10 เรื่องน่ารู้ เกี่ยวกับ จังหวัดพะเยา แหล่งชีวิต

27 มกราคม 2565

10 เรื่องน่ารู้ เกี่ยวกับ จังหวัดพะเยา ดั่งคำขวัญที่ว่า กว๊านพะเยาแหล่งชีวิต ศักดิ์สิทธิ์พระเจ้าตนหลวง บวงสรวงพ่อขุนงำเมือง งามลือเลื่องดอยบุษราคัม

1.ความเป็นมาของจังหวัดพะเยา  
พะเยา เป็นจังหวัดในภาคเหนือ บริเวณที่ตั้งของตัวเมืองพะเยาในปัจจุบันอยู่ติดกับกว๊านพะเยา เดิมเป็นที่ตั้งของเมือง ภูกามยาว หรือ พะยาว ที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อพุทธศตวรรษที่ 16 โดยกษัตริย์องค์แรกคือ พญาจอมธรรม ซึ่งเป็นราชบุตรองค์หนึ่งจากเมืองหิรัญนครเงินยางเชียงแสน และเป็นบรรพบุรุษของกษัตริย์เมืองพะยาวอีกหลายองค์ เช่น พญาเจือง วีรบุรุษแห่งเผ่าไท-ลาวในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขง และพญางำเมืองซึ่งได้กระทำสัตย์สาบานเป็นไมตรีต่อกันกับพญามังรายแห่งนครพิงค์เชียงใหม่ และพญาร่วงรามคำแหงแห่งสุโขทัย ภายหลังมีการเปลี่ยนแปลงอำนาจ และตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของอาณาจักรล้านนา ในสมัยพญาคำฟู

10 เรื่องน่ารู้ เกี่ยวกับ จังหวัดพะเยา แหล่งชีวิต

2.สัญลักษณ์ประจำจังหวัดพะเยา 
-ตราประจำจังหวัดพะเยา
รูปพระเจ้าตนหลวงวัดศรีโคมคำ วัดศรีโคมคำ พระพุทธรูปคู่เมืองอันเป็นหลักรวมใจของชาวพะเยา ลายกนกเปลว บนพื้นเบื้องหลังองค์พระพุทธรูป หมายถึง ความรุ่งเรืองของ 9 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง ดอกคำใต้  แม่ใจ เชียงคำ เชียงม่วน ปง จุน ภูซาง และภูกามยาว เบื้องล่างริมของดวงตราเป็น กว๊านพะเยา ซึ่งมีชื่อเสียง เป็นรู้จักกันดี และมี ช่อรวงข้าว ประกอบอยู่ทั้งสองข้าง ซึ่งหมายถึง ลักษณะของความเป็นอู่ข้าวอู่น้ำ
-ดอกไม้ประจำจังหวัดพะเยา สารภี
-ต้นไม้ประจำจังหวัดพะเยา  สารภี
-คำขวัญประจำจังหวัดพะเยา กว๊านพะเยาแหล่งชีวิต ศักดิ์สิทธิ์พระเจ้าตนหลวง   บวงสรวงพ่อขุนงำเมือง งามลือเลื่องดอยบุษราคัม

3.ทรัพยากรป่าไม้จังหวัดพะเยา
       ป่าไม้  มีพื้นที่ป่าประมาณ ๑,๘๕๐,๐๐๐ ไร่ ประมาณร้อยละ ๔๗ ของพื้นที่ทั้งหมด ส่วนใหญ่เป็นป่าดงดิบ และป่าไม้เบญจพรรณกระจายอยู่ทั่วไป อำเภอที่มีป่าไม้หนาแน่นได้แก่ อำเภอเชียงคำ อำเภอเชียงม่วน อำเภอปง และอำเภอเมือง ฯ ไม้ที่สำคัญคือไม้สัก ไม้ประดู่ ไม้มะค่า ไม้ชิงชัน ไม้ยาง ไม้เต็ง และไม้รัง เป็นต้น 

10 เรื่องน่ารู้ เกี่ยวกับ จังหวัดพะเยา แหล่งชีวิต

4.ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรของจังหวัดพะเยา
    -ข้าวหอมมะลิ ข้าวหอมมะลิของจังหวัดพะเยาจัดอยู่ในสินค้าระดับ Premium Grade เพราะจะมีเพียงฤดูนาปีเท่านั้น จังหวัดพะเยามีดินดีที่เหมาะสมต่อการเพาะปลูก กล่าวคือ ดินเหนียวใกล้เชิงภูเขาไฟและเป็นดินจากภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว ทำให้ข้าวมีรวงแข็งแรง เมล็ดสมบูรณ์ใหญ่ยาว เมื่อสีข้าวแล้วจะได้ข้าวเมล็ดเรียวยาว ขาวเป็นมัน เมื่อหุงสุกแล้วจะเหนียวนุ่มกลิ่นหอมตามธรรมชาติคล้าย ๆ กับกลิ่นใบเตย แม้ทิ้งไว้นานก็ยังคงสภาพกลิ่นหอม หุงแล้วนุ่ม
    -ลำไย ลำไยส่วนใหญ่ที่ปลูกในจังหวัดพะเยา คือ พันธุ์อีดอ ลักษณะผลใหญ่ รูปทรงแป้นเบี้ยว เนื้อหวานสีขาวขุ่นค่อนข้างเหนียว รสหวาน มีปริมาณน้ำตาลประมาณร้อยละ 18.7 ผลจะแก่เร็วกว่าผลพันธุ์อื่น ต้นเดือนกรกฎาคมก็เก็บผลผลิตได้ นิยมปลูกในทุกอำเภอ แหล่งที่ปลูกมากคืออำเภอเชียงคำและอำเภอจุน ผลผลิตส่วนใหญ่จะผลิตเป็นลำไยอบแห้งทั้งเปลือก
    -ลิ้นจี่ เนื่องจากสวนลิ้นจี่ส่วนใหญ่ของจังหวัดพะเยาปลูกอยู่ระหว่างหุบเขาที่มีอากาศหนาวเย็นเกือบตลอดทั้งปีและปลูกในดินที่มีปริมาณธาตุโพแทสเซียมสูง ส่งผลให้ลิ้นจี่ของจังหวัดพะเยามีลักษณะเด่น คือ ลูกใหญ่ สีผิวสวยตามชนิดพันธุ์ รสชาติหวาน เนื้อแห้งกรอบ ไม่มีน้ำมาก เมื่อแกะรับประทานสด สามารถเก็บเกี่ยวได้ก่อนจังหวัดอื่น ๆ ในภาคเหนือ

5.วัฒนธรรมและประเพณีของจังหวัดพะเยา
        -งานสืบสานตำนานไทยลื้อ จัดขึ้นในช่วงต้นเดือนมีนาคม เพื่อส่งเสริมขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวไท ลื้อ ซึ่งเป็นชนกลุ่มใหญ่ของอำเภอเชียงคำ ในงานมีขบวนแห่วัฒนธรรมที่สวยงาม ในเขตเทศบาลเชียงคำ มีการจำหน่ายอาหารไทลื้อการสาธิตพิธีกรรม ต่างๆเวลากว่า 200 ปี ที่ชาวไทลื้อเข้ามาตั้งรกรากในประเทศไทย

    -ประเพณีไหว้สาพระเจ้าตนหลวง  จัดทุก ๆ ปี เดือนพฤษภาคม เดือน 8 ของภาคเหนือ มีประเพณีแปดเพ็ง หมายถึง วันเพ็ญเดือน 8 ขึ้น 15 ค่ำ ตรงกับวันวิสาขบูชา แต่สำเนียงล้านนาออกว่า “แปดเป็ง” อักษร พ เป็น ป จังหวัดพะเยา ได้กำหนดจัดงานประเพณีนมัสการพระเจ้าตนหลวง วัดศรีโคมคำ วันที่ ๗-๑๓ พฤษภาคม ๒๕๕๗พระเจ้าตนหลวง
สร้าง พ.ศ.2034เสร็จ พ.ศ.2067ตำนานเล่าถึงวันแปดเป็งที่เกี่ยวข้องกับพระเจ้าตนหลวงตั้งแต่เริ่มสร้างจนกระทั่งเสร็จ จึงมีการจัดประเพณีนมัสการพระเจ้าตนหลวงขึ้น ประเพณีแปดเป็ง พระเจ้าตนหลวงเป็นงานประเพณีของ จ.พะเยา ซึ่งจัดว่ายิ่งใหญ่ที่สุดและสำคัญอย่างยิ่งของ จ.พะเยา
    -เวียนเทียนกลางน้ำกว๊านพะเยา หนึ่งเดียวในโลก เนื่องในวันมาฆบูชา 2557  นายชูชาติ กีฬาแปง ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา เปิดเผยว่า "จังหวัดพะเยาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ร่วมกันจัดกิจกรรม เวียนเทียนทางน้ำกลางกว๊านพะเยา หนึ่งเดียวในโลก
    -ประเพณีลอยกระทง (ประเพณียี่เป็ง)   เป็นประเพณี “ลอยกระทง”ที่ยึดถือเป็นธรรมเนียนปฏิบัติสืบทอดกันมาแต่ช้านาน จะตรงกับวันเพ็ญ เดือนยี่เหนือ (เดือนพฤศจิกายน) หัวใจหลักของประเพณีการลอยกระทง โดยเฉพาะในแถบล้านนา จะยึดถือ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือนยี่ หรือ “วันยี่เป็ง”เป็นวันสำคัญในวันนี้จะเป็นวันขอขมาต่อแม่น้ำคงคาและพระแม่คงคา 
ที่ได้กระทำสิ่งไม่ดีต่อแม่น้ำลำคลอง ในช่วงเช้าจะมีการทำบุญตักบาตร และมีเทศน์มหาชาติฉบับล้านนา ตั้งแต่เช้ามืดจนถึงกลางคืน มีการปล่อยโคมลอยขึ้นบนท้องฟ้า ซึ่งชาวล้านนาถือว่าการลอยโคมนี้เป็นการปล่อยเคราะห์ ปล่อยโศก 
    -งานสักการะบวงสรวงพ่อขุนงำเมือง    ชาวพะเยาพร้อมใจร่วมพิธีบวงสรวงพ่อขุนงำเมือง รำลึกถึงเจ้าผู้ครองเมือง ผู้สร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่ 1 ใน 3 อาณาจักรใหญ่ชนเผ่าไทย มาจนถึงปัจจุบันเป็นการรำลึกถึงพ่อขุนงำเมือง กษัตริย์ที่ครองเมืองพะเยา ซึ่งในช่วงที่พระองค์ครองราชย์ บ้านเมืองร่มเย็นเป็นสุข และได้ทรงร่วมกับพ่อขุนรามคำแหง มหาราช และพ่อขุนเม็งราย มหาราช สาบานเป็นพระสหายต่อกันที่เมืองพะเยา งานจัดขึ้นทุกวันที่ 5 มีนาคม ที่บริเวณอนุสาวรีย์พ่อขุนงำเมืองสวนสมเด็จย่า 90 โดยมีพิธีบวงสรวงแบบพราหมณ์ มีขบวนสักการะเทิดพระเกียรติ และการแสดงวัฒนธรรมล้านนา
    
