ไหว้พระพิรุณขอพรด้านไหน และมีข้อห้ามอะไรบ้าง

22 กันยายน 2566

เทพพระพิรุณคือใคร วันนี้ทีมข่าวไทยนิวส์และปาฏิหาริย์จะขอพาทุกคน มาทำความรู้จัก พระพิรุณ เทพเจ้าแห่งฝน มีความเป็นมาอย่างไร ไหว้พระพิรุณขอพรด้านไหน และมีข้อห้ามอะไรบ้าง ไปดูกันคะ

เทพพระพิรุณคือใคร ในช่วงนี้ฝนตกบ่อยทำให้นึกถึงเรื่องราวที่เคยได้ยินและเคยได้ฟังมา เด็กสมัยนี้ไม่รู้ว่าจะรู้จักพระพิรุณอยู่ไหม ทีมข่าวไทยนิวส์และปาฏิหาริย์จึงขอพาย้อนกลับไปทำความรู้จัก พระพิรุณ กันให้มากขึ้น ว่า พระพิรุณคือใคร ไหว้พระพิรุณขอพรด้านไหน และมีข้อห้ามอะไรบ้าง ไปดูกันเลย

ไหว้พระพิรุณขอพรด้านไหน และมีข้อห้ามอะไรบ้าง

ไหว้พระพิรุณขอพรด้านไหน เทพพระพิรุณคือเทพแห่งสายฝนและความอุดมสมบรูณ์ ถ้าไม่มีสายฝน ไม่มีน้ำ ก็จะไม่มีการเติบโตของพืชธัญญาหาร หรือชีวิต มนุษย์จำเป็นต้องใช้น้ำอาบกินให้พืชได้เติบโตให้ชีวิตได้ดำรงอยู่ เทพองค์นี้มีความสำคัญอย่างยิ่ง แม้ธรรมชาติจะเป็นธรรมชาติแต่ก็มีเรื่องของเทพเทวดามาดูแลตรงนี้มาเกี่ยวข้อง บางคนอาจจะคิดว่าเป็นความเชื่อ แต่สำหรับผู้ที่สัมผัสเข้าถึงจิตวิญญาณก็จะรู้ดีว่า หน่วยต่างๆ ในธรรมชาตินั้นก็จะมีเทวดาดูแลควบคุม

ไหว้พระพิรุณขอพรด้านไหน และมีข้อห้ามอะไรบ้าง

ตำนานพระพิรุณ

สมัยฤคเวท พระวรุณ เป็นเทพผู้เป็นใหญ่คู่กับพระอาทิตย์ หรือ พระมิตระ พระอาทิตย์มีหน้าที่ปกครองกลางวัน พระวรุณมีหน้าที่ปกครองกลางคืน เรียกว่า "เจ้าฟ้าอันอยู่ทั่วไป" มีความศักดิ์สิทธิ์และเป็นที่เคารพยำเกรง เป็นผู้บำรุงเทวโลกและมนุษยโลกด้วยน้ำ พระวรุณมีเทวทูตที่คอยจดบัญชีกรรมส่งให้พระยม พระองค์ทรงเป็นผู้รักความสัตย์และเกลียดความเท็จ

มีตำนานเล่าว่า ครั้งหนึ่ง พระเจ้าหริศจันทร์ทำพิธีขอบุตรจากพระวรุณ และสัญญาว่าเมื่อบุตรโตขึ้น จะนำมาบูชายัญแด่พระวรุณ พระเจ้าหริศจันทร์ก็ทรงมีบุตรนามว่า พระโรหิตกุมาร กาลเวลาล่วงเลยไป พระเจ้าหริศจันทร์ก็มิได้ทำการบูชายัญแด่พระวรุณด้วยบุตร พระวรุณจึงบันดาลให้พระเจ้าหริศจันทร์ ประชวรเป็นโรคท้องมาน เป็นโรคที่มีน้ำในท้องมากเกินไป จึงเป็นต้นแบบประเพณีการถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาของไทย พระวรุณทรงเป็นเจ้าแห่งน้ำ ภายหลังได้ฉายาว่า "สินธุปติ" แปลว่า "เจ้าน้ำทั่วไป" ในรามเกียรติ์ พระวรุณ ทำหน้าที่เป็นกองเกียกกายในสงครามรบกับอินทรชิต ในรามายณะ พระวรุณทรงบอกวิธีข้ามไปกรุงลงกาแก่พระราม ในพระไตรปิฎกภาษาบาลี ธชัคคสูตรระบุว่า พระวรุณเป็นเทวราชองค์หนึ่ง มีศักดิ์รองจากพระประชาบดี

