ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ 2566 ให้ความคุ้มครองอย่างไรบ้าง?

01 กุมภาพันธ์ 2566

พ.ร.บ. คือ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 หรือเรียกอีกอย่างว่าประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ เนื่องจากผู้ครอบครองรถทุกคันที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกจะต้องจัดทำ พ.ร.บ. เป็นประจำอย่างต่อเนื่องทุกปี

ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ 2566 ให้ความคุ้มครองอย่างไรบ้าง?

ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ 2566  ให้ความคุ้มครองอย่างไรบ้าง?

เป็นที่รู้กันว่า ในการใช้รถยนต์นั้นจำเป็นต้องต่อ พ.ร.บ. ทุกปี เพราะว่านอกจากเรามีประกันภัยรถยนต์แล้ว พ.ร.บ. จะช่วยคุ้มครองแก่ผู้ประสบอุบัติเหตุจากการใช้รถได้อย่างทันท่วงที โดยไม่คำนึงถึงว่าบุคคลที่ประสบอุบัติเหตุดังกล่าวจะเป็นฝ่ายผิดหรือฝ่ายถูกแต่อย่างใด ซึ่งมีรายละเอียดความคุ้มครอง 

พ.ร.บ. คือ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 หรือเรียกอีกอย่างว่าประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ เนื่องจากผู้ครอบครองรถทุกคันที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกจะต้องจัดทำ พ.ร.บ. เป็นประจำอย่างต่อเนื่องทุกปี หากฝ่าฝืนใช้งานรถยนต์ที่ไม่มี พ.ร.บ. หรือหมดอายุ จะต้องถูกระวางโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท

ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ 2566  ให้ความคุ้มครองอย่างไรบ้าง?

พ.ร.บ. ให้ความคุ้มครองอย่างไรบ้าง?

     พ.ร.บ. จะให้ความคุ้มครองแก่ผู้ประสบอุบัติเหตุจากการใช้รถได้อย่างทันท่วงที โดยไม่คำนึงถึงว่าบุคคลที่ประสบอุบัติเหตุดังกล่าวจะเป็นฝ่ายผิดหรือฝ่ายถูกแต่อย่างใด ซึ่งมีรายละเอียดความคุ้มครอง ดังนี้

1.วงเงินค่าเสียหายเบื้องต้นโดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด

1.1 ค่ารักษาพยาบาลจากการบาดเจ็บ (ตามจริง) 30,000 บาทต่อคน
1.2 การเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพอย่างถาวร 35,000 บาทต่อคน

2.วงเงินค่าเสียหายที่เกินกว่าค่าเสียหายเบื้องต้น (จะได้รับภายหลังจากการพิสูจน์แล้วว่าไม่ได้เป็นฝ่ายละเมิด (ฝ่ายผิด))

2.1 ค่ารักษาพยาบาลจากอาการบาดเจ็บ ไม่เกิน 80,000 บาทต่อคน
2.2 สูญเสียอวัยวะ / ทุพพลภาพถาวร / ทุพพลภาพสิ้นเชิง 200,000 - 500,000 บาทต่อคน
2.3 การเสียชีวิต 500,000 บาทต่อคน
2.4 ชดเชยรายวัน 200 บาท รวมกันไม่เกิน 20 วัน กรณีเข้าพักรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลในฐานะคนไข้ใน สูงสุดไม่เกิน 4,000 บาทต่อคน

ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ปี 2566 จ่ายเงินกี่บาท?

     อัตราค่าเบี้ยประกันภัย พ.ร.บ. สำหรับรถยนต์โดยสารส่วนบุคคลเป็นแบบคงที่ขึ้นอยู่กับประเภทรถ โดยมีรายละเอียดดังนี้ (ราคาทั้งหมดยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)

  • รถยนต์โดยสาร
  • รถยนต์โดยสารที่นั่งไม่เกิน 7 คน 600 บาทต่อปี
  • รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน ไม่เกิน 15 ที่นั่ง 1,100 บาทต่อปี
  • รถยนต์โดยสารเกิน 15 ที่นั่ง ไม่เกิน 20 ที่นั่ง 2,050 บาทต่อปี
  • รถยนต์โดยสารเกิน 20 ที่นั่ง ไม่เกิน 40 ที่นั่ง 3,200 บาทต่อปี
  • รถยนต์โดยสารเกิน 40 ที่นั่ง 3,740 บาทต่อปี
  • รถยนต์ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า
  • รถยนต์ไฟฟ้า 600 บาทต่อปี

     ทั้งนี้ การต่อ พ.ร.บ. สามารถทำควบคู่ไปกับการต่อภาษีประจำปีรถยนต์ได้ ซึ่งกำหนดให้รถทุกคันสามารถต่อภาษีประจำปีล่วงหน้าได้สูงสุด 90 วัน หรือ 3 เดือน