วันเกิดพระพิฆเนศ 2566 วันนี้ทีมข่าว Thainews Online จะพาสายมูไปทำความรู้จัก วันคเณศชยันตี 2566 ตรงกับวันที่ 25 มกราคม 2566 แล้ววันคเณศชยันตี คือวันอะไร มีความหมายอย่างไร ไปไขข้อสงสัยพร้อมกันค่ะ และ วันประสูติพระคเณศ พร้อมของไหว้ พระพิฆเนศมีอะไรบ้าง ไปดูกัน
วันประสูติพระคเณศ พร้อมของไหว้ พระพิฆเนศมีอะไรบ้าง
คเณศชยันตี วันเกิดแห่งองค์พระคเณศ บทความนี้ อ้างอิงจาก คัมภีร์มุทฺคลปุราณะ และ ความเชื่อของชาวมราฐี ในรัฐมหาราษฏระอันขึ้นชื่อว่าเป็นรัฐที่มีผู้บูชาต่อ พระคเณศมากที่สุด โดยที่ผู้เขียน เลือกมาเผยแพร่เพราะเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับความเชื่อ เกี่ยวกับองค์พระคเณศในประเทศไทย ซึ่งส่วนมากความเชื่อที่มีการนำมาเผยแพร่ในประเทศไทยนั้น อ้างอิงมาจากความเชื่อ และหลักการปฏิบัติตามแบบฉบับของทางรัฐมหาราษฏระเสียเป็นส่วนใหญ่
คเณศชยันตี ขึ้น 4 ค่ำ เดือนมาฆะ วันประสูติแห่งองค์พระคเณศ ตามคัมภีร์คัมภีร์มุทฺคลปุราณะ อันว่าด้วยการประสูติขององค์พระคเณศ นั้น คือ “มาฆ ศุทฺธ จตุรฺถี (माघ शुद्ध चतुर्थी – Magha Shuddha Chaturthi )” อันจะหมายถึง วันศุกลปักษ์ ขึ้น 4 ค่ำเดือน มาฆะ (ซึ่งตามปฏิทินไทยเราจะอยู่ในช่วงประมาณเดือน มกราคม-มีนาคม แต่ละปีไม่ตรงกัน)
ในประเทศอินเดีย ศาสนาฮินดูแบ่งออกเป็นหลายสายหลายนิกาย ทั้งนิกายของพระศิวะ นิกายของพระวิษณุ นิกายพระคเณศ นิกายของพระศักติ ยังไม่รวมถึงนิกายแยกย่อย ของแต่ละนิกายที่แตกขยายไปอีกมากมาย ซึ่งแต่ละนิกาย ก็มีคัมภีร์หลัก คัมภีร์รอง คัมภีร์แยกย่อย ต่างๆ ที่มีการบันทึก และสาธยายประวัติ การกำเนิด ตำนาน การบูชา หลักการ ที่แตกต่างกันออกไป จึงมีเรื่องเล่า เรื่องบอกกล่าว ไม่ตรงกันในแต่ละนิกาย รวมถึง เรื่องเล่าเรื่องแต่ง และความเชื่อ เฉพาะถิ่น เฉพาะชุมชน อีกมากมาย เลยทีเดียว
ซึ่งจากความมากมายหลากหลายนี้ ทำให้ มีข้อถกเถียง เรื่องความถูกผิด ของเทวะตำนาน เรื่องการบูชา เรื่องฤกษ์ยาม ต่างๆ กันอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งก็ไม่มีอะไรที่ผิดไปซะทั้งหมด หรือถูกไปหมดเสียทีเดียว เมื่อมีความวุ่นวาย จากเรื่องปุราณะ คำเล่ากล่าว และคัมภีร์ ที่ไม่ตรงกัน การจะหาข้อยุติ ถูกผิดนั้น ยิ่งยากเข้าไปใหญ่ เพราะจะเป็นการถกเถียงที่ไม่รู้จบสิ้น เมื่อถึงตรงนี้ ก็คงต้องดู จากหลักปฏิบัติ ของผู้คนส่วนมาก ที่เค้าปฏิบัติ หรือสืบกันมา ว่า คนส่วนใหญ่ หรือคนหมู่มาก ที่ นับถือ หรือปฏิบัติตน เพื่อองค์เทพ องค์นั้นๆ เค้าทำ หรือเชื่อกันเช่นไร
ในประเทศอินเดีย รัฐมหาราษฏระ ถูกยกให้เป็นรัฐที่มีผู้คนนับถือ และบูชาองค์พระคเณศ มากที่สุดในบรรดารัฐทั้งหมด รวมทั้งยังเป็นที่กำเนิดของนิกาย คณปัตยะ นิกายขององค์พระคเณศเองอีกด้วย และยังเป็นที่ประดิษฐานองค์อัฏฐะวินายักกา ทั้ง 8 อันเป็นเทวรูปที่เชื่อว่า ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดขององค์พระคเณศที่อยู่ในโลกมนุษย์นี้ อีกด้วย รัฐมหาราษฏระ และเรื่องราวขององค์พระคเณศ เป็นที่รู้จักของคนในประเทศไทย เสียส่วนมาก เพราะเรื่องราว และความรู้ขององค์พระคเณศ ใน 15 ปีหลังนี้ โดนบอกกล่าว โดนเผยแพร่ จากผู้รู้ และผู้เชี่ยวชาญต่างๆ ที่นำความรู้ จากทางรัฐมหาราษฏระ มาเผยแพร่ในประเทศไทย โดยเฉพาะเทศกาลเฉลิมฉลองขององค์พระคเณศที่คนไทยรู้จักกันดี นั้นคือ “เทศกาลคเณศจตุรถี” รวมถึง “อัฏฐะวินายักกาทั้ง 8 พระองค์” “เรื่องพระคเณศงวงหันขวา” “เรื่องการบูชาพระคเณศในช่วงจตุรถี” “เรื่องพระคเณศ 32 ปาง” เป็นต้น จากที่กล่าวมาข้างต้น
คนไทยเรา โดยส่วนมากจะรู้จัก หรือรับรู้ ความเชื่อ และหลักปฏิบัติ ต่อองค์พระคเณศ จากความเชื่อที่มาจากทางรัฐมหาราษฏระ เสียส่วนใหญ่ มากกว่า ความรู้จากคัมภีร์ปุราณะ ต่างๆ ผู้เขียนเอง ก็ยึดความเชื่อ และการปฏิบัติ จากทางรัฐมหาราษฏระ เช่นกัน เพราะคนที่บูชาองค์พระคเณศ ในรัฐมหาราษฏระ ยึด เชื่อ และปฏิบัติ กันมาเช่นนั้น
วันคเณศชยันตี ทางรัฐมหาราชฏระ ยกให้เป็นวัน ประสูติขององค์พระคเณศ ตามคัมภีร์มุทฺคลปุราณะ มีการจัดพิธีบูชา และเฉลิมฉลอง ให้กับองค์พระคเณศท่าน คเณศชยันตีนั้น จะนิยมจัดการบูชากัน ในครอบครัว จะเรียกว่าเทศกาลแห่งครอบครัว ก็ว่าได้เช่นกัน โดย จะเน้นการปฏิบัติบูชา ด้วยกันภายในครอบครัว สวดมนตรา ปฏิบัติบูชาต่อองค์พระคเณศ เพื่อขอความรัก ความสุข ความสมบูรณ์ ให้กับ ครอบครัว ตามวัด หรือเทวาลัยต่างๆ ก็จัดเฉลิมฉลองกันบ้างเล็กน้อย ไม่ใหญ่โตอะไรมากนัก ซึ่งต่างจาก “เทศกาลคเณศจตุรถี” ที่มีการ เฉลิมฉลองให้กับพระองค์ท่านอย่างยิ่งใหญ่ 10-11 วันกันเลยทีเดียว โดยผู้คนในรัฐมหาราษฏระ จะเรียกช่วงเทศกาลคเณศจตุรถีนี้ ว่า “गणेश महोत्सव คเณศ มโหตฺสว (Ganesha Mahotsava)” เทศกาลอันยิ่งใหญ่ขององค์พระคเณศ ซึ่งตรงนี้ละที่จะแตกต่างจากความเชื่อ หรือเรื่องราวของ ปุราณะอื่นๆ ที่ระบุว่า วันเกิดของพระคเณศ คือช่วงคเณศจตรุถี (ขึ้น 4 ค่ำ เดือน ภาทฺรปท)
วันประสูติพระคเณศ พร้อมของไหว้ พระพิฆเนศมีอะไรบ้าง
คาถาไหว้พระพิฆเนศ
ของไหว้ พระพิฆเนศมีอะไรบ้าง
ผู้เขียน ก็ขอให้ผู้อ่านทุกท่าน ศึกษาเพื่อเป็นข้อมูลเท่านั้น ว่าความเชื่อเรื่อง “วันเกิดของพระคเณศ” นั้น มีทั้งความเชื่อที่มาจากตำรา ปุราณะ ความเชื่อที่มาจากการบอกเล่า และความเชื่อที่เป็นความเชื่อเฉพาะถิ่น ไม่ตรงตามตำรา แต่อาจตรงตามความเชื่อของผู้คน ตรงตามผู้คนอาจไม่ถูกต้องตามตำรา ดังนั้น จึงศึกษาเพื่อพิจารณา และเก็บไว้เป็นข้อมูลความรู้ ของแต่ละผู้คน และเลือกคิด วิเคราะห์ แยกแยะ เลือกยึดถือ หรือปฏิบัติ ตามที่เราเข้าใจ ก็พอ