6.ภูมิประเทศจังหวัดพะเยา
    สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดพะเยา เป็นที่ราบสูงและภูเขา มีระดับความสูงตั้งแต่ 300-1,500 เมตร จากระดับน้ำทะเล มีเทือกเขาอยู่ทางทิศตะวันตก ตะวันออกเฉียงเหนือ ตะวันออกเฉียงใต้และตอนกลางของพื้นที่จังหวัด มีเนื้อที่ประมาณ 6,335.06 ตารางกิโลเมตร หรือ 3,959,412 ไร่ มีพื้นที่ขนาดใหญ่ เป็นลำดับที่ 15 ของภาคเหนือ และมีพื้นที่ป่าไม้ (จากภาพถ่ายดาวเทียม ปี 2542) ประมาณ 1,503,174 ไร่ หรือร้อยละ 37.96 ของพื้นที่จังหวัด สภาพเป็นป่าดงดิบและป่าเบญจพรรณ ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ไม้สัก ไม้ประดู่ ไม้มะค่า ไม้ชิงชัน ไม้ยาง ไม้เต็ง ไม้รัง ฯลฯ จังหวัดพะเยามีพื้นอยู่ทั้งในที่ลุ่มแม่น้ำโขงและลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ส่วนที่อยู่ในลุ่มน้ำโขง คือพื้นที่อำเภอเมืองพะเยา อำเภอดอกคำใต้ อำเภอจุน อำเภอปง อำเภอเชียงคำ และอำเภอแม่ใจ ส่วนที่อยู่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา คือ อำเภอปง และ อำเภอเชียงม่วน ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำยม

7.  6 อาหารพื้นเมืองของจังหวัดพะเยา
    1. แก๋งเห็ดห้า
    2. ยำฮก
    3. คั่วถั่วเน่า
    4. ลาบหมู
    5. แก๋งผักหม
    6. ไข่ป่าม
    
8. 7 สถานที่ท่องเที่ยว
    1. ดอยภูลังกา
    2. น้ำตกภูซาง
    3. กว๊านพะเยา
    4. วัดพระนั่งดิน
    5. วัดศรีโคมคำ
    6. อุทยานแห่งชาติดอยภูนาง
    7. ครัวออโรรา
      10 เรื่องน่ารู้ เกี่ยวกับ จังหวัดพะเยา แหล่งชีวิต

9.วัดสำคัญของจังหวัดพะเยา
    1. วัดพระธาตุจอมทอง
    2. วัดนันตาราม
    3. วัดศรีโคมคำ
    4. วัดติโลกอาราม
    5. วัดอนาลโยทิพยาราม
    6. วัดพระธาตุภูขวาง
    7. วัดพระนั่งดิน
    8. วัดเชียงหมั้น

10 เรื่องน่ารู้ เกี่ยวกับ จังหวัดพะเยา แหล่งชีวิต

10. 6 ของฝากขึ้นชื่อจังหวัดพะเยา
    1.  ผ้าทอไทลื้อ
    2.  ปลาส้มพะเยา
    3.  กะละแมโบราณ
    4. ไวน์ห้วยข้าวก่ำ
    5. ตะกร้าผักตบ