เปิดความหมาย ท่านั่งชัชชาติ มีที่มาอย่างไร

24 พฤษภาคม 2565

ดราม่า ชัชชาติ กับ ท่านั่งใส่บาตรตอนเช้า วันนี้ Thainews Online จะพามารู้จักกับ ท่านั่งไหว้พระ ท่านั่งกระโหย่ง มีที่มาที่ไปอย่างไร

ว่าด้วยเรื่อง ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่ากรุงเทพมหานคร ผู้ว่าคนใหม่ เป็นผู้ว่าที่ผ่านการเลือกตั้งโดยประชาชนคนกรุง เป็น ผู้ว่าคนที่ 17 และวันนี้เป็น วันคล้ายวันเกิด ก็มีกระแสดราม่า ต้อนรับการทำงานวันที่ 2 ของ ผู้ว่าชัชชาติ กับ ท่านั่งไหว้พระ และล่าสุด เพจดังออกมาชี้แจง แล้วว่า ท่านั่งใส่บาตร ของ ชัชชาติ นั้นเป็น ท่านั่งไหว้พระ แบบโบราณ แล้วจะมีที่มาที่ไป จะจริงหรือเท็จอย่างไร Thainews Online จะพาไปหาคำตอบกันค่ะ

เปิดความหมาย ท่านั่งชัชชาติ มีที่มาอย่างไร

จาก ประเด็น ที่ถูกยกขึ้นมาพูดกันใน โซเชียล กับ ท่านั่งไหว้พระ ของ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่ากทม. คนใหม่ ที่ ชาวเน็ตบางกลุ่มออกมาบอกว่า ไม่เหมาะสม นั้น ได้มีเพจดังออกมาชี้แจงให้กระจ่างแล้วว่า เพจ โบราณนานมา ออกมาให้ความรู้ว่า ท่านั่งกระโหย่ง เป็นท่านั่งปกติและสุภาพที่ใช้นั่งกันมาตั้งแต่โบราณแล้ว เพจดังให้ความรู้ไว้ว่า....

เปิดความหมาย ท่านั่งชัชชาติ มีที่มาอย่างไร

นั่งกระโหย่ง การนั่งไหว้พระแบบสมัยโบราณ ที่ค่อย ๆ เลือนหายไปจากสังคมไทย

เห็นว่ามีคน ดราม่าท่านั่งไหว้พระ ของคุณชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ว่าที่ผู้ว่า กทม. คนใหม่ บางกลุ่มติงว่า ไม่เหมาะสมบ้าง ไม่สมควรบ้าง จริง ๆ แล้วท่านั่งนี้ มีมาตั้งแต่สมัยโบราณย้อนไปไกลถึงสมัยพุทธกาลเลย ในภาษาไทยเรียกการนั่งแบบนี้ว่า “นั่งกระโหย่ง” ในประเทศไทยสมัยก่อนใช้ “นั่งกระโหย่ง” มานานแล้วเป็นเรื่องปกติและสุภาพ แต่เพิ่งมาเปลี่ยนเป็น “ท่าเทพบุตร” และ “ท่าเทพธิดา” ในสมัยรัชกาลที่ ๔ ถึง ๕ นี่เอง

ในสังคมไทยบัญญัติรู้กันว่า “ท่าเทพบุตร” และ “ท่าเทพธิดา” นั้นสุภาพเรียบร้อย พอเห็นพระหรือใครที่นั่งใน “ท่ากระโหย่ง” ประคองอัญชลี ก็มักจะติเตียน แทนที่จะสอบถามและหาความรู้

ท่านั่งสำหรับทำวินัยกรรมของพระภิกษุสงฆ์ในกรณีที่ใช้กราบเรียนและแสดงความเคารพอย่างสูงเรียกขานในภาษาบาลีว่า “อุกฺกุฏิก” (ukkuṭika) และนิยมแปลไทยว่า “นั่งกระโหย่ง” เป็นรูปแบบมาตรฐานในการขอพระอุปัชฌาย์ การขอบรรพชา อุปสมบท และปลงอาบัติ ปรากฏสำนวนในพระวินัยปิฎกหลายแห่งว่า “ปาเท วนฺทิตฺวา อุกฺกุฏิกํ นิสีทิตฺวา อญฺชลิํ ปคฺคเหตฺวา ….” = กราบแทบเท้าแล้วนั่งกระโหย่งประคองอัญชลี

ในอุษาคเนย์ ทางพม่าและกัมพูชา เป็นที่เข้าใจกันว่า อุกฺกุฏิก = ท่านั่งยอง (squatting) โดยฝ่าเท้าราบเต็มบนพื้น สนเท้าชิดก้น เข่าค้ำหน้าอก หลังโก่งงอ แต่ในประเทศไทยปัจจุบันไม่นิยมใช้ท่านี้ หากใช้เป็นท่านั่งคุกเข่าทับสนเท้า หลักฐานชั้นเก่าแก่ในประเทศไทยเช่นภาพจิตรกรรมและประติมากรรมอายุหลายศตวรรษก่อนปรากฏว่าท่านั่งยองในวินัยกรรม และบางพื้นที่ก็ยังมีการใช้ท่านี้อยู่ เรียกได้ว่าเป็นท่าที่ใช้แพร่หลายในประเทศพุทธศาสนาสายเถรวาทแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน

การนั่งแบบพับเพียบ ขัดสมาธิ เทพบุตร เทพธิดา ก็เรียบร้อยดี ไม่มีการปรับอาบัติ ในท่านั่งเหล่านี้ แต่ถ้าเราได้รู้ธรรมเนียมการ “นั่งกระโหย่ง” ตามพระบาลีแสดงไว้ เพื่อสืบทอดต่อไป ให้ชนรุ่นหลังได้รู้ได้เห็นไว้ก็คงไม่เสียหาย เพราะคำว่า อุกฺกุฏิกํ นิสีทิตฺวา ในพระไตรปิฎกมีเยอะมาก และคนไทยเราส่วนมาก ยังไม่รู้ว่านั่งอย่างไร แต่พม่าหรือศรีลังกา มีให้เห็นโดยทั่วไป ไม่ใช่เรื่องแปลก

การนั่งยองๆ เป็นท่านั่งที่อยู่คู่มนุษยชาติมาอย่างยาวนาน ต่อมาโลกตะวันตกได้เปลี่ยนจากนั่งยอง เป็นนั่งราบ จนไม่สามารถนั่งยองเต็มเท้าได้อีก ส่วนโลกตะวันออกยังคงมีการนั่งยองๆ กันอยู่เป็นปกติ

เมืองไทยแต่ก่อนก็นั่งยองๆ ไหว้พระ มาเปลี่ยนเป็นคุกเข่าเทพบุตร-เทพธิดาในช่วง ร.4-5 นี้เอง

เปิดความหมาย ท่านั่งชัชชาติ มีที่มาอย่างไร

ขอบคุณที่มา : เพจ เล่า เรื่อง "พระ "  , เพจ วัฏฏะภิกขุนีปาฏิโมกขะธัมมะติปิฏกะ , ทวิตเตอร์ ขุนเดชวิทยายุทธ