เหมรย ความเชื่อโบราณ มีความเป็นมาอย่างไร

24 มกราคม 2567

ตามติดกระแสหนัง เหมรย เป็นหนังไทยระทึกขวัญจากแดนใต้ ภาพยนต์โดย เอกชัย ศรีวิชัย และความเชื่อโบราณ เหมรย คืออะไร มีความเป็นมาอย่างไร วันนี้รายการปาฏิหาริย์ ช่วง เจนจิราหามาเล่า จะพาไปทำความรู้จักก่อนดูหนังเรื่อง เหมรย กันค่ะ

เหมรย ความเชื่อโบราณ มีความเป็นมาอย่างไร จากการค้นหาคำว่า ประเพณีแก้เหมรย พบว่า ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ลงรายละเอียดไว้ช่วงวันที่ 15 กันยายน 2564 ประเพณีแก้เหมรย คือ คนสมัยโบราณมักเชื่อถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เมื่อนับถือแล้วก็บนบานศาลกล่าว เมื่อของหาย เจ็บไข้ได้ป่วย สุขทุกข์ได้ยาก เมื่อได้ตามความประสงค์ที่เขาบนไว้ แล้วก็ทำพิธีแก้โดยหมอ การบนนี้มีการบนหลายอย่าง เช่น บนว่าแก้ด้วยโนรา หนังหรือแก้ธูปแก้เทียน หมากพลู จุดลูกประทัด แก้ทวด ติดทองพระ

เหมรย ความเชื่อโบราณ มีความเป็นมาอย่างไร

การแก้เหมรย หนัง โนรา ใช้ตั้งที่สิบสอง คือ แต่งสำรับสิบสองที่แก้ทวดด้วยไก่ปากทอง คือ เอาแหวนใส่ปากไก่

อุปกรณ์ที่ใช้ทำพิธีแก้เหมรย

1. ธูปเทียน

2. ข้าวตอก ดอกไม้

3. ข้าวเหนียว ข้าวจ้าว

วิธีทำ

ชุมนุมเทวดา เชิญให้มากินข้าวของที่เจ้าของเหมรยเตรียมไว้ เมื่อแก้แล้วก็ตัดขาดกันที่บนไว้ เมื่อพูดจบเป็นอันเสร็จพิธี ถ้าบนไว้แล้วไม่แก้บางรายจะเจ็บไข้ไม่สบาย เมื่อบนแล้วก็ต้องแก้ ขอบคุณ ที่มา : พิทยา บุษรารัตน์.(2527).ประเพณีและพิธีกรรมจังหวัดพัทลุง

เหมรย ความเชื่อโบราณ มีความเป็นมาอย่างไร

สำหรับ เหมรย ในภาพยนต์ไทย บน บาป สาป แช่ง กำหนดฉาย : 25 มกราคม 2567 โดย ตัวเรื่องย่อได้บอกเล่าเรื่องราวของครอบครัวหนึ่งที่ได้ทำการบนบานสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อขอทายาทสืบสานศิลปะโนรา แต่เมื่อเวลาผ่านไปครอบครัวนี้ไม่ได้ทำตามคำสัตย์สาบาน จึงนำมาซึ่งความสยองขวัญในการทวงคืนสัญญาที่ต้องแลกมาด้วยชีวิต ในตัวหนังเองได้ให้ความรู้เกี่ยวกับเหมรย ไว้ว่า การบนบาน (เหมรฺย) กับครูหมอโนรา ทำไมถึงต้องใช้ราชครูโนรา (โนราใหญ่) ในการตัดเหมรฺย ถึงจะขาดกัน

การบนบานในภาษาทางภาคใต้จะเรียกกันว่า "เหมรฺย" หรือบางพื้นที่เรียกกันว่า "เหลยบน" ซึ่งการบนบานจะมีด้วยกัน 2 ชนิด คือ 

1. การบนบานปากเปล่า เรียกกันว่า "เหมรฺยปาก" และ
2. การบนบานด้วยวิธีนำเครื่องบูชาใส่ห่อกาบหมาก เรียกกันว่า "เหมรฺยห่อ

ตามคตินิยมแล้ว หากผู้บนบานบนด้วยอะไรต้องแก้ด้วยอย่างนั้น การบนด้วยโนราก็เช่นกัน เมื่อคำบนบานได้ผลก็ต้องมีการนำโนรามารำแก้บน ซึ่งการรำแก้บนของโนรามีตั้งแต่การรำที่มีเพียงเครื่องดนตรี 5 ชิ้น รำเสร็จตัดเหมรฺย หรือ แก้บน ไปจนถึงการรำแก้บนแบบเวที มีแสง สี เสียง ในการแสดง หากเมื่อใดขึ้นชื่อว่ามีการบนบานด้วยโนรา ผู้ที่แก้บนนั้นย่อมเป็นใครไปไม่ได้นอกจากโนรา และไม่ใช่ว่าโนราทุกคนจะมีศักดิ์และสิทธิ์ในการแก้บน ผู้ที่มีสิทธิ์ในการทำพิธีตัดเหมรฺยแก้บนคือ ราชครูโนราประจำคณะ หรือ โนราใหญ่ภายในคณะ ต้องเป็นโนราที่ผ่านการผูกผ้าตัดจุก หรือ บวชโนรา มาแล้วเท่านั้นจึงจะตัดเหมรฺยได้ เหตุใดต้องใช้โนราใหญ่ หรือ ราชครูโนรา ในการตัดเหมรฺย เพราะพิธีการตัดเหมรฺยในขนบพื้นถิ่นภาคใต้นั้นใช้คาถาอยู่บทหนึ่ง เรียกกันว่า "คาถาตัดหนวด" เป็นคาถาในการตัดเหมรฺย ไม่ว่าจะเป็นการแก้บนตามสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ทั่วไป หรือแม้แต่โนราโรงครู ราชครูโนราเจ้าพิธี ต้องใช้คาถาตัดหนวดเป็นคาถาในการตัดพันธสัญญาบนบานทั้งสิ้น

สาเหตุที่ต้องใช้ ราชครูโนรา หรือ โนราใหญ่ ในการตัดพันธสัญญา หรือตัดคำบนบาน เนื่องจากราชครูโนรานั้นมีศักดิ์ในการประกอบพิธีกรรมในด้านโนรา เพราะผ่านการผูกผ้าตัดจุก ครอบเทริด เป็นราชครูโนราแล้ว อีกทั้งยังมีสิทธิ์ในการประกอบพิธี เนื่องจากได้ผ่านการอุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้ว ตามความเชื่อและขนบประเพณีของชาวใต้จะถือว่าบุรุษที่ผ่านการอุปสมบทจะใช้มนตร์คาถาต่าง ๆ ได้ครบถ้วนและมีอานุภาพมากกว่าคนทั่วไปใช้

เหมรย ความเชื่อโบราณ มีความเป็นมาอย่างไร

ไปติดตามรับชม เรื่อง เหมรฺย บน บาป สาป แช่ง ได้ในโรงภาพยนต์ กำหนดฉาย : 25 มกราคม 2024 ขอบคุณภาพจาก : เฟซบุ๊ก M Studio ข้อมูลจาก คุณ ศิรินภา ณ ศรีสุข และ ดร. อุมารินทร์ ตุลารักษ์ วารสารวิจัยเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน มหาวิทยาราชภัฏมหาสารคาม เรื่อง พลวัตและการสื่อสารความหมายทางวัฒนธรรมของพิธีกรรมตัดเหมรยแก้บน อำเภอเขาพนม จังหวังกระบี่ และอำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช