ตัวช่วยสุขภาพดี เคล็ดลับ ดื่มน้ำเปล่า อย่างไรให้เพียงพอ

21 กรกฎาคม 2564

น้ำเปล่าถือได้ว่าเป็นสิ่งที่สำคัญกับร่างกายมาก มีการศึกษาพบว่า การดื่มน้ำเพียงพอช่วยให้ส่งเสริมความจำและอารมณ์ ช่วยลดความกังวลได้และอาจช่วยลดอาหารปวดหัวได้เช่นกัน ทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงของการติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะและช่วยป้องกันการเกิดนิ่วได้

ในแต่ละวันทุกคนดื่มต้องการน้ำเปล่าไม่เท่ากัน เนื่องจากปริมาณน้ำที่ควรได้รับต่อวันขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายและกิจกรรมที่ทำในแต่ละวันของแต่ละคน โดยปริมาณน้ำที่แนะนำให้บริโภคควรได้รับคือ 100 – 150 มิลลิลิตร ต่อ 100 กิโลแคลอรี่ของพลังงานที่ได้รับต่อวัน โดยผู้ใหญ่จะต้องการน้ำมากกว่าเด็กและจะลดลงเมื่อมีอายุมากขึ้น  และ เพศชายจะมีความต้องการน้ำมากกว่าเพศหญิง

น้ำเปล่า

ภาวะขาดน้ำ เป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้เมื่อร่างกายได้รับปริมาณน้ำไม่เพียงพอกับที่ได้สูญเสียไป โดยร่างกายมีการสูญเสียเป็นประจำอยู่แล้วจาก การหายใจ เหงื่อ ปัสสาวะ  แต่หากร่างกายมีภาวะที่สูญเสียน้ำมากกว่าปกติ เช่น เหงื่อออกมาก เป็นไข้สูง อาเจียน ท้องเสีย หรือปัสสาวะบ่อย ๆ แล้วไม่ได้มีการดื่มน้ำเพื่อเป็นการทดแทนส่วนที่สูญเสียไป ก็อาจจะทำให้ร่างกายเกิดภาวะขาดน้ำ  และส่งผลให้ร่างกายเหนื่อย อ่อนเพลีย สับสน งุนงง และในบางรายอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต โดยภาวะขาดน้ำสามารถเกิดได้ในทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะ กลุ่มทารกและเด็ก ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรัง หรือผู้ที่ทำงานหรือออกกำลังกายกลางแจ้ง ดังนั้นการดื่มน้ำสะอาดเป็นประจำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย จึงเป็นที่ช่วงป้องกันภาวะดังกล่าวนี้ได้ แต่หากร่างกายมีการสูญเสียมากกว่าปกติก็จำเป็นที่จะต้องดื่มน้ำเปล่า หรือน้ำเกลือแร่เพิ่มขึ้นเพื่อทดแทนน้ำและเกลือแร่ที่สูญเสียไปนั่นเอง

สัญญาณเบื้องต้นที่แสดงเมื่อเราดื่มน้ำไม่เพียงพอ   มีหลากหลายรูปแบบดังนี้
- กระหาย 
- ปัสสาวะมีสีเหลืองเข้ม
- ปากแห้ง ลิ้นแห้ง
- ผิวแห้ง
- เหนื่อย หอบ ใจเต้นเร็ว
- บางรายอาจมีอาการ ง่วง เพลีย งุนงง สับสน

น้ำเปล่า

ควรดื่มเมื่อไหร่ 
- หลังจากตื่นนอน กระตุ้นการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกายและระบบการขับของเสีย
- เมื่อหิวน้ำ ถ้ารู้สึกหิวน้ำแปลว่าร่างกายเริ่มขาดน้ำ จึงควรดื่มน้ำสม่ำเสมอระหว่างวัน
- ก่อนนอน ให้ระบบการทำงานของร่างกายสมดุล และมีประสิทธิภาพขณะหลับ
- เมื่ออากาศร้อน ทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือเสียเหงื่อมากจากการทำงานหรือการออกกำลังกาย

ดื่มอย่างไร
- ดื่มน้ำเปล่าที่สะอาด ปราศจากสารเจือปน
- ดื่มน้ำโดยการจิบทีละน้อยตลอดทั้งวัน
- ระวังการดื่มครั้งเดียวในปริมาณมาก เพราะจะทำให้ไตทำงานหนักขึ้น เลือดเจือจาง หรือปริมาณ
น้ำในเซลล์มากจนเกิดอาการบวมน้ำ อาจเกิดพิษต่อเซลล์ วิงเวียนหรือปวดศีรษะ เป็นต้น
- หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำอย่างรวดเร็ว เพราะจะมีผลกระทบต่อการทำงานและการสูบฉีดของหัวใจ

ขอบคุณข้อมูล สสส.