ดื่มน้ำอัดลมผสมเกลือ ช่วยแก้อาการขาดน้ำจากภาวะท้องเสีย จริงหรือไม่

19 ธันวาคม 2564

ไขข้อสงสัย ดื่มน้ำอัดลมผสมเกลือ ช่วยแก้อาการขาดน้ำจากภาวะท้องเสีย จริงหรือไม่ ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) มีคำตอบ

ตามที่ได้มีข่าวปรากฏในสื่อออนไลน์ต่างๆ ในประเด็นเรื่อง ดื่มน้ำอัดลมผสมเกลือ ช่วยแก้อาการขาดน้ำจากภาวะท้องเสีย ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

ดื่มน้ำอัดลมผสมเกลือ ช่วยแก้อาการขาดน้ำจากภาวะท้องเสีย จริงหรือไม่

จากที่มีการแชร์ข้อความว่าการดื่มน้ำอัดลมผสมเกลือ สามารถบรรเทาอาการอ่อนเพลีย ขาดน้ำจากการท้องเสียได้ ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ชี้แจงว่า การดื่มน้ำอัดลมผสมเกลือนั้นเป็นวิธีที่ไม่แนะนำสำหรับทดแทนน้ำและเกลือแร่ เนื่องจากในน้ำอัดลมมีปริมาณน้ำตาลสูงกว่าผงน้ำตาลเกลือแร่ และยังมีการอัดแก๊ส หากดื่มอาจทำให้เกิดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ หรือทำให้อาการท้องเสียแย่ลงได้

ดื่มน้ำอัดลมผสมเกลือ ช่วยแก้อาการขาดน้ำจากภาวะท้องเสีย จริงหรือไม่

โดยทั่วไปแล้วเมื่อมีการท้องเสีย การดื่มน้ำละลายผงน้ำตาลเกลือแร่ (Oral Rehydration Salt หรือ ORS) เป็นหนึ่งทางเลือกที่ช่วยทดแทนการสูญเสียน้ำจากการอาเจียน หรือท้องเสีย แนะนำให้จิบน้ำละลายผงน้ำตาลเกลือแร่อย่างช้า ๆ แทนน้ำ และควรดื่มให้หมดภายใน 24 ชั่วโมง หากเกินกว่านั้น ไม่แนะนำให้นำมาดื่มต่อ นอกจากนี้เมื่อมีอาการท้องเสีย แนะนำให้พักผ่อนให้เพียงพอ กินอาหารที่ไม่เผ็ด หรือรสจัด และหากอาการไม่ดีขึ้น เช่น รับประทานอาหารไม่ได้ มีอาการคลื่นไส้ อาเจียนรุนแรง อุจจาระมีมูกเลือดปน มีกลิ่นเหม็นผิดปกติคล้ายกุ้งเน่า มีไข้สูงเกินกว่า 38.5 องศาเซลเซียส ควรรีบไปพบแพทย์

 

ดื่มน้ำอัดลมผสมเกลือ ช่วยแก้อาการขาดน้ำจากภาวะท้องเสีย จริงหรือไม่

ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.fda.moph.go.th หรือโทรสายด่วน 1556

บทสรุปของเรื่องนี้คือ : การดื่มน้ำอัดลมผสมเกลือ เป็นวิธีที่ไม่แนะนำสำหรับทดแทนน้ำและเกลือแร่ เนื่องจากในน้ำอัดลมมีปริมาณน้ำตาลสูงกว่าผงน้ำตาลเกลือแร่ และยังมีการอัดแก๊ส หากดื่มอาจทำให้เกิดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ หรือทำให้อาการท้องเสียแย่ลงได้

หน่วยงานที่ตรวจสอบ : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข