เปิดตำนาน "ยันต์นวหรคุณ" หลวงพ่อเปิ่น

19 พฤศจิกายน 2564

ตำนานการสักยันต์ของ "หลวงพ่อเปิ่น" เป็นพระเกจิดังองค์หนึ่งของเมืองไทยที่มีผู้คนรู้จักและพากันหลั่งไหลมา "สักยันต์" กันมากที่สุดแห่งหนึ่ง

การสักมีลักษณะที่สอดแทรกไว้ด้วยความเชื่อและพิธีกรรมหลายอย่าง เช่น ก่อนทำการสักจะต้องมีการทำพิธีไหว้ครู ในการสักนั้นก็จะประกอบด้วยการร่ายเวทมนต์ โดยอาจารย์สักจะถูผิวหนังของผู้มาสักทิ้งก่อนขณะสักลายหรือสักยันต์ และหลังจากสักเสร็จแล้ว อาจารย์สักแต่ละคนจะมีรูปแบบของลวดลายเป็นของตนเอง

ผู้ที่ต้องการจะสักสามารถเลือกลายที่อาจารย์มีอยู่ได้ตามต้องการ ส่วนมากจะเป็นสัตว์ในเทพนิยาย และ เป็นอักขระขอมและเลขยันต์ อาจจะสักลายทั้งสามประเภทผสมกัน ในประเทศไทยอาจจะมีมาแต่โบราณแต่จะมีมาตั้งแต่สมัยใดไม่มีหลักฐานชัดเจน

หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ จังหวัดนครปฐม

การสักยันต์เพื่อให้ อยู่ยงคงกระพันชาตรีนั้นเชื่อว่ามีมานานแล้วดังปรากฎในวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผนและวรรณกรรมอื่นๆ แต่การสักมักมองว่าเป็นเรื่องของนักเลง ถูกมองไปในทางลบทำให้ศิลปะบนผิวหนังประเภทนี้เกือบจะสูญไปจากสังคมไทย เหตุผลที่การสักยังคงมีอยู่คือ หลายๆ คนยังเชื่อว่าการสักจะทำให้มีโชคและอยู่ยงคงกระพันพ้นอันตราย

ตำนานการสักยันต์ของหลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ จังหวัดนครปฐม เป็นพระอาจารย์องค์หนึ่งของเมืองไทยที่มีผู้คนรู้จักและพากันหลั่งไหลมาสักยันต์กันมากที่สุดแห่งหนึ่ง กระทั่งสักไม่ทันต้องประสิทธิ์วิชาให้พระสงฆ์ที่เป็นศิษย์หลายรูป ทำการสักแทน และเมื่อสักแล้วหลวงพ่อต้องเสกเป่าให้อีกครั้งหนึ่งเพื่อให้ผู้ที่มาสักเกิดความมั่นใจยิ่งๆ ขึ้น

รูปอักขระเลขยันต์ที่หลวงพ่อเปิ่นสักให้นั้นมีความหมายทุกตัวอักขระ รูปลักษณ์ต่างๆ หลวงพ่อจะประสิทธิ์ประสาทให้แก่ทุกคนที่มาขอรูปยันต์ที่สักให้อาจจะไม่เหมือนกันหมดแล้วแต่หลวงพ่อจะดูว่าผู้นั้นเป็นใครมาจากไหน อักขระรูปลักษณ์ที่สักกันส่วนมากจะใช้ คือ

1.ยันต์หอมเชียง (พระพุทธ ๑๐๘ )

2.ยันต์เก้ายอด

3.ยันต์งบน้ำอ้อย

4.ยันต์แปดทิศ

5.ยันต์สายสังวาลย์

6.ยันต์หนุมานออกศึก

7.ยันต์หนุมานอมเมือง ฯลฯ

ยันต์เก้ายอด (ยันต์นวหรคุณ)

