เปิด 10 เรื่องน่ารู้ เกี่ยวกับ จังหวัดเชียงใหม่

26 มกราคม 2565

วันนี้ทีมงานไทยนิวส์ ได้รวบรวม 10 เรื่องน่ารู้ เกี่ยวกับ จังหวัดเชียงใหม่ ที่หลายคนอาจไม่เคยรู้มาฝากกันจะมีอะไรบ้าง

1.ความเป็นมาของจังหวัดเชียงใหม่  (คำเมือง: ᨩ᩠ᨿᨦᩲᩉ᩠ᨾ᩵, เจียงใหม่) เป็นจังหวัดหนึ่งทางภาคเหนือของประเทศไทย ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 20,107 ตารางกิโลเมตร ซึ่งใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศ มีประชากรราว 1.76 ล้านคน มากเป็นอันดับ 5 ของประเทศ เชียงใหม่แบ่งการปกครองออกเป็น 25 อำเภอ โดยมีอำเภอเมืองเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางของจังหวัด เมื่อ พ.ศ. 2552 มีการจัดตั้งอำเภอกัลยาณิวัฒนาเป็นอำเภอลำดับที่ 25 ของจังหวัด และลำดับที่ 878 ของประเทศ ซึ่งเป็นอำเภอล่าสุดของไทย

จังหวัดเชียงใหม่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน เคยเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรล้านนาแต่โบราณ มี "คำเมือง" เป็นภาษาท้องถิ่น มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวทั้งด้านประเพณีวัฒนธรรม และมีแหล่งท่องเที่ยวจำนวนมาก โดยเริ่มวางตัวเป็นนครสร้างสรรค์ และได้รับการประกาศเป็นเมืองสร้างสรรค์ของโลกทางด้านหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน[3] เมื่อปี พ.ศ. 2560 ปัจจุบันกำลังพิจารณาสมัครเมืองมรดกโลกจากองค์การยูเนสโก[4] เชียงใหม่ยังถือเป็นศูนย์กลางด้านดาราศาสตร์ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[5] โดยเป็นที่ตั้งของหอดูดาวแห่งชาติและอุทยานดาราศาสตร์แห่งชาติ

 

2.สัญลักษณ์ประจำจังหวัด 

-ตราประจำจังหวัด

 รูปช้างเผือกหันหน้าตรงในเรือนแก้ว

ช้างเผือก หมายถึง ช้างที่เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ นำทูลเกล้าถวายแด่ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และได้ขึ้นระวางเป็นช้างเผือกเอก 

เรือนแก้ว หมายถึง ดินแดนที่พระพุทธศาสนาได้มาตั้งมั่นเจริญรุ่งเรือง จนเคยเป็นสถานที่สำหรับทำสังคายนาพระไตรปิฎก เมื่อ พ.ศ. 2020

-ดอกไม้ประจำจังหวัด  ทองกวาว

-ต้นไม้ประจำจังหวัด  ทองกวาว

-คำขวัญประจำจังหวัด ดอยสุเทพเป็นศรี ประเพณีเป็นสง่า บุปผชาติล้วนงามตา นามล้ำค่านครพิงค์


เปิด 10 เรื่องน่ารู้ เกี่ยวกับ จังหวัดเชียงใหม่

3.ทรัพยากรป่าไม้จังหวัดเชียงใหม่

      จังหวัดเชียงใหม่มีป่าไม้หลายประเภท ประกอบด้วย ป่าดิบเขา ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง และป่าเต็งรังผสมป่าสนเขา และป่าแดง เป็นต้น พื้นที่ป่าไม้ ประกอบด้วย ป่าธรรมชาติ สวนป่า และป่าฟื้นฟูตามธรรมชาติ โดยมีพื้นที่ป่าไม้อยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ 12,222,395 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 69.93 ของพื้นที่ทั้งจังหวัด[11] แบ่งเป็นป่าสงวนแห่งชาติ จำนวน 25 แห่ง อุทยานแห่งชาติ 13 แห่ง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า 4 แห่ง วนอุทยานแห่งชาติ 2 แห่ง และเขตห้ามล่าสัตว์ป่า 1 แห่ง และจังหวัดเชียงใหม่ยังเป็นจังหวัดที่ถือได้ว่ามีพื้นที่เขตเมืองใกล้กับเขตอุทยานแห่งชาติมากที่สุดในประเทศอีกด้วย อุทยานแห่งชาติในจังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่

