พระพุทธไสยาสน์ทรงเทริดมโนราห์ หรือ พระนอนทรงเทริดมโนราห์ เป็น พระพุทธไสยาสน์ องค์ พระนอน บริเวณปากถ้ำเขาชุมทอง หรือ วัดภูเขาทอง จังหวัดตรัง เป็นพระพุทธรูป พระนอนองค์ใหญ่ ที่มี อายุมากถึง 1,000 ปี
วัดภูเขาทอง
แหล่งโบราณคดีภูเขาชุมทอง หรือ วัดภูเขาทอง มีอายุในช่วงพุทธศตวรรษ 24-26 ยุคประวัติศาสตร์ สมัยวัฒนธรรมรัตนโกสินทร์ เป็นสถานที่ซึ่งมี พระพุทธรูปปางไสยาสน์ หรือ พระบรรทมอยู่ตรงเพิงผาหน้าถ้ำ แต่มีลักษณะพิเศษคือเป็น พระทรงเทริดมโนห์รา นับเป็นการผสมผสานระหว่างความศรัทธาในพระพุทธศาสนากับศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นได้อย่างลงตัว และเป็น พระบรรทม ที่ ทรงเทริดมโนห์รา เพียงหนึ่งเดียวที่พบในประเทศไทย เชื่อกันว่าพระกุมารสามีนางเลือดขาวเป็นผู้สร้างในคราวที่เดินทางผ่านทางเมืองตรังไปลังกา
ตามที่กล่าวไว้ใน ตำนาน เมืองพัทลุงภายใน ถ้ำภูเขาทอง แห่งนี้ได้มีผู้พบโครงกระดูกมนุษย์ใต้ฐานพระพุทธรูป ซึ่งนักโบราณคดีของกรมศิลปากรสันนิษฐานว่ามีอายุมากกว่า 3,000 ปี ส่วนที่เป็นวัดเพิ่งสร้างขึ้นใหม่ เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2465 เดิมเรียกว่าวัดเขาตอนที่กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนวัดแห่งนี้ให้เป็นโบราณสถานใช้ชื่อว่า วัดเขาชุมทอง
แต่ปัจจุบันเรียกกันว่า วัดภูเขาทอง ตอนที่กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนวัดแห่งนี้ให้เป็นโบราณสถานใช้ชื่อว่า วัดเขาชุมทอง แต่ปัจจุบันเรียกกันว่า “วัดภูเขาทอง”
ตำนานพระนอนทรงเทริดมโนราห์
พระพุทธไสยาสน์ทรงเทริดมโนราห์ มี ตำนาน เล่าขานกันมาว่า วัดภูเขาทองแห่งนี้ตั้งขึ้นมาได้จากอดีตเจ้าเมืองพัทลุง ที่ชื่อว่า ขุนศรีศรัทธา หรือ เจ้าหน่อ และมีพระชายาชื่อว่า พระนางเลือดขาว เมื่อ พ.ศ. 1493 ทั้ง 2 พระองค์ได้รับข่าวว่า พระเจ้าศรีธรรมาโศกราชที่ 2 เจ้าเมืองนครศรีธรรมราช เตรียมบูรณะองค์พระบรมธาตุ เมืองนครศรีธรรมราช เพื่อให้เป็นไปตามแบบอย่างที่ประเทศศรีลังกาสร้างเอาไว้
ในอดีต เจ้าเมืองพัทลุง พยายามช่วยเหลือการบูรณะครั้งนี้ ด้วยการนำทรัพย์สินเงินทองไปร่วมถวายเป็นพุทธบูชา แต่เนื่องจากมีระยะทางยาวไกลมาก จำเป็นต้องพักค้างแรมยังสถานที่ต่างๆ ดังนั้น การบูรณะองค์พระบรมธาตุเสร็จสิ้นลงก่อน จึงตัดสินใจนำทรัพย์สินเงินทองทั้งหลายมาบรรจุไว้ใน ถ้ำเขาชุมทอง หรือ วัดภูเขาทองแห่งนี้ และถ้ำเขาหลักจันทร์ หรือ เขาโหรง พร้อมทั้งยังได้อธิฐานให้ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วยพิทักษ์รักษา เพื่อจะได้นำทรัพย์สินเงินทองที่เก็บไว้นี้ ไปสร้างวัดวาอารามตามความตั้งใจเดิม
หลังจากนั้น ได้สร้าง พระพุทธไสยาสน์ทรงเทริดมโนราห์ ไว้หน้าปากถ้ำ แล้วผูก 2 คำกลอนปริศนาธรรมตามแบบฉบับครูมโนราห์เอาไว้ เพื่อคุ้มครองว่า “ลำแตนมีแลนครอบศพ ผู้ใดแก้จบ ทำกินไม่รู้สิ้น” และอีกบทคือ “หนองหัดมีพัดเสมา มีททุ่งหญ้าคา มีป่าเรียง”
ต่อมาได้มีชาวต่างชาติ ที่มาทำเหมืองแร่ในบริเวณนั้น สามารถไขปริศนาธรรมที่ถ้ำเขาหลักจันทร์ได้ จึงนำสมบัติต่างๆ กลับไปยังบ้านเมืองของตน ในช่วงนั้นอดีตเจ้าเมืองพัทลุงเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ ได้นำทรัพย์สินเงินทองส่วนหนึ่งไปสร้างวัดต่างๆ โดยเฉพาะที่จังหวัดตรัง ก็มีมากถึง 7 วัดด้วยกัน
1. วัดพระนอน
2. วัดพระงาม
3. วัดพระพุทธสิหิงค์
4. วัดกรุยยืด
5. วัดพระบรรทม
6. วัดถ้ำพระพุทธ
7. วัดภูเขาทอง
ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเผยแผ่พระพุทธศาสนาและเพื่อใช้เป็นที่พักในระหว่างเดินทาง ซึ่งพระพุทธรูปที่นางสร้างขึ้นนั้น ส่วนใหญ่จะเป็น ทรงเทริดมโนราห์
พระพุทธไสยาสน์ทรงเทริดมโนราห์ ที่วัดภูเขาทอง นับเป็น พระพุทธรูปที่เก่าแก่มากที่สุด องค์หนึ่ง กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนไว้เรียบร้อยแล้ว สำหรับสาเหตุที่ได้มีการสร้างพระพุทธรูป เป็น พระนอนทรงเทริดมโนราห์ สันนิษฐานว่า มาจากบริเวณปากถ้ำที่มีลักษณะกว้าง จึงจำเป็นต้องสร้างเป็น พระนอน เพื่อปิดเอาไว้
โดยเชื่อว่าภายในถ้ำน่าจะมีสมบัติของมีค่าเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะทองคำ ทั้งนี้ เมื่อถึงวันสงกรานต์ของทุกปี หรือช่วง 8 ค่ำ เดือน 5 จะต้องมีคณะมโนราห์ มารำถวายต่อหน้า องค์พระนอน เป็นประจำถือเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมายาวนาน
ขอบคุณ : เพจภาคใต้อาณาจักรศรีวิชัย