ลายสักดังกล่าวจะต้องถูกสักอยู่ในตำแหน่งที่ถูกที่ควร ไม่เช่นนั้นความขลังจะไม่เกิด โดยมากผู้มาสักประสงค์จะให้ลายสักอยู่ภายในร่มผ้ามากที่สุด ตำแหน่งที่นิยมสักเรียงตามลำดับดังนี้คือ หลัง หน้าอก คอ ศีรษะ ไหล่ แขน ชายโครง หน้า มือ และหัวเข่า

แวดวงคนสักลาย เนื่องจากวัตถุประสงค์ของการสักคือเพื่อผลทางไสยศาสตร์ จึงต้องสักโดยครูอาจารย์ที่มีวิชาอาคมศักดิ์สิทธิ์โดยเฉพาะเท่านั้น ฆราวาสหรือบุคคลธรรมดาที่ไม่มีวิชาความรู้ทางด้านนี้จะไม่ได้รับการยอมรับ

ครู อาจารย์และช่างสักส่วนใหญ่จึงเป็นพระภิกษุ หรือพระเกจิดังที่ได้รับการยอมรับนับถือจากบุคคลทั่วไป และความศักดิ์สิทธิ์ของการสักก็มักจะได้รับการทดสอบจนเห็นผลเป็นที่ร่ำลือมาแล้ว

พานครู

ขั้นตอนการสักยันต์ เริ่มด้วยหาดอกไม้ ธูปเทียน และค่ายกครู ๒๔ บาท มาขึ้นครูกับพระอาจารย์ที่สัก จากนั้นก็เลือกยันต์รูปลักษณ์ต่างๆ อาทิ ยันต์เก้ายอด ฯลฯ เครื่องมือที่ใช้ในการสักยันต์ ใช้เหล็กแหลม ปัจจุบันได้ใช้ก้านร่มผ่าปลายฝนปลายจนแหลม

การสักยันต์ลงอักขระเลขยันต์มีอยู่ ๒ อย่าง คือ การสักน้ำมัน ส่วนมากจะใช้น้ำมันจันทร์หอมแช่ว่านหรือน้ำมันงาขาว บางสำนักจะผสมน้ำมันช้างตกมัน น้ำมันเสือโคร่ง การสักน้ำมันคนสมัยนี้นิยมกันมากเพราะเป็นการสักยันต์โดยร่างกายไม่มีลวดลายให้เห็น เมื่อรอยสักตกสะเก็ดเนื้อก็สมานเป็นเนื้อเดียวกัน

ยันต์ บูชา เครื่องรางของขลัง

ยันต์เก้ายอด (ยันต์นวหรคุณ) ยันต์นี้ถือว่าเป็นยันต์หลักและอาจถือเป็นลายสักลายแรกของผู้มาสักใหม่ ความหมายของยันต์หมายถึงคุณวิเศษของพระพุทธเจ้าทั้ง 9 ประการ ซึ่งแสดงให้เห็นในรูปของยอดแหลมทั้ง 9 ยอด ถือเป็นยันต์ครู จะเน้นหนักไปทางเมตตามหานิยม แคล้วคลาด ลายสักยันต์นี้ดีในการป้องกันศาสตราวุธทั้งหลาย

การสักยันต์ไม่ว่าจะเป็นการสักลวดลายต่าง ๆ ตามความเชื่อทางไสยศาสตร์หรือการลงอักขระลงยันต์ เป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของชาวบ้านที่สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน เป็นเรื่องที่น่าศึกษาค้นคว้าอย่างยิ่ง ก่อนที่วัฒนธรรมนี้จะสูญไปจากประเทศไทยของเรา

บทความนี้ ไม่ได้มีเจตนาสื่อไปในทางยุยงหรือส่งเสริม โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน

ขอบคุณข้อมูล/ภาพจาก : TNEWS / วัดบางพระ จ.นครปฐม (หลวงพ่อเปิ่น) / วิกิพีเดีย / โซเชียล