 

อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์

อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย

อุทยานแห่งชาติแม่ปิง

อุทยานแห่งชาติออบหลวง

อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง

อุทยานแห่งชาติศรีลานนา

อุทยานแห่งชาติดอยเวียงผา

อุทยานแห่งชาติแม่ตะไคร้

อุทยานแห่งชาติผาแดง

อุทยานแห่งชาติแม่โถ

อุทยานแห่งชาติแม่ฝาง

อุทยานแห่งชาติออบขาน

อุทยานแห่งชาติแม่วาง

เปิด 10 เรื่องน่ารู้ เกี่ยวกับ จังหวัดเชียงใหม่

4.ประชากรศาสตร์ 

ศาสนา

ประชากรในจังหวัดเชียงใหม่ นับถือศาสนาพุทธร้อยละ 91.8 ศาสนาคริสต์ร้อยละ 5.6 ศาสนาอิสลามร้อยละ 1.17 ศาสนาฮินดูและสิกข์ร้อยละ 0.02 และอื่น ๆ ร้อยละ 1.41[11]

 

กลุ่มชาติพันธุ์

ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวไท โดยเฉพาะ "ชาวไทยวน" หรือ "คนเมือง" ที่เหลือเป็น ไทใหญ่ ไทลื้อ ไทเขิน และไทยสยาม[29] นอกจากนี้ยังมีชาวอาข่า ลีซอ ชาวมูเซอ ปกาเกอะญอ คะฉิ่น ลัวะ และชาวไทยเชื้อสายจีน เช่น จีนแต้จิ๋ว จีนแคะ และฮ่อ เป็นต้น

 

5.วัฒนธรรมและประเพณีของจังหวัด

     เมืองเชียงใหม่มีประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน คนเชียงใหม่ได้สั่งสมวัฒนธรรมประเพณีสืบทอดมาจากบรรพบุรุษอย่างต่อเนื่อง โดยส่วนใหญ่มีความผูกพันกับพุทธศาสนาและความเชื่อดั้งเดิม ประเพณีที่สำคัญ ได้แก่

-ปีใหม่เมือง (สงกรานต์) จัดขึ้นระหว่างวันที่ 13-15 เมษายนของทุกปี เป็นประเพณีที่สำคัญและยิ่งใหญ่ของชาวเชียงใหม่ แบ่งเป็นวันที่ 13 เป็นวันสังขารล่อง มีขบวนแห่พระพุทธสิหิงค์ และพิธีสรงน้ำพระ วันที่ 14 เป็นวันเน่า ชาวบ้านจะเตียมข้าวของไปวัดและรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่วันต่อไป และวันที่ 15 เมษายน ประเพณีรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ และมีการเล่นสาดน้ำตลอดช่วงเทศกาล

-ประเพณียี่เป็ง จัดขึ้นในช่วงวันลอยกระทงของทุกปี ราวเดือนพฤศจิกายน มีการตกแต่งบ้านเรือนและสถานที่ต่างๆ ด้วยโคมชนิดต่างๆ มีการปล่อยโคมลอย มีการลอยกระทง ประกวดกระทงและนางนพมาศ

-ประเพณีเข้าอินทขิล จัดขึ้นในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน ที่วัดเจดีย์หลวง เป็นการบูชาเสาหลักเมืองโดยการนำดอกไม้ธูปเทียนมาใส่ขันดอก

-เทศกาลร่มบ่อสร้าง จัดขึ้นในเดือนมกราคมของทุกปี ที่ศูนย์หัตถกรรมทำร่มบ่อสร้าง อำเภอสันกำแพง มีการแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน มีการแสดงทางวัฒนธรรม ขบวนแห่ ประเพณีพื้นบ้าน

-มหกรรมไม้ดอกไม้ประดับ จัดขึ้นในอาทิตย์แรกของเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี บริเวณสวนสาธารณะบวกหาด มีขบวนรถบุปผาชาติ และนางงามบุปผาชาติ

-งานไม้แกะสลักบ้านถวาย จัดขึ้นในเดือนมกราคม ที่หมู่บ้านถวาย อำเภอหางดง มีการจำหน่ายและสาธิตการแกะสลักไม้ และหัตถกรรมพื้นบ้าน

-ประเพณีแห่ไม้ค้ำโพธิ์ จัดขึ้นในเดือนเมษายน ในวันที่ 15 เป็นต้นไป ของทุกปี ที่บริเวณตัวเมืองจอมทอง มีขบวนรถจากชุมชน ห้างร้าน กลุ่มต่างๆ กว่า 40 ขบวน แห่ไปตามเมืองจอมทอง อำเภอจอมทอง จนถึง วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมานานกว่า 200 ปี ตามตำนานเกิดขึ้นที่อำเภอเภอจอมทอง ถือเป็นแห่งแรกของประเทศไทยและแห่งเดียวในโลก ประเพณีแห่ไม้ค้ำโพธิ์ กลายเป็นต้นแบบของการแห่ไม้ค้ำสะหลีของชาวล้านนา จนได้รับความนิยมไปทั่วภาคเหนือ และเป็นประเพณีที่เริ่มมีชื่อเสียงโด่งดัง และได้รับความนิยมอย่างมาก

เปิด 10 เรื่องน่ารู้ เกี่ยวกับ จังหวัดเชียงใหม่

6.ภูมิประเทศ

จังหวัดเชียงใหม่มีพื้นที่ 20,107.057 ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ 12,566,911 ไร่ มีพื้นที่กว้างใหญ่เป็นอันดับที่ 1 ของภาคเหนือ และเป็นอันดับ 2 ของประเทศ รองจากจังหวัดนครราชสีมา ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปมีสภาพพื้นที่เป็นภูเขาและป่าละเมาะ มีที่ราบอยู่ตอนกลางตามสองฟากฝั่งแม่น้ำปิง มีภูเขาที่สูงที่สุดในประเทศไทยคือ ดอยอินทนนท์ สูงประมาณ 2,565 เมตร อยู่ในเขตอำเภอจอมทอง นอกจากนี้ยังมีดอยอื่นที่มีความสูงรองลงมาอีกหลายแห่ง เช่น ดอยผ้าห่มปก (อำเภอฝาง) สูง 2,285 เมตร ดอยหลวงเชียงดาว (อำเภอเชียงดาว) สูง 2,170 เมตร ดอยสุเทพ (อำเภอเมืองเชียงใหม่) สูง 1,601 เมตร สภาพพื้นที่แบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะคือ

1.พื้นที่ภูเขา คิดเป็นพื้นที่ประมาณร้อยละ 80 ของจังหวัด ประกอบด้วยทิวเขาอินทนนท์ (หรือถนนธงชัยตะวันออก) ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัด พาดยาวจากทิศเหนือจรดใต้ ตามแนวรอยต่อกับจังหวัดแม่ฮ่องสอน และทิวเขาขุนตาน ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของจังหวัด พาดผ่านในทิศเหนือ-ใต้ พื้นที่ภูเขาส่วนใหญ่เป็นป่าต้นน้ำลำธาร ไม่เหมาะสมต่อการเพาะปลูก ส่วนบางพื้นที่เป็นพื้นที่อยู่อาศัยของชาวเขาชาติพันธุ์ต่าง ๆ

2.พื้นที่ราบลุ่มน้ำและที่ราบเชิงเขา กระจายอยู่ทั่วไประหว่างหุบเขาทอดตัวในแนวเหนือ-ใต้ ได้แก่ ที่ราบลุ่มน้ำปิง ลุ่มน้ำฝาง ลุ่มน้ำแม่งัด เป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะสมต่อการเกษตร

 

7.  7 อาหารพื้นเมืองของจังหวัดเชียงใหม่

1. ข้าวซอย

2. น้ำเงี้ยว 

3. น้ำพริกอ่อง

4. น้ำพริกหนุ่ม

5. ไส้อั่ว

6. แกงฮังเล 

7. ลาบหมูคั่ว

เปิด 10 เรื่องน่ารู้ เกี่ยวกับ จังหวัดเชียงใหม่

8.สถานที่ท่องเที่ยว

-สถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ประกอบไปด้วย

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว อำเภอเชียงดาว

ดอยม่อนจอง อำเภออมก๋อย

ดอยอ่างขาง อำเภอฝาง

ทะเลสาบดอยเต่า อำเภอดอยเต่า

น้ำพุร้อนฝาง อำเภอฝาง

น้ำพุร้อนสันกำแพง อำเภอแม่ออน

ปางช้างแม่แตง อำเภอแม่แตง

ม่อนแจ่ม อำเภอแม่ริม

สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ อำเภอแม่ริม

อุทยานแห่งชาติดอยผ้าห่มปก อำเภอแม่อาย

อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย อำเภอเมืองเชียงใหม่

อุทยานแห่งชาติออบหลวง อำเภอฮอด

อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ อำเภอจอมทอง

เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล อำเภอแม่แตง

-สถานที่ท่องเที่ยวทั่วไป ประกอบไปด้วย

อำเภอเมืองเชียงใหม่

     พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์

    สวนสัตว์เชียงใหม่

    เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี

    อุทยานหลวงราชพฤกษ์

    พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่

    ถนนคนเดิน - ที่สำคัญมีสองแห่งคือ

    ถนนวัวลาย ช่วงระหว่างประตูเชียงใหม่ ถึงประตูหายยา (วันเสาร์)

    ถนนราชดำเนิน ช่วงระหว่างประตูท่าแพ ถึงวัดพระสิงห์ (วันอาทิตย์)

    ถนนนิมมานเหมินท์

    เชียงใหม่ไนท์บาซาร์

อำเภออื่น ๆ

     หมู่บ้านผลิตร่ม บ้านบ่อสร้าง อำเภอสันกำแพง

     ชุมชนหัตถกรรมแกะสลัก บ้านถวาย อำเภอหางดง

     เวียงกุมกาม อำเภอสารภี

     เวียงท่ากาน อำเภอสันป่าตอง

     พระธาตุดอยนก อำเภอสะเมิง

     ทุ่งข้าวบาร์เล่ย์ ศูนย์วิจัยข้าวสะเมิง อำเภอสะเมิง

9.วัดสำคัญของจังหวัดเชียงใหม่

 1. วัดพระธาตุดอยสุเทพ

 2. วัดพระสิงห์วรวิหาร 

 3. วัดศรีสุพรรณ

 4. วัดโลกโมฬี

 5. วัดเจ็ดยอด

 6. วัดสวนดอก

 7. วัดเจดีย์หลวง

 8. วัดพระธาตุดอยคำ

 9. วัดพันอ้น

 10. วัดเชียงมั่น

11. วัดหมื่นเงินกอง 

12. วัดอุโมงค์

13.  วัดหมื่นล้าน 

14. วัดดวงดี

15. วัดดับภัย

16. วัดบ้านเด่น

 

10. 6 ของฝากขึ้นชื่อจังหวัดเชียงใหม่

1. น้ำพริกหนุ่ม แคบหมู

2. หมูยอ แหนม

3. ไส้อั่วเชียงใหม่

4. ผัก ผลไม้

5. ท้อดอง กระเทียมดอง ลำไยอบแห้ง

6.ดอกไม้เมืองหนาว