ลักษณะของพระวรุณ ในคติไทย

เป็นเทพบุรุษมีกายสีน้ำเงิน มี 2 กร ทรงพระขรรค์เป็นอาวุธ สวมมงกุฎยอดเดินหน สวมอาภรณ์สีทอง ทรงเครื่องประดับด้วยทองคำ ไข่มุกและแก้วเพทาย ทรงพญานาคเป็นพาหนะ ในคติฮินดู เป็นเทพบุรุษมีกายสีน้ำเงิน บ้างก็ว่าสีขาว รูปร่างเล็ก แต่กำยำล่ำสัน มี 4 กร ทรงบ่วงวรุณบาศ ร่มอาโภค หม้อน้ำ ดอกบัว สังข์ ฯลฯ สวมมงกุฎทองคำ มีรัศมีทอง สวมอาภรณ์สีทอง ทรงเครื่องประดับด้วยทองคำ ไข่มุกและแก้วเพทาย ทรงจระเข้ หรือ มกร เป็นพาหนะ พระวรุณ ยังมีนามอื่นๆอีก อาทิ เช่น พระสินธุปติ,พระชลปติ,พระชลพิมพา,พระนีลปุรุษ,พระปาศปาณี,พระอัมพุราช,พระยาทปติ ฯลฯ

  • พระวรุณเมื่อเทียบกับความเชื่อทางตะวันตกแล้ว เทียบได้กับโพไซดอนตามเทพปกรณัมกรีก และเนปจูนตามเทพปกรณัมโรมัน

ในหนังสือพระนลคำหลวง พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวระบุว่า พิรุณเป็นนามของเทพคณะอาทิตย์ เป็นบุตรองค์โตของพระแม่อทิติ เป็นเทพแห่งความเป็นธรรม พระพิรุณย่อมรู้ว่าผู้ใดทำอะไร ย่อมรู้ว่าผู้ใดกะพริบตากี่ครั้ง ใครทำบาป เมื่อมีผู้ทำบาปพระพิรุณจักใช้บ่วงคล้องผู้นั้นไปหาพญายมราชเพื่อนำไปลงทัณฑ์ ในมหาภารตะ พระพิรุณเป็นบุตรพระฤๅษีกรรทมพรหมบุตร พระพิรุณในความเชื่อของคนไทยว่าเป็นผู้ให้ฝน ให้น้ำ ถือพระขรรค์ ทรงพญานาค หรือมกร เป็นพาหนะ จึงเป็นสัญลักษณ์ของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวกับการเกษตร อาทิ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ของไหว้พระพิรุณมีอะไรบ้าง 

  • สามารถนำอ้อย กล้วย น้ำแดง นมจืด หรือพวงมาลัย มาสักการะบูชา ขอพรให้ประสบความสำเร็จได้ และที่สำคัญห้ามบนบานศาลกล่าว ให้เป็นการขอพรดีจะกว่าค่ะ

คาถาบูชาพระพิรุณ

  • โอม พระวรุณะ ราชะ
  • อุปาทะวะ ตายะ ปัญจะนาคะ ราชะ
  • พาหะนายะ ปัจฉิมทิสะ ฐิตายะ
  • อาคัจฉันตะ ภุญชะตุ ชิปปะยะตุ วิปปะยะตุ
  • สะวาหะ สะวาหายะ สัพพะ อุปาทะวะ วินาสายะ
  • สัพพะ อันตะรายะ วินาสายะ
  • สุขขะวัฑฒะโก โหตุ
  • อายุ วัณณะ สุขะ พะลัง อัมหากัง รักขันตุ
  • สะวาหะ สะวาหา สะวาหายะ

คาถาขอพรพระพิรุณ

  • โอม ปัจฉิมะทิสะวะรุณะ เทวะตา สะหะคะณะปะริวารยะ
  • อาคุจฉันตุ ปะริภุญชะตุ สะวาหะ
  • สะวาหายะ โอม สัพพะอุปาทะวะ สัพพะทุกขะ สัพพะโสกะ
  • สัพพะโรคะ สัพพะภะยะ
  • สัพพะอุปัททะวะ วินาสายะ สัพพะศัตรู วินาสายะ ปะมุจจันติ
  • โอม วรุณะ คงคายมมะ เทวะตา สะทา รักขันตุ สะวาหะ สะวาหายะ

ไหว้พระพิรุณขอพรด้านไหน และมีข้อห้ามอะไรบ้าง

และนี่ก็คือ ประวัติพระพิรุณ เทพเจ้าแห่งฝน และนี่คือความเชื่อส่วนบุคคลโปรดใช้วิจารณญาณในการอ่านด้วยนะคะ