แนะนำ สายพันธุ์ปาล์มน้ำมัน พืชเศรษฐกิจไทย ส่งออกสู่ตลาดโลก

02 มิถุนายน 2565

เกษตรยั่งยืนวันนี้ จะพาทุกท่านไปรู้จักพันธุ์ปาล์มน้ำมัน 3 ชนิด พืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจไทย ส่งออกสู่ตลาดโลก

เกษตรยั่งยืนในวันนี้ ทีมงานไทยนิวส์จะพาทุกท่านมาพูดถึงเรื่องการปลูกปาล์มน้ำมัน โดยกรมส่งเสริมการเกษตรได้ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกปาล์มน้ำมันลูกผสมพันธุ์เทเนอรา (D x P) ซึ่งเป็นพันธุ์ลูกผสมชั่วที่ 1 ที่ได้จากการผสมระหว่างพ่อพันธุ์พิสิเฟอรา (Pisifera) และแม่พันธุ์ดูรา (Dura)

 

แนะนำ การปลูกพันธุ์ปาล์มน้ำมัน พืชเศรษฐกิจไทย ส่งออกสู่ตลาดโลก

หลักในการเลือกใช้พันธุ์ปาล์มน้ำมัน


พันธุ์ปาล์มน้ำมันที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ ในปัจจุบันแบ่งได้เป็น 3 ชนิด ซึ่งสามารถแยกความแตกต่างของพันธุ์เหล่านี้ โดยพิจารณาความหนากะลาของผลปาล์มเป็นสำคัญ


1. พันธุ์ดูรา (Dura) เป็นพันธุ์ที่มีกะลาหนาประมาณ 2 ถึง 8 มิลลิเมตร มีชั้นเปลือกนอกที่ให้น้ำมัน (Mesocarp) ประมาณ 35 ถึง 60 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักผลปาล์ม พันธุ์ดูราเป็นพันธุ์ที่มีกะลาหนามาก ๆ เรียกว่ามาโครคายา (Macrocarya) คือมีกะลาหนาประมาณ 6 ถึง 8 มิลลิเมตร และมักจะพบมากในแถบตะวันออกไกล เช่น พันธุ์เดลีดูรา (Deli Dura) ซึ่งเป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตค่อนข้างสูง ปัจจุบันพันธุ์ดูรามักใช้เป็นต้นแม่สำหรับปรับปรุงพันธุ์เพื่อผลิตลูกผสมเป็นการค้า


2. พันธุ์ฟิสิเฟอรา (Pisifera) เป็นพันธุ์ที่มีกะลาบางมาก หรือบางครั้งไม่มีกะลา เมล็ดในและผลมีขนาดเล็ก ช่อดอกตัวเมียมักเป็นหมัน ผลผลิตแต่ละทะลายต่อต้นมีปริมาณต่ำ จึงไม่เหมาะที่จะปลูกเพื่อเป็นการค้าและนิยมใช้พันธุ์ฟิสิเฟอราเป็นต้นพ่อสำหรับผลิตพันธุ์ลูกผสม


3. พันธุ์เทเนอรา (Tenera) เป็นลูกผสมระหว่างพันธุ์แม่ดูราและพันธุ์พ่อฟิสิเฟอรา  เป็นพันธุ์ที่มีกะลาบาง ประมาณ 0.5 ถึง 4 มิลลิเมตร มีปริมาณของ Mesocarp 60 ถึง 90 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักผลผลผลิตต่อทะลายสูง ในปัจจุบันจึงนิยมปลูกเป็นการค้า

 

แนะนำ การปลูกพันธุ์ปาล์มน้ำมัน พืชเศรษฐกิจไทย ส่งออกสู่ตลาดโลก

โดยในวันนี้ทีมงานไทยนิวส์ จะมาแนะนำการปลูกปาล์มน้ำมัน ซึ่งทางภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรมวิชาการเกษตร ได้ให้ความรู้เรื่องการปลูกปาล์มน้ำมัน ดังนี้


การเตรียมพื้นที่ปลูก


1. การบุกเบิกพื้นที่และการปรับสภาพพื้นที่สำหรับการปลูกปาล์มน้ำมัน เริ่มต้นจากการโค่นต้นไม้ขนาดใหญ่และเคลื่อนย้ายมากองรวมกัน จากนั้นปล่อยทิ้งไว้ให้แห้ง ระยะเวลาประมาณ 1 เดือน แล้วจึงทำการเผา และไถพื้นที่และปรับสภาพพื้นที่

