“ไอเรื้อรัง” ภัยเงียบที่สร้างความรำคาญ ปล่อยไว้อาจอันตรายกว่าที่คุณคิด

04 กรกฎาคม 2565

อาการไอเรื้อรังเกิดได้จากหลายสาเหตุ และสามารถแพร่กระจายเป็นหลายโรคได้ ไอเรื้อรัง ป็นระยะเวลานาน โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ หรือโรคไซนัสอักเสบเรื้อรัง แล้วมีน้ำมูกไหลลงคอ การใช้เสียงมาก ทำให้เกิดสายเสียงอักเสบเรื้อรัง หรืออาจจะเป็นดรงเกี่ยวกับปอดนั้นเอง

“ไอเรื้อรัง” ภัยเงียบที่สร้างความรำคาญ ปล่อยไว้อาจอันตรายกว่าที่คุณคิด

อาการไอเรื้อรังเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การรับประทานยารักษาความดันโลหิตสูงกลุ่ม Angiotensin converting enzyme inhibitors (ACE inhibitors) เป็นระยะเวลานาน โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ หรือโรคไซนัสอักเสบเรื้อรัง แล้วมีน้ำมูกไหลลงคอ การใช้เสียงมาก ทำให้เกิดสายเสียงอักเสบเรื้อรัง 

“ไอเรื้อรัง” ภัยเงียบที่สร้างความรำคาญ ปล่อยไว้อาจอันตรายกว่าที่คุณคิด

 การไอเรื้อรังประกอบด้วยสามระยะ เริ่มจากการหายใจเข้าเพื่อเพิ่มปริมาตรอากาศและแรงดันในช่องอกและท้อง ส่งผลให้เกิดการหดตัวของกล้ามเนื้อท้องทำให้เกิดการหายใจออกอย่างรวดเร็วพร้อมกับการเปิดของกล่องเสียง จึงเกิดเสียงไอพร้อมกับขับเอาสิ่งตกค้างในทางเดินหายใจออกมา

อาการไอ สามารถแบ่งได้เป็น 3 ชนิด ตามระยะเวลา ดังนี้

1. ไอเฉียบพลัน คือ มีระยะเวลาของอาการไอน้อยกว่า 3 สัปดาห์

2. ไอกึ่งเฉียบพลัน คือ อาการไอที่มีระยะเวลาระหว่าง 3-8 สัปดาห์

3. ไอเรื้อรัง คือ มีระยะเวลาของอาการไอมากกว่าหรือเท่ากับ 8 สัปดาห์

“ไอเรื้อรัง” ภัยเงียบที่สร้างความรำคาญ ปล่อยไว้อาจอันตรายกว่าที่คุณคิด

“ไอเรื้อรัง” ภัยเงียบที่สร้างความรำคาญ ปล่อยไว้อาจอันตรายกว่าที่คุณคิด

ไอแบบไหนควรพบแพทย์

- ไอติดต่อกันมากกว่า 8 สัปดาห์

- อาการไอรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ

- อาการไอที่มีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น มีเลือดปน น้ำหนักลด เบื่ออาหาร หอบเหนื่อย อ่อนเพลีย เจ็บหน้าอก

- ไอมีเลือดปนเสมหะ

- ไอจากการที่เคยสัมผัสกับผู้ป่วยวัณโรคหรืออยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยวัณโรค

- มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ไต หัวใจ เมื่อมีอาการไอควรรีบมาพบแพทย์

ไอเรื้อรังเป็นเวลานาน อาจเกิดให้เป็นโรคเหล่านี้

- วัณโรคปอด

- มะเร็งปอด

- ถุงลมโป่งพอง

- โรคหืด 

- โรคภูมิแพ้อากาศ

- กรดไหลย้อน

- ไซนัสอักเสบ 

- ภาวะทางเดินหายใจไวต่อสิ่งกระตุ้น

“ไอเรื้อรัง” รักษาให้หายได้ 

การรักษาไอเรื้อรังนอกจากจะรักษาตามสาเหตุของโรคแล้ว ยังต้องรักษาตามอาการที่เกิดขึ้นควบคู่กัน ซึ่งนอกจากการซักประวัติ ตรวจร่างกายเบื้องต้นเพื่อวินิจฉัยโรคแล้ว บางรายอาจต้องส่งตรวจยืนยันตามความเหมาะสม อาทิ ตรวจดูโพรงจมูก ลำคอ เอกซเรย์โพรงไซนัส เพื่อดูกลุ่มอาการไซนัส ส่งตรวจเอกซเรย์ปอด เพื่อดูความผิดปกติของปอด ตรวจเสมหะ ตรวจสมรรถภาพปอด เพื่อดูโอกาสของหอบหืด เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ทรวงอก กรณีที่ตรวจพบความผิดปรกติจาก X-ray ปอด อาจต้องทำการส่องกล้องทางเดินหายใจ (Fiber Optic bronchoscopy) เพื่อยืนยันการวินิจฉัย

สำหรับที่มีอาการ “ไอเรื้อรัง” 3 สัปดาห์ขึ้นไป ซึ่งถึงจะทานยาเเล้วอาการยังไม่ดีขึ้น เเนะนำว่าควรรีบไปพบเเพทย์โดยด่วน เพื่อทำการวินิจฉัยอย่างเร่งด้วย เพราะว่าถ้าคุณปล่อยอาการ “ไอเรื้อรัง” เป็นเวลานาน คุณอาจจะพบกับโรคร้ายต่างๆที่กำลังจะเกิดขึ้น 

ที่มา:https://www.phyathai.com/article_detail/2954/th/_