ราชสีห์ สัตว์มหัศจรรย์ในจิตนาการของอินเดียและวรรณกรรมไทย

05 พฤศจิกายน 2564

สัตว์หิมพานต์ สัตว์มหัศจรรย์ในจินตนาการของอินเดียโบราณที่มีความเกี่ยวเนื่องกับศาสนา รวมทั้งมีอิทธิพลอย่างมากต่อวงการศิลปะ และวรรณกรรมไทย

ราชสีห์ สัตว์ในป่าหิมพานต์ นับได้ว่าส่วนใหญ่จัดอยู่ในหมวดสิงห์ คงเป็นเพราะสิงห์เป็นสัตว์ที่ดูสง่า และน่าเกรงขาม มีความยิ่งใหญ่ สิงห์ในตำนานหิมพานต์นั้นสามารถจำแนกออกได้เป็น 2 ชนิดหลักๆ คือ ราชสีห์ และ สิงห์ผสม ภายในสระอโนดาตประดับด้วยสัตว์หิมพานต์ตระกูลต่างๆ เช่น ช้าง 10 ตระกูล ราชสิงห์ 4 ตระกูล เป็นต้น 

วันนี้ Thainews ขอนำเสนอเรื่องสัตว์มหัศจรรย์ในป่าหิมพานต์ ที่มีเรื่องราวน่าสนใจ จะขอยกเรื่องราวของ ราชสีห์ ราชสีห์เป็นสัตว์ที่มีพละกำลังสูง ราชสีห์นั้นมีอยู่ด้วยกัน 4 ชนิด ส่วนสิงห์ผสมนั้นมีอยู่มากมาย โดยปกติสิงห์ผสมคือสัตว์ประสมที่มีลักษณะของ ราชสีห์กับสัตว์ประเภทอื่น 

ราชสีห์ สัตว์ในป่าหิมพานต์

1. บัณฑุราชสีห์ เป็น 1 ใน 4 ราชสีห์แห่งป่าหิมพานต์ บัณฑุราชสีห์มีผิวกายสีเหลืองและเป็นสัตว์กินเนื้อ บัณฑุราชสีห์จัดได้ว่าเป็นสัตว์นักล่าขนาดใหญ่ สัตว์ที่ถูกล่า มีตั้งแต่สัตว์ประเภท กวาง ควาย ช้าง หรือแม้แต่มนุษย์ ในเอกสารที่มีเรื่องราวเกี่ยวกับป่าหิมพานต์ระบุว่า มี ร่างกาย เหมือนสีใบไม้เหลืองและใหญ่เท่ากับวัวหนุ่ม

ราชสีห์ สัตว์ในป่าหิมพานต์

2. กาฬสีหะ เป็น ๑ ใน ๔ ราชสีห์แห่งป่าหิมพานต์ นอกจากนี้ยังเป็นราชสีห์ที่กินพืชเป็นอาหารเท่านั้น กาฬสีหะมีกายดำสนิท และใหญ่ราวโคหนุ่ม (คำว่า "กาฬ" แปลว่าดำ)

กาฬสีหะ ราชสีห์ ในป่าหิมพานต์

3. ไกรสรราชสีห์ เป็น ๑ ใน ๔ ราชสีห์แห่งป่าหิมพานต์ ในตำนานกล่าวว่าไกรสรราชสีห์เป็นสัตว์ที่มีพละกำลังแรงกล้า เป็นนักล่าชั้นเยี่ยมและกินสัตว์ใหญ่น้อยเป็นอาหาร

ไกรสรราชสีห์ ราชสีห์ สัตว์ในป่าหิมพานต์

4. ติณสีหะ  ติณสีหะมีกายสีแดง เป็นราชสีห์อีกชนิดที่กินแต่พืชเป็นอาหาร ลักษณะเด่นอีกอย่างของ ติณสีหะคือมีเท้าเป็นกีบแบบม้า

ติณสีหะ ราชสีห์ สัตว์ในป่าหิมพานต์

ป่าหิมพานต์ หรือ หิมวันต์ เป็นป่าในวรรณคดีและความเชื่อในเรื่องไตรภูมิตามคติศาสนาพุทธและฮินดู มีความเชื่อว่า ป่าหิมพานต์ตั้งอยู่บนเชิงเขาพระสุเมรุ ป่าหิมพานต์มีเนื้อที่ประมาณ 3,000 โยชน์ (1 โยชน์ เท่ากับ 10 ไมล์ หรือ 16 กิโลเมตร) วัดโดยรอบได้ 9,000 โยชน์ ประดับด้วยยอด 84,000 ยอด มีสระใหญ่ 7 สระ คือ

1. สระอโนดาต
2. สระกัณณมุณฑะ
3. สระรถการะ
4. สระฉัททันตะ
5. สระกุณาละ
6. สระมัณฑากิณี
7. สระสีหัปปาตะ

บรรดาสระใหญ่ทั้ง 7 นั้น สระอโนดาตแวดล้อมไปด้วยภูเขาทั้ง 5 ที่จัดเป็นยอดเขาหิมพานต์ ยอดเขาทุกยอดมีส่วนสูงและสัณฐาน 200 โยชน์ กว้างและยาวได้ 50 โยชน์

ในป่าหิมพานต์นี้เต็มไปด้วยสัตว์นานาชนิด ซึ่งล้วนแปลกประหลาดต่างจากสัตว์ที่มนุษย์ทั่วไปรู้จัก เป็นสัตว์หลายอย่างผสมกันแล้วตั้งชื่อขึ้นใหม่ สัตว์เหล่านี้เกิดจากจินตนาการของจิตรกรไทยโบราณที่ได้สรรค์สร้างภาพจากเอกสารเก่าต่าง ๆ บรรดาสัตว์ทั้งหมดที่อ้างถึงนี้เป็นที่รู้จักในนามของ สัตว์หิมพานต์

บทความข้างต้นนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน

ขอขอบคุณ : TNEWS , วิกิพีเดีย
ภาพถ่ายโดยคุณ : Megaman X บริเวณรอบพระเมรุมาศ