 กรกฎาคม 2566

หลายคนที่กำลังสนใจที่จะซื้อรถยนต์หรือรถจักรยานที่เป็นมือสอง คงเคยเห็นกันมาอยู่บ้าง สำหรับรถหลุดจำนำที่มีราคาถูกแสนถูก ทำให่หลายคนจึงอยากที่จะจับจองเป็นเจ้าของสักคัน แต่ก็มีปัจจัยหลายเช่นเดียวกันที่ไม่ควรซื้อเด็ดขาด โดยจะมีปัจจัยอย่างไรบ้าง

เผยเหตุผล! ทำไมรถหลุดจำนำทำไมถึงราคาถูกกว่าปกติ?

เผยเหตุผล! ทำไมรถหลุดจำนำทำไมถึงราคาถูกกว่าปกติ?

รถหลุดจำนำ คือ รถที่เจ้าของรถมีปัญหาด้านการเงิน จึงเอารถไปจำนำกับคนที่รับจำนำ หรือปล่อยตามบ่อน โดยทำสัญญากันเพียงแค่โอนลอย และต้องจ่ายดอกเบี้ยไปเรื่อยๆ จนกว่าจะไถ่ถอนคืนได้ทั้งหมด เหมือนเราเอาของไปเข้าโรงรับจำนำนั่นล่ะครับ พอเจ้าของรถไม่มาไถ่ถอนตามเวลาที่กำหนด รถยนต์คันนั้นจะกลายเป็นรถหลุดจำนำทันที พ่อค้าที่จำนำรถไว้ก็เอารถมาขายทอดตลาดอีกที

เหตุที่ว่าหลุดจำนำที่ว่านั้นจะถูกกฎหมายหรือไม่ ขอตอบตรงว่าไม่ถูกกฎหมาย และก็ไม่ผิดกฎหมายด้วยครับ งงล่ะครับท่าน!! สรุปว่ามันยังไงกันแน่ ก่อนที่จะปวดหัวไปมากกว่านี้ ขอตอบอีกหนึ่งคำถามว่า แล้วจะใช้งานได้จริงหรือไม่ ตอบแบบตรงไปตรงมาว่า ใช้งานได้จริงและใช้งานไม่ได้จริง

ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกันก่อนว่า รถหลุดจำนำนั้นเป็นอย่างไร รถหลุดจำนำ คือรถที่ถูกเจ้าของนำมาจำนำกับพ่อค้าที่รับจำนำ โดยทำการต่อดอกไปเรื่อยๆ จนกว่าจะไถ่ถอนคืนได้ทั้งหมด เหมือนเราเอาของเข้าโรงรับจำนำนั่นแหล่ะครับ แต่ถ้าเจ้าของรถไม่สามารถไถ่ถอนได้ตรงตามเวลาที่กำหนด รถยนต์คันนั้นจะกลายเป็นรถหลุดจำนำทันที และเมื่อรถหลุดจำนำทางพ่อค้าจะนำมาขายทอดตลาดอีกที คราวนี้ก็เข้าใจกันแล้วนะครับว่าทำไมราคามันถึงได้ถูกแสนถูก

  แล้วรถหลุดจำนำที่นำมาขายเป็นรถถูกกฎหมายหรือไม่ ขอยืนยันคำตอบข้างต้นแล้วกันนะครับว่าถูกและไม่ถูก เรียกว่าเป็นสีเทาแล้วกันครับ ที่ว่าถูกกฎหมายก็เพราะว่าทางพ่อค้าจะรับจำนำรถที่มีเอกสารถูกต้อง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นรถติดไฟแนนซ์ครับ  ดังนั้นหายห่วงได้เลยว่ารถที่นำมาจำนำนั้นไม่ใช่รถที่ถูกขโมยมาแต่อย่างใด ซึ่งเจ้าเอกสารที่ว่าจะมีดังนี้ครับ

     1.สำเนาหน้าเล่มทะเบียนรถยนต์
     2.สำเนาบัตรประชาชนของเจ้าของรถ
     3.สำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าของรถ
     4.เอกสารโอนลอยรถยนต์(เจ้าของรถเซ็นชื่อไว้เรียบร้อย)
     5.เอกสารมอบอำนาจ(เจ้าของรถเซ็นชื่อไว้เรียบร้อย) 

แล้วในเมื่อไม่ใช่รถที่ขโมยมาแล้วมันผิดกฎหมายอย่างไร?

     ผิดตรงที่รถมันใช่ของเราน่ะสิครับ เพราะเมื่อเราซื้อรถมาแล้วเราไม่สามารถโอนรถได้  ถึงจะได้เอกสารของเจ้าของรถก็ตามที เพราะเจ้าของรถตัวจริงคือไฟแนนซ์นั่นเอง  และอาจจะโดนตามยึดพร้อมโดนแจ้งจับข้อหารับของโจรก็เป็นได้

มาถึงตรงนี้หลายคนอาจจะหวั่นๆ แต่ยังคาใจว่าทำไมยังมีการซื้อกันอย่างมากมากและยังมีการนำรถไปใช้กันอย่างล้นหลาม

     แต่สาเหตุที่ยังมีคนกล้าซื้อรถหลุดจำนำเนื่องจากหลายคนมองว่าราคาถูก และหากไม่ถูกตามยึดคืนจากไฟแนนซ์ ก็ไม่มีปัญหาอะไร หรือนำรถไปปิดกับไฟแนนซ์อันนี้ตาดีได้ตาร้ายเสียครับขึ้นอยู่กับยอดที่ต้องจ่าย นอกจากนี้ยังมีอีกวิธีการหนึ่งคือการนำซากรถมาสวมทะเบียนเพื่อให้ถูกกฎหมายและตามจับได้ยาก โดยใช้รถที่มีสี รุ่นและ ปีเดียวกัน มาสวมทะเบียน และมีการดัดแปลงเลขตัวถังให้ตรงกัน เท่านี้ก็สามารถขับรถได้อย่างชิวชิวบนท้องถนนแล้วล่ะครับ ซึ่งตรงนี้มีการทำกันเป็นขบวนการยากต่อการตรวจสอบ ทีนี้คงจะตอบคำถามได้แล้วนะครับว่ารถหลุดจำนำเอามาใช้งานได้จริง จะลองเสี่ยงดูมั้ยล่ะครับ..!!

 ทางด้านสาเหตุที่ไม่สามารถนำรถมาใช้บนถนนได้จริงนั้น เพราะอะไร? คำตอบก็คือ '"ความเสี่ยง" ยังไงล่ะครับ

     เนื่องจากรถหลุดจำนำไม่ใช่รถที่ถูกกฎหมายซะทีเดียวจึงย่อมเกิดความเสี่ยงกับผู้ที่ซื้อรถหลุดจำนำซึ่งมีดังนี้ครับ

  • เสี่ยงต่อการถูกยึดโดยไฟแนนซ์ คุณอาจจะต้องสูญเสียทั้งรถทั้งเงินโดยเปล่าประโยชน์
  • เสี่ยงต่อการเป็นเหยื่อแก๊งต้มตุ๋น วันดีคืนดีคุณอาจถูกแก๊งตุ้มตุ๋นพาตำรวจไปตามยึดรถคุณถึงที่บ้านพร้อมข่มขู่เอาเงินคุณก็ได้ หากคุณไม่ยอมก็จะถูกจับดำเนินคดี จนต้องยอมจ่ายไป
  • เสี่ยงต่อการถูกตรวจและโดนจับ ถึงแม้ว่าคุณจะได้รับเอกสารอย่างถูกต้องครบถ้วนมันก็ไม่ได้ช่วยอะไรคุณได้เลย เพราะถ้ารถที่คุณซื้อมาถูกแจ้งความรถหาย คุณก็อาจถูกดำเนินคดีได้ข้อหารับของโจร 
  • เอะอะก็ผิด เอะอะก็โดนจับ !! คุณอาจะหัวเสียพร้อมสงสัยว่าแล้วฉันผิดคนเดียวหรือไงที่เป็นคนซื้อรถหลุดจำนำ อันที่จริงก็ผิดกันหมดครับ ซึ่งพอจะอธิบายได้ดังนี้
  • ผู้ที่นำรถมาจำนำโดยไม่ได้รับความยินยอมจากไฟแนนซ์ หากไฟแนนซ์ฟ้องคนเอารถมาจำนำในความผิดฐานยักยอกทรัพย์ผู้อื่นแล้ว 
  • ผู้ที่รับจำนำไว้ก็จะมีความผิดฐานรับของโจร
  • ผู้ที่ซื้อไปอีกต่อหนึ่งก็มีความผิดในฐานรับของโจรเช่นกัน