งานฉลองกรุงเทพ วันสถาปนากรุงเทพมหานคร ครบ 242 ปี

18 เมษายน 2567

งานฉลองกรุงเทพฯ 242 ปี พิพิธภัณฑ์ และ แหล่งเรียนรู้ เปิดให้เข้าชมฟรีในงาน ใต้ร่มพระบารมี 242 ปี กรุงรัตนโกสินทร์ ระหว่างวันที่ 21-25 เมษายน 2567 นี้

งานฉลองกรุงเทพฯ 242 ปี หรือ วันสถาปนากรุงเทพมหานคร ครบ 242 ปี เสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับหน่วยงานรัฐ เอกชนและเครือข่ายวัฒนธรรมกว่า 20 หน่วยงาน จัดงาน ใต้ร่มพระบารมี 242 ปี กรุงรัตนโกสินทร์ ระหว่างวันที่ 21 - 25 เมษายน 2567 ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร โรงละครแห่งชาติ หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน บริเวณพื้นที่รอบเกาะรัตนโกสินทร์ กรุงเทพฯ และวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร

 

งานฉลองกรุงเทพ วันสถาปนากรุงเทพมหานคร ครบ 242 ปี

เปิดให้เข้าชมฟรี เที่ยวฟรี พิพิธภัณฑ์ และ แหล่งเรียนรู้ ทั่วกรุงเทพมหานคร ในงาน ใต้ร่มพระบารมี 242 ปี กรุงรัตนโกสินทร์ ระหว่างวันที่ 21-25 เม.ย. 67 นี้ อาทิ พิพิธภัณฑ์ศาลาว่าการกลาโหม, พิพิธภัณฑ์ตำรวจ วังปารุสกวัน, พิพิธภัณฑ์เหรียญกษาปณานุรักษ์, พิพิธบางลำพู, มิวเซียมสยาม

 

"เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณและเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งพระบรมราชวงศ์จักรีและพระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ในราชวงศ์จักรี เพื่อให้เด็ก เยาวชน ประชาชนได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์การสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ รวมทั้งส่งเสริมการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม สร้างรายได้สู่ประชาชนและชุมชน กระตุ้นเศรษฐกิจประเทศ

 

โดยในวันที่ 19 เมษายน 2567 จะมีพิธีบวงสรวงเทพยดา ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร และวันที่ 21 เมษายน 2567 มี พิธีบำเพ็ญกุศลอุทิศถวายสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชและพิธีตักบาตรพระสงฆ์ 99 รูป ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม และพิธีสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ศาลหลักเมือง ณ ศาลหลักเมือง กรุงเทพฯ"

 

งานฉลองกรุงเทพ วันสถาปนากรุงเทพมหานคร ครบ 242 ปี

วันนี้ในอดีต : รู้จักกรุงเทพมหานครให้มากขึ้น 

 

"กรุงเทพมหานคร" มีชื่อเต็มว่า กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานีบูรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์ มีความหมายว่า "พระนครอันกว้างใหญ่ ดุจเทพนคร เป็นที่สถิตของพระแก้วมรกต เป็นมหานครที่ไม่มีใครรบชนะได้ มีความงามอันมั่นคง และเจริญยิ่ง เป็นเมืองหลวงที่บริบูรณ์ด้วยแก้วเก้าประการ น่ารื่นรมย์ยิ่ง มีพระราชนิเวศใหญ่โตมากมาย เป็นวิมานเทพที่ประทับของพระราชาผู้อวตารลงมา ซึ่งท้าวสักกเทวราชพระราชทานให้ พระวิษณุกรรมลงมาเนรมิตไว้"

 

โดยนามเดิมที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ พระราชทานในตอนแรกนั้น ใช้ชื่อว่า “กรุงรัตนโกสินทร์อินท์อโยธยา” ต่อมาในในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแก้นามพระนครเป็น “กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินท์ มหินทอยุธยา” จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเปลี่ยนคำว่า บวร เป็น อมร เปลี่ยนคำว่า มหินทอยุธยา โดยวิธีการสนธิศัพท์เป็น มหินทรายุธยา และเติมสร้อยนามต่อ ทั้งเปลี่ยนการสะกดคำ สินท์ เป็น สินทร์ จนเป็นที่มาของชื่อเต็มของกรุงรัตนโกสินทร์ ข้างต้น

 

ราชบัณฑิตยสภาระบุว่าชื่อภาษาอังกฤษของกรุงเทพมหานครสามารถเขียนได้ 2 คำ คือ "Krung Thep Maha Nakhon" และ "Bangkok" ซึ่งคำว่า "Bangkok" มาจากการทัพศัพท์คำว่าบางกอกเป็นภาษาฝรั่งเศส โดยวิศวกรชาวฝรั่งเศสชื่อ เดอ ลามาร์ (De Lamar) ได้ก่อสร้างป้อมบางกอก ซึ่งเป็นป้อมดาวขนาดใหญ่ ปัจจุบันถูกแปรรูปเป็นโรงเรียนราชินี, มิวเซียมสยาม และบางส่วนของวัดโพธิ์ และปัจจุบันชาวต่างชาติยังคงใช้ชื่อนี้เป็นชื่อเรียกชื่อเมือง

 

กรุงเทพมหานครได้ชื่อว่าเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลกบันทึกไว้ในกินเนสส์บุ๊ก แปลความเป็นภาษาอังกฤษว่า "City of angels, great city of immortals, magnificent city of the nine gems, seat of the king, city of royal palaces, home of gods incarnate, erected by Visvakarman at Indra's behest."

 

กรุงเทพมหานคร ก่อตั้งเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2325 ในปี 2567 จะมีอายุครบ 242 ปี 

 

21 เมษายน 2567 งานฉลองกรุงเทพ วันสถาปนากรุงเทพมหานคร ครบ 242 ปี

 

สอบถามเพิ่มเติม : สายด่วนวัฒนธรรม 1765

 

ที่มาจาก : ไทยคู่ฟ้า