วันเข้าพรรษา ประวัติ และ เหตุการณ์สำคัญ มีอะไรบ้าง

14 กรกฎาคม 2565

วันเข้าพรรษา เทศกาลเข้าพรรษา มีกิจกรรมอะไรบ้าง ประวัติวันเข้าพรรษา มีความสำคัญอย่างไร และวันเข้าพรรษาตรงกับวันอะไร

วันเข้าพรรษา

วันเข้าพรรษา เป็นวันที่อยู่ต่อจากวันอาสาฬหบูชา เป็น วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เช่นเดียวกับวันอาสาฬหบูชา เป็นวันหยุดราชการในปีนี้ เป็นวันสำคัญเดือนกรกฎาคม ที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา

วันเข้าพรรษา 2565 

ใน วันเข้าพรรษาตรงกับวันอะไร ตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ถึง วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี

เทศกาลเข้าพรรษา

วันเข้าพรรษา ในปี 2565 ตรงกับ วันพฤหัสบดี ที่ 14 กรกฎาคม 2565 แรม 1 ค่ำ เดือน 8 ปีขาล

วันเข้าพรรษา ประวัติ และ เหตุการณ์สำคัญ มีอะไรบ้าง อาสาฬหบูชา

วันเข้าพรรษาในประเทศไทย

วันเข้าพรรษา เป็น วันสำคัญในพุทธศาสนาวันหนึ่ง ที่พระสงฆ์เถรวาทจะพักประจำอยู่ที่วัดโดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น หรือที่เรียกว่า จำพรรษา เว้นแต่มีกิจธุระคือเมื่อเดินทางไปแล้วไม่สามารถจะกลับได้ในเดียวนั้น ก็ให้ไปแรมคืนได้ คราวหนึ่งไม่เกิน 7 คืน เรียกว่า "สัตตาหะ พิธีเข้าพรรษานี้ถือเป็นข้อปฏิบัติสำหรับพระสงฆ์โดยตรง ละเว้นไม่ได้ ไม่ว่ากรณีใด ๆ ก็ตาม ช่วงจำพรรษาจะอยู่ในช่วงฤดูฝนคือแรม 1 ค่ำ เดือนแปด(8)เรียกว่า "ปุริมพรรษา" จน ถึง 15 ค่ำ เดือน 11 หรือ วันออกพรรษา ของทุกปี โดยวันเข้าพรรษาเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่ต่อเนื่องมาจากวันอาสาฬหบูชา (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือนแปด(8)) ซึ่งพุทธศาสนิกชนชาวไทยทั้งพระมหากษัตริย์และคนทั่วไปได้สืบทอดประเพณีปฏิบัติการทำบุญในวันเข้าพรรษามาตั้งแต่สมัยสุโขทัย

วันที่ใช้จัดงานวันเข้าพรรษา

วันเข้าพรรษาส่วนใหญ่ จะไม่ค่อยตรงกันทุกปี เพราะถือเอา แรม 1 ค่ำ เดือน 8 ถ้าปีใด มีเดือนแปด(8)สองหน (ปีอธิกมาส) ก็เลื่อนไปในวันแรม 1 ค่ำ เดือนแปดหลัง(88) เป็นวันเข้าพรรษาเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่ต่อเนื่องมาจากวันอาสาฬหบูชา

เข้าพรรษา ทำบุญ วันสำคัญ วันหยุด วันพระ วันเข้าพรรษา ประวัติ และ เหตุการณ์สำคัญ มีอะไรบ้าง

ประวัติวันเข้าพรรษา

วันเข้าพรรษา มี ความสำคัญ ต่อพุทธศาสนิกชนและเป็น วันสำคัญของพระพุทธศาสนา ซึ่งถือว่าเป็นกรณียกิจพิเศษสำหรับพระภิกษุสงฆ์ จะมีการประชุมกันในพระอุโบสถ ไหว้พระสวดมนต์ ขอขมาซึ่งกันและกัน เสร็จแล้วก็ประกอบพิธีเข้าพรรษา ภิกษุจะอธิษฐานใจตนเองว่า ตลอดฤดูกาลเข้าพรรษานี้ตนเองจะไม่ไปไหน

ชาวบ้าน กลุ่มหนึ่งพากันกล่าวตำหนิพระสงฆ์ ที่เดินย่ำไปเหยียบข้าวกล้าของชาวนาเสียหาย ไม่ยอมหยุดยั้งแม้ในระหว่างฤดูฝน เพราะแม้แต่ฝูงนกยังหยุดพักผ่อนไม่ท่องเที่ยวไปไหน และเมื่อเรื่องนี้ทราบถึงพระพุทธเจ้าพระองค์จึงทรงรับสั่งให้พระสงฆ์ประชุมแล้วจึงทรงบัญญัติเรื่องการเข้าพรรษาไว้ว่า "อนุชานามิ ภิกขะเว อุปะคันตุง" หมายถึง "ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้พวกเธออยู่จำพรรษา"

สาเหตุที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้พระสงฆ์จำพรรษาอยู่ที่วัดตลอด 3 เดือน เพื่อให้พระสงฆ์ได้หยุดพักเพื่อเผยแพร่ศาสนาไปตามสถานที่ต่าง ๆ เพราะอยู่ในช่วงฤดูฝน จะเป็นไปด้วยความยากลำบาก และเพื่อป้องกันความเสียหายจากการอาจเดินเหยียบย่ำธัญพืชของชาวบ้านที่ปลูกลงแปลงในฤดูฝน และเป็นช่วงเวลาหรือโอกาสสำคัญในรอบปีที่พระสงฆ์จะได้มาอยู่จำพรรษารวมกัน เพื่อศึกษาพระธรรมวินัยจากพระสงฆ์ที่ทรงความรู้ ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และสร้างความสามัคคีในหมู่คณะสงฆ์ด้วย

พุทธศาสนิกชนชาวไทย ได้เริ่มบำเพ็ญกุศลเนื่องใน เทศกาลเข้าพรรษา นี้ ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ดังข้อความในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชว่า "พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองสุโขทัยนี้ทั้งชาวแม่ชาวเจ้า ทั้งท่วยปั่วท่วยนาง ลูกเจ้าลูกขันทั้งสิ้นทั้งหลายทั้งหญิงทั้งชายฝูงท่วยมีศรัทธาในพุทธศาสน์ มักทรงศีล เมื่อพรรษาทุกคน" ซึ่งนอกจากการรักษาศีลแล้ว พุทธศาสนิกชนไทยยังได้บำเพ็ญกุศลอื่น อย่างการถวาย เตียงตั่ง เสื่อสาด ผ้าจำนำพรรษา อาหารหวานคาวยารักษาโรค และธูปเทียนจำนำพรรษา เพื่อบูชาพระรัตนตรัยในเดือนแปด(8)

ในปี พ.ศ. 2551 รัฐบาลไทยได้ประกาศให้วันเข้าพรรษาเป็น "วันงดดื่มสุราแห่งชาติ" อีกด้วย และประกาศห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั่วราชอาณาจักรในปีถัดมาทั้งนี้เพื่อรณรงค์ให้ชาวไทยตั้งสัจจะอธิษฐานงดการดื่มสุราในวันเข้าพรรษาและในช่วง 3 เดือนระหว่างฤดูเข้าพรรษา เพื่อเป็นการส่งเสริมค่านิยมที่ดีให้แก่สังคมไทย

วันเข้าพรรษา กิจกรรม

วันเข้าพรรษา อยู่ในช่วงฤดูฝน เป็นวันที่ชาวพุทธถือโอกาสอันดีงามที่จะบำเพ็ญกุศลทำกิจกรรมที่ดีต่างๆ เช่น

เข้าวัดทำบุญ 

วันเข้าพรรษา กิจกรรม เป็นวันที่ชาวพุทธควรจะได้เข้าวัดทำบุญ ฟังพระเทศนา หลังจากวันอาสาฬหบูชา เรียกว่า ได้มีโอกาสทำบุญติดต่อกันถึงสองวัน 

หล่อเทียนพรรษา

วันเข้าพรรษา กิจกรรม เป็นวันที่ชาวพุทธจะได้เห็นกันบ่อยๆ ก็คือพิธีหล่อเทียนจำนำพรรษา แม้ว่าในปัจจุบันอาจจะไม่ได้มีความจำเป็นแล้วแต่ก็เป็นกิจกรรมส่งเสริมและถือว่าให้ความสำคัญกับประเพณีที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาที่สืบต่อกันมา

ถวายเทียนพรรษา

วันเข้าพรรษา กิจกรรม เมื่อทำการหล่อเทียนพรรษาแล้วก็ต้องมีการถวายเทียนพรรษา เป็นประเพณี พิธีแห่เทียนพรรษาที่ชาวพุทธนิยมทำกัน ในวันนั้นจะมีการถวายเทียน ดอกไม้บูชา เวียนเทียนรอบพระอุโบสถ การถวายหลอดไฟ อุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ โดยมีความเชื่อวันเข้าพรรษาว่า หากใครถวายเทียน หลอดไฟ ให้กับพระภิกษุถือว่าเป็นแสงนำทางชีวิต ชีวิตจะมีแสงสว่างนั่นเอง

เทียนพรรษา หล่อเทียนพรรษา เวียนเทียน วันเข้าพรรษา ประวัติ และ เหตุการณ์สำคัญ มีอะไรบ้าง

ขอบคุณ : สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