เมื่อได้รับมรดกหนี้ควรจัดการอย่างไร

04 กรกฎาคม 2565

เมื่อเราได้รับมรดกจากพ่อแม่ อาจเป็นทรัพย์สินหรือรวมถึงหนี้สินด้วย เราจะทำอย่างไรกับหนี้สินที่ได้รับ ต้องใช้หนี้แทนหรือไม่

มรดกคือ ทรัพย์สินทุกชนิดของคนตาย ไม่ว่าจะเป็นอสังหาริมทรัพย์ สังหาริมทรัพย์  รวมถึงสิทธิ หน้าที่และความรับผิดชอบต่าง ๆ ทั้งหมด เมื่อเจ้าของเสียชีวิตลง 
กองมรดกจะตกทอดถึงทายาททันที หากมีทั้งทรัพย์สินและหนี้สิน แน่นอนว่าทายาทต้องรับทั้งทรัพย์สินและหนี้สินมาด้วย
ทายาทที่ได้รับมรดกนั้นแบ่งเป็น ทายาทโดยพินัยกรรม คือ ทายาทที่มีสิทธิรับมรดกตามที่ผู้ตายกำหนดไว้ในพินัยกรรม
ทายาทโดยธรรม คือ ทายาทที่มีสิทธิรับมรดกตามกฎหมาย มี 6 ลำดับ แต่ละลำดับมีสิทธิรับมรดกก่อนหลัง ดังนี้

เมื่อได้รับมรดกหนี้ควรจัดการอย่างไร

1. ผู้สืบสันดาน  2.บิดามารดา 3.พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 4.พี่น้องร่วมบิดาหรือมารดาเดียวกัน 5.ปู่ ย่า ตา ยาย 6.ลุง ป้า น้า อา
หลังจากเราได้รับมรดกมาแล้วควรตรวจสอบว่าทรัพย์สินที่ได้รับมาว่ามีทรัพย์สินและหนี้สินมากน้อยเพียงใดเมื่อทราบแล้ว
จะสามารถจัดลำดับความสำคัญ และบริหารจัดการเงินมรดกที่ได้รับได้อย่างเหมาะสม 

เมื่อได้รับมรดกหนี้ควรจัดการอย่างไร
 

จัดการหนี้สินก่อนแบ่งมรดก ในกรณีที่มรดกมีจำนวนมากกว่าหนี้สิน ก่อนแบ่งมรดก เราต้องนำทรัพย์สินนั้นมาใช้หนี้ก่อน จึงสามารถแบ่งมรดกได้
กรณีที่มรดกมีหนี้สินมากกว่าทรัพย์มรดก หรือมีแต่หนี้สิน ทายาทไม่ต้องรับผิดชอบชำระหนี้สินเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ทายาทได้รับ 
(เช่นผู้ตายมีมรดก 1 ล้าน แต่มีหนี้ 2 ล้าน ผู้ได้รับมรดกจะชำระไม่เกิน 1 ล้านบาท อีก 1 ล้าน ไม่ต้องชำระ)
กรณีแบ่งมรดกไปแล้ว และมาทราบภายหลังว่ามีหนี้สินต้องชดใช้ ทายาททุกคนจะต้องรับภาระชำระหนี้เท่าๆกัน 
เจ้าหนี้นั้นสามารถฟ้องเรียกร้องให้ทายาทชำระหนี้สินนั้นภายใน 1 ปี นับตั้งแต่ทราบการตายของลูกหนี้ หากเจ้าหนี้พิสูจน์ได้ว่าไม่ทราบการตายของลูกหนี้จริงๆ
สามารถฟ้องเรียกร้องให้ชดใช้หนี้ได้ภายใน 10ปี เท่านั้น หลังจากนั้นจะไม่สามารถฟ้องทายาทได้

เมื่อได้รับมรดกหนี้ควรจัดการอย่างไร