      
2. การทำถนนและทางระบายน้ำ และการสร้างถนนในสวนปาล์มน้ำ ถือว่ามีความจำเป็นมากในการปลูกและการขนส่งหลังจากทำการเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ลักษณะถนน มี 2 แบบ คือ ถนนใหญ่ ถือเป็นเส้นทางการขนส่งผลผลิต มีความกว้างของถนน ประมาณ 6 เมตร จะมีจำนวนกี่สายก็ขึ้นอยู่กับขนาดของแปลง ลักษณะภูมิประเทศ และเงินทุน ส่วนอีกแบบหนึ่ง เรียกว่าถนนย่อยหรือถนนเข้าแปลง เป็นถนนที่เชื่อมกับถนนใหญ่ ควรมีขนาดความกว้าง ประมาณ 4 เมตร  ระยะห่างของถนนย่อยควรห่างกัน ประมาณ 500 เมตร  ในขณะที่ถนนใหญ่แต่ละเส้นควรอยู่ห่างกัน ประมาณ 1 กิโลเมตร หากพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันมีสภาพเป็นพื้นที่ลุ่มการทำร่องระบายน้ำก็นับว่าเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง

      
3. การวางแนวในการปลูกปาล์มน้ำมัน หลังการเตรียมพื้นที่เสร็จเรียบร้อยแล้วจะต้องทำการวางสำหรับการปลูกปาล์มน้ำมัน ซึ่งปกติการปลูกปาล์มน้ำมันนิยมปลูกเป็นลักษณะของสามเหลี่ยมด้านเท่า ระยะในการปลูกตั้งแต่ 8 x 8 เมตร ถึง 10 x 10 เมตร

       
4. การปลูกพืชคลุมดิน ในขณะที่ต้นปาล์มน้ำมันมีขนาดเล็ก ระยะห่างระหว่างต้นขนาดพื้นที่เหลือมาก จึงมีปัญหาที่ตามมาคือการแก่งแย่งของวัชพืช การปลูกพืชคลุมดินจึงนับว่ามีความจำเป็นเพราะนอกเหนือจากจะเป็นการป้องกันการขึ้นแข่งขันของวัชพืชแล้วยังสามารถรักษาความชุ่มชื้นของดินให้คงอยู่ได้ระยะเวลานาน และเป็นการป้องกันการพังทะลายของหน้าดินในกรณีที่พื้นที่เป็นที่ลาดชัน รวมไปถึงการเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดินโดยการเพิ่มอินทรียวัตถุและการตรึงไนโตรเจนจากอากาศ การปลูกพืชคลุมดิน ควรมีระยะห่างจากแถวปาล์มอย่างน้อย 1.5 เมตร และชนิดของพืชคลุมที่ใช้ เช่น Calogoponium Mucunoides, Pueraria Phaseoloides, Centrocema Pubescens โดยแนะนำให้ปลูกร่วมกันทั้ง 3 ชนิด คือ การเตรียมพื้นที่สำหรับการปลูกควรเริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนธันวาคม และเริ่มต้นการปลูกปาล์มน้ำมันตั้งแต่เดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนกรกฎาคม เพื่อที่จะให้เสร็จเรียบร้อยก่อนฤดูฝนในแต่ละปี

 

แนะนำ การปลูกพันธุ์ปาล์มน้ำมัน พืชเศรษฐกิจไทย ส่งออกสู่ตลาดโลก


วิธีการปลูก

ระบบการปลูกปาล์มน้ำมันที่นิยมปลูก คือ ปลูกแบบสามเหลี่ยมด้านเท่า ระยะ 9 x 9 x 9 เมตร โดยปลูกปาล์มน้ำมันในช่วงฤดูฝน (ไม่ควรปลูกช่วงปลายฤดูฝนต่อเนื่องถึงฤดูแล้ง) หรือหลังจากปลูกต้นกล้าแล้วจะต้องมีฝนตกอีกอย่างน้อยประมาณ 3 เดือนจึงจะเข้าฤดูแล้ง การปลูกปาล์มน้ำมันจะต้องใช้ต้นกล้าพันธุ์ดีมีอายุประมาณ 8 ถึง 14 เดือน จำนวน 22 ถึง 25 ต้นต่อไร่


ระยะปลูก

ระยะปลูกที่เหมาะสมสำหรับพันธุ์ลูกผสมที่ได้จากพ่อพันธุ์กลุ่มต่างๆ ดังตารางด้านล่าง

 

แนะนำ สายพันธุ์ปาล์มน้ำมัน พืชเศรษฐกิจไทย ส่งออกสู่ตลาดโลก

 

ขอบคุณ ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรมวิชาการเกษตร