คาถาบูชาพระแม่คงคา พร้อมคำอธิฐานวันลอยกระทง

28 ตุลาคม 2564

ใกล้เข้ามาทุกขณะกับเทศกาลวันลอยกระทงที่หลายคนตั้งหน้าตั้งตารอ ตามหมายกำหนดการของปฏิทินปีนี้คือวันที่ 19 พฤศจิกายน 2564 สำหรับสถานที่ในปีนี้นั้นต้องรอทางรัฐบาลแจ้งอีกทีว่าจะอนุญาตให้จัดงานในช่วงสถานการณ์โควิด19 หรือไม่

วันลอยกระทงตรงกับวันอะไรในปี 2564 ตามปฏิทินปีนี้ วันลอยกระทง ตรงกับ วันศุกร์ ที่ 19 พฤศจิกายน 2564 วันเพ็ญเดือนสิบสอง "ประเพณีลอยกระทง" ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ของทุกปี มีการจุดธูปเทียนปักลงบนกระทงในสิ่งประดิษฐ์ เช่น ดอกบัว หยวกกล้วย ใบตอง และนำไปลอยตามแม่น้ำลำคลอง เพื่อเป็นการสักการะบูชาและขอขมาต่อพระแม่คงคา 

ประเพณีไทย ในแต่ละท้องถิ่น 

ลอยกระทงในภาคเหนือ นิยมทำโคมลอยหรือลอยโคม ทำจากผ้าบางๆ แล้วสุมควันข้างใต้ให้ลอยขึ้นไปในอากาศ ประเพณีนี้ชาวเหนือเรียกว่า "ยี่เป็ง" หมายถึงการทำบุญในวันเพ็ญเดือนยี่ตามแบบล้านนา

ลอยกระทงในภาคอีสาน นิยมนำหยวกกล้วยหรือวัสดุต่างๆ มาตกแต่งเป็นรูปพญานาค ตอนกลางคืนจุดไฟปล่อยให้ไหลไปตามแม่น้ำโขง หรือเรียกว่าเทศกาลไหลเรือไฟ หรือ เทศกาลลอยพระประทีป นั่นเอง

ลอยกระทงในภาคกลางและภาคใต้ มีการจัดประเพณีลอยกระทงขึ้นทั่วทุกจังหวัด มีรูปแบบการจัดงานแตกต่างกันออกไป นิยมมากที่สุดเห็นจะเป็นงานลอยกระทงในรูปแบบของงานวัด เฉลิมฉลองราว 7-10 วัน ก่อนงานลอยกระทงและจบลงในช่วงหลังวันลอยกระทงและสืบทอดต่อกันเรื่อยมา

ลอยกระทงในภาคเหนือ เรียกว่า โคมลอย ยี่เป็ง

ลอยกระทง ในภาคอีสาน เรียกว่าเทศกาลไหลเรือไฟ

ส่วนการบูชาแม่คงคาในเมืองไทย อาจจะทำการบูชาต่อหน้ารูปพระแม่คงคาหรือที่แม่น้ำใหญ่ และลอยเครื่องบูชาบางส่วนไปกับสายน้ำ

เครื่องบูชา ประกอบด้วย
1. ผ้าแพร 3 สี
2. ข้าวตอก
3. น้ำนม
4. ดอกไม้สีเหลืองหรือส้ม
5. พวงมาลัยดอกดาวเรือง
6. ขนมหวาน 7 ชนิด
7. ผลไม้รสหวาน 5 ชนิด
8. รูปปั้นพระแม่คงคา (เทวรูป) 

ลอยกระทงในภาคกลางและภาคใต้

คำขอขมาพระแม่คงคา สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ขะมามิ ภันเต

คำขอขมาพระแม่คงคา วันลอยกระทง 2564

คำอธิษฐานสำหรับลอยกระทง
มะยัง อิมินา ปะทีเปนะ อะสุกายะ นัมมะทายะ นะทิยา ปุลิเน ฐิตัง มุนิโน ปาทะวะลัญชัง อะภิปูเชมะ อะยัง ปะทีเปนะ มุนิโน ปาทะวะลัญชัสสะ ปูชา อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ สังวัตตะตุ

คำอธิษฐาน วันลอยกระทง 2564

(คำแปล) ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอบูชา ด้วยประทีปนี้ ขอจงเป็นไปเพื่อประโยชน์ และความสุข ข้าพเจ้าได้อาศัย ดิน น้ำ ลม ไฟ มีแม่พระคงคาเป็นต้นที่มีชีวิตอยู่ได้ บุญกุศลใดที่ข้าพเจ้าได้สร้างเอาไว้ในภพนี้ ชาตินี้ จงส่งผลเป็นปฏิบัติบูชาแด่แม่พระคงคา ขอประทีปนี้สว่างไสวในสัมมาอาชีพและปัจจัย 4 เป็นปฏิบัติบูชา และอโหสิกรรม ถ้าข้าพเจ้าเคยล่วงเกินแม่พระคงคาด้วยกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ทำให้แม่พระคงคาเปื้อนศีล 5 ประทีปนี้ถวายปฏิบัติบูชาและขอขมาต่อแม่พระคงคา ขอบูชาแด่พระโพธิญาณ พระพุทธัง พระธัมมัง พระสังฆัง ขอให้แม่พระธรณีจงมาเป็นทิพยญาณให้แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิดนะพระเจ้าข้า นิพพานะ ปัจจะโยโหตุ
 

วันลอยกระทง ประวัติ พระแม่คงคา พระองค์ทรงเป็นพระธิดาของท้าวหิมวัตและพระนางเมนกา มีน้องสาวนามว่า พระอุมาภควตี และทรงเป็นพระชายาของพระศิวะ ตามคติความเชื่อของอินเดียว่ากันว่า พระองค์ทรงปลาใหญ่หรือจระเข้เป็นพาหนะ พระองค์เป็นเทวีผู้ให้กำเนิดสายน้ำคงคาตามความเชื่อของชาวอินเดีย อีกตำนานว่า เดิมทีโลกมนุษย์นั้นบังเกิดความแห้งแล้งอย่างหนัก ซึ่งเกิดจากการที่พระแม่คงคาไม่ยอมปล่อยน้ำลงมาสู่โลกมนุษย์แล้วเสด็จหนีไป จึงทำให้มนุษย์และสัตว์ล้มตายมากมาย บรรดาเทวะเห็นดังนั้นจึงไปกราบทูลเชิญพระศิวะเจ้าให้ทรงจัดการเรื่องนี้ พระองค์จึงทรงออกตามหาพระแม่คงคากลับมา แล้วให้พระแม่คืนสายน้ำให้มนุษย์ แต่พระแม่ไม่ยอม พระศิวะจึงทรงใช้พระเกศรัดพระแม่คงคา จนพระนางยอมปล่อยสายน้ำออกมา บางตำนานก็ว่า พระศิวะเจ้าทรงได้พระแม่เป็นภรรยาลับๆ ด้วยความกลัวพระแม่อุมารู้แล้วจะทรงพิโรธ จึงซ่อนพระแม่ไว้ในมวยพระเกศ ให้พระแม่ปล่อยน้ำออกมาจากพระเกศของพระองค์ เพื่อล้างบาปที่พระองค์ได้ทรงทำด้วย 

โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน 

ขอบคุณ : TNEWS