วันเช็งเม้ง ของไหว้เช็งเม้ง และ ข้อห้าม มีอะไรบ้าง

04 เมษายน 2565

วันเช็งเม้ง หรือ เทศกาลเช็งเม้ง เป็นวันที่คนไทยเชื้อสายจีนนิยมเดินทางไป ไหว้บรรพบุรุษที่สุสาน ของไหว้บรรพบุรุษ และ ข้อห้าม ห้ามทำมีอะไรบ้าง

วันเช็งเม้ง หรือ เทศกาลเช็งเม้ง ในปี 2565 นี้ ตรงกับ วันอังคาร ที่ 5 เมษายน เทศกาลเช็งเม้ง ในแต่ละปีจะมีช่วงเวลา 14-16 วัน ที่ลูกหลานเลือกเดินทางไปไหว้ได้ วันนี้ Thainews Online จะพามารู้จัก ประวัติ วันเช็งเม้ง พร้อม ของไหว้วันเช็งเม้ง และ ข้อห้าม วันเช็งเม้ง ไปดูกันคะ

เช็งเม้ง 2565 เริ่มไหว้วันไหน

การไหว้เช็งเม้ง หรือการไหว้บรรพบุรุษตามความเชื่อของคนจีนนั้น จะเริ่มไหว้กันมาเรื่อย ๆ นับตั้งแต่วันที่เรียกว่า “วันชุงฮุง” หรือก็คือช่วงเวลาระหว่างวันที่ 20 – 21 มีนาคม ไปจนถึงช่วงวันที่ 19 – 20 เมษายน โดยจะมีวันเซ็งเม้งตั้งอยู่ตรงกลาง นั่นก็คือวันที่ 4 – 5 เมษายน

วันเช็งเม้ง ของไหว้เช็งเม้ง และ ข้อห้าม

วันเช็งเม้ง 2565 เริ่มไหว้ช่วงไหน 

เทศกาลเช็งเม้ง ในประเทศไทย ถือวันที่ 5 เมษายนเป็นหลัก แล้วนับวันก่อนถึง 3 วัน และเลยไปอีก 3 วัน รวมเป็น 7 วัน (2 - 8 เมษายน) แต่ในปัจจุบันเนื่องจากมีปัญหาการจราจรคับคั่ง เลยขยายช่วงเวลาเทศกาลให้เร็วขึ้นอีก 3 สัปดาห์ (ประมาณ 15 มีนาคม - 8 เมษายน) แต่ในภาคใต้บางพื้นที่ เช่น จังหวัดตรังจะจัดเร็วกว่าที่อื่น 1 วัน ประมาณวันที่ 4 เมษายนของทุกปี

ประเพณีที่สำคัญมากที่สุดของชาวจีน คือ ไหว้บรรพบุรุษที่สุสาน ฮวงซุ้ย เป็นการแสดง ความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ โดยมีอิทธิพลมาจากลัทธิขงจื๊อ ที่เน้นเรื่องความกตัญญูเป็นสำคัญ นิยมไหว้กันช่วงเช้า เวลาไม่เกิน 10.00 น.

วันเช็งเม้ง ของไหว้เช็งเม้ง และ ข้อห้าม

วิธีไหว้เช็งเม้ง

ให้ผู้อาวุโสเป็นผู้นำกราบไหว้และเมื่อเทียนใกล้หมดก้านก็ให้ลูกหลานตีวงล้อมด้วยหวาย เผา กระดาษเงิน กระดาษทอง ฯลฯ เป็นการกำหนดขอบเขตว่าสิ่งเหล่านี้ลูกหลานส่งให้บรรพบุรุษของครอบครัวนั้นๆ เป็นการเฉพาะเพื่อป้องกันการแย่งชิง (ผู้ตีวงล้อม ต้องเป็นลูกหลานเท่านั้น)

เมื่อเสร็จสิ้นพิธีแล้ว บางครอบครัวอาจจะมานั่งล้อมวงทานอาหารกันต่อเพื่อแสดงความสมานสามัคคีแก่บรรพบุรุษ

การทำความสะอาดสุสาน

ลงสีที่ป้ายชื่อให้ดูใหม่ โดยคนตายแล้วลงสีเขียว หรือสีทองขลิบเขียว ขณะที่ป้ายชื่อคนเป็นให้ลงสีแดง แต่ทั้งนี้ ห้ามถอนหญ้า เพราะอาจกระทบตำแหน่งห้าม เช่น ทิศอสูร ทิศแตกสลาย ทิศดาวเบญจภูติ เป็นต้น

สำหรับการตกแต่งสุสานนั้น อาจใช้กระดาษม้วนสายรุ้ง โดยสุสานคนเป็น ให้ใช้สายรุ้งสีแดง ส่วนสุสานคนตาย สามารถใช้สายรุ้งสีอะไรก็ได้ แต่ห้ามปักธงลงบนหลังเต่า เพราะถือว่า เป็นการทิ่มแทงหลุม และบางความเชื่อ ถือว่าเป็นการทำให้หลังคาบ้านของบรรพบุรุษรั่ว

วันเช็งเม้ง ของไหว้เช็งเม้ง และ ข้อห้าม

ของไหว้เช็งเม้ง หรือ ของไหว้เจ้าที่  มีดังนี้

1. เทียน 1 คู่ , ธูป 5 ดอก 

2. ชา 5 ถ้วย

3. เหล้า 5 ถ้วย

4. ของไหว้ต่าง ๆ เช่น ขนมอี๋ ผลไม้ 

5. กระดาษเงิน กระดาษทอง

ของไหว้เช็งเม้ง หรือ ของไหว้บรรพบุรุษ  มีดังนี้

1. ชา 3 ถ้วย

2. เหล้า 3 ถ้วย

3. ของไหว้ต่างๆ เช่น ขนมอี๋ ผลไม้ ขนมถ้วยฟู

4. กระดาษเงิน กระดาษทอง ฯลฯ

5. เทียน 1 คู่ , ธูป ตามจำนวนบรรพบุรุษ ท่านละ 1 ดอก

อาหารที่ใช้ ประกอบพิธีเช็งเม้ง มีดังนี้

1. หมูสามชั้น ต้ม 1 ชิ้น 

2. ไก่ต้ม 1 ตัว

3. น้ำชา

4. ขนม 3 อย่าง คือ ขนมแต่เหลี่ยว , จันอับ , ขนมเต่า , ขนมถ้วยฟู 

5. สับปะรด 2 ลูก (ใช้ทั้งก้านและหัวจุก)

6. เส้นบะหมี่สด

7. ธูปเทียน, กระดาษเงิน, กระดาษทอง, ประทัด

ข้อห้าม วันเช็งเม้ง

1. อย่าไปนั่งที่สุสานคนอื่น และอย่าเดินไปทั่วตามสุสานคนอื่นที่คุณไม่รู้จัก

2. เวลาไปไหว้บรรพบุรุษให้พูดแต่สิ่งดีๆ ห้ามทะเลาะเบาะแว้ง

3. คนที่ไปไหว้ เวลาไปและกลับ คุยกันให้เรียกชื่อ มีการขานรับ ห้ามพูดลอยๆ เช่น กลับบ้านกัน กินข้าวกัน มานั่งด้วยกันซิ

4. เวลาจุดประทัด ปี 2565 ห้ามจุดตำแหน่งทิศเหนือของสุสาน จะเป็นการระเบิดพลังร้าย

วันเช็งเม้ง ของไหว้เช็งเม้ง และ ข้อห้าม

ขอบคุณ / ภาพ จาก : วิกิพีเดีย , TNEWS , โซเชียลมีเดีย