เขี้ยวเสือ หลวงพ่อปาน สุดยอดวัตถุมงคลพุทธคุณครอบจักรวาล

09 ธันวาคม 2564

เขี้ยวเสือ หลวงพ่อปานมี พุทธคุณ ครบทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นทางเมตตา แคล้วคลาด คงกระพันชาตรี แต่ที่เด่นที่สุดคือมหาอำนาจ ของดีหายากมีไม่มาก

เขี้ยวเสือหลวงพ่อปาน พระเกจิดังที่รัชกาลที่ 5 ทรงเคารพศรัทธามากส่วนหนึ่งของพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่อง "เสด็จประพาสมณฑลปราจิณ" ที่ทรงกล่าวถึงเสือเขี้ยวแกะของหลวงพ่อปานไว้ว่า "คุณวิเศษที่คนเลื่อมใส คือให้ลงตะกรุด ด้ายผูกข้อมือ รดน้ำมนต์ ที่นิยมกันมากคือ เขี้ยวเสือแกะที่เป็นรูปเสือ เล็กบ้าง ใหญ่บ้าง ฝีมือหยาบๆ

ข่าวที่ร่ำลือกันว่า เสือนั้นเวลาจะปลุกเสกต้องใช้หมูมาล่อ ปลุกเสกเป่าเข้าไปเมื่อไรนั้นเสือจะกระโดดลงไปในเนื้อหมูได้ ตัวพระครูเองเห็นจะได้ความลำบากเหน็ดเหนื่อยในการที่ใครๆ กวนให้ลงโน่นลงนี่ เขาว่าบางทีก็หนีไปอยู่บนเขาโพธิ์ลังกา

คนก็ยังตามไปกวนไม่เป็นอันหลับอันนอน แต่บริวารเห็นจะได้ผลประโยชน์ในการทำอะไรๆ ขาย เวลาแย่งชิงก็ขึ้นไปถึง 3 บาท ว่า 6 บาทก็มี ได้รูปเสือแล้วจึงไปให้พระครูปลุกเสก สังเกตดูอัธยาศัยเป็นคนแก่ใจดีมีกิริยาเรียบร้อย อายุ 70 แล้วยังไม่แก่มาก รูปร่างล่ำสันใหญ่โต" จากพระราชนิพนธ์ข้างต้นจะเห็นได้ว่าการเช่าบูชาเสือหลวงพ่อปานเป็นที่นิยมและมีราคาแพงมากในสมัยนั้น และเป็นที่นิยมมาเนิ่นนาน

เขี้ยวเสือ หลวงพ่อปาน

หลวงพ่อปาน เกิดที่คลองนางหงษ์ ตำบลบางเหี้ย อำเภอบางบ่อ สมุทรปราการ เมื่อปี พ.ศ. 2368 เป็นบุตรของนายปลื้ม และนางตาล โดยหลวงพ่อปานเป็นบุตรคนที่ 3 ในบรรดาพี่น้องทั้งหมด 5 คน

ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดอรุณราชวราราม (วัดแจ้ง) จวบจนเมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ จึงได้อุปสมบท โดยมี ท่านเจ้าคุณศากยมุนี เป็นพระอุปัชณาย์ ท่านศึกษาด้านวิปัสสนากรรมฐานรวมถึงไสยศาสตร์ และได้รับการถ่ายทอดจากคณาจารย์หลายองค์จนเชี่ยวชาญ

หลวงพ่อปาน

เสือของหลวงพ่อปานจึงยิ่งเป็นที่เลื่องลือกันในสมัยนั้นมาก เพราะพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ทรงสนพระทัยในเขี้ยวเสือของหลวงพ่อปาน จึงทำให้พสกนิกรทั่วไปต่างพูดถึงเรื่องความสนพระทัยของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ที่มีต่อเขี้ยวเสือของหลวงพ่อปาน ซึ่งทำให้เขี้ยวเสือของหลวงพ่อปานเป็นที่ต้องการและเสาะแสวงหาของบุคคลทั่วไป

ตั้งแต่ชนชั้นสูงในพระราชสำนักจนถึงชาวบ้านทั่วไป ที่อยากจะมีไว้ครอบครองซักตัว และเมื่อมาถึงปัจจุบันจึงเป็นของอันล้ำค่าหาได้ยากมากในปัจจุบัน เพราะท่านสร้างจากเขี้ยวเสือจริง และสร้างไว้น้อยมาก เมื่อใครได้ไปก็ไม่อยากให้ใครรู้ว่าตัวเองมี จึงไม่ค่อยปรากฏให้เห็นมากนัก

เขี้ยว

สำหรับเขี้ยวเสือของหลวงพ่อปาน ท่านแกะมาจากเขี้ยวเสือโคร่ง เป็นรูปเสือนั่งชันเข่ามีทั้งหุบปาก และอ้าปาก เท่าที่ทราบท่านใช้ช่างแกะอยู่ 5 คน คือ ช่างฟัก ช่างชม ช่างนิล ช่างมาก และช่างมา จึงมีรูปร่างไม่เหมือนกัน เสือเขี้ยวแกะ มักมีขนาดไม่ใหญ่มาก มีตากลม ขาหน้าทั้งสองใหญ่ และเล็บจิกลงบนพื้น

จุดสำคัญ ให้ดูรอยจาร โดยท่านจะจาร ตัวอุ มีทั้งหางตั้งขึ้นและลงที่ขาหน้า และลงอักขระคล้ายเลข ๓ หรือ เลข ๗ ตรงสีข้าง

เขี้ยวเสือ

ส่วนใต้ฐานท่านจะจาร "ยันต์กอหญ้า" (นะขมวด) ถ้าเสือตัวใหญ่ท่านจะลง ยันต์กอหญ้า 2 ตัวตรงข้ามกัน และลงตัว ฤ ฤา พร้อมกับ ตัวอุณาโลม บางตัวมีรอยขีด 2 เส้นขนาดกันดูให้ดีจะเห็นเป็นเส้นลึกและคมชัด จนมีคำกล่าวในการดูเสือเขี้ยวแกะของหลวงพ่อปานว่า

"เสือเขี้ยวโปร่งฟ้า (เขี้ยวกลวง) ตาลูกเต๋า ยันต์กอหญ้า หน้าเหมือนแมว หูเหมือนหนู"

ซึ่งมีทั้งแบบเขี้ยวซีกและเต็มเขี้ยว เสือยุคแรกของท่านเป็นเสือเขี้ยวซีก ให้คุณด้าน มหาอำนาจ ส่วนเสือตัวเล็กๆ ที่แกะจากปลายเขี้ยวเรียกว่า เสือสาลิกา ซึ่งนิยมเลี้ยงไว้ในตลับสีผึ้งทาปาก

เขี้ยวเสือ วัตถุมงคล เสริมอำนาจ บารมี

ขอบคุณ : Tnews / วิกิพีเดีย ภาพจาก : โซเชียลมีเดีย / sanook