น้องหมอแอ้ม โผล่เปิดใจกลางรายการโหนกระแส เผยพี่สาวหาย แต่ก็ทรุดลงอีกครั้ง

14 สิงหาคม 2564

น้องชาย นาวาอากาศเอกหญิง แพทย์หญิงสรัญยา ฬาพานิช หรือหมอแอ้ม โผล่เปิดใจกลางรายการโหนกระแส เผยพี่สาวหายแล้ว แต่อาการทรุดจนเสียชีวิต

จากกรณีการเสียชีวิตด้วยโรคโควิด 19 ของ นาวาอากาศเอกหญิง แพทย์หญิงสรัญยา ฬาพานิช หรือหมอแอ้ม แพทย์ของโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งคนในครอบครัวเสียชีวิตด้วยโรคโควิด 19 แล้ว 3 คน ทั้งพ่อ แม่ และพี่สาว อยากให้รัฐเปิดทางนำเข้าวัคซีนทีได้มาตรฐานมาให้คนไทยได้ป้องกันตัวเอง

หนุ่ม กรรชัย :เหตุการณ์เกิดอะไรขึ้น ในครอบครัวติดโควิดถึง 7 คนเลยเหรอ ?

น้องหมอแอ้ม

นพ.สิทธิพงศ์ : ใช่ครับ ผมแยกบ้านมาอยู่ บ้านนั้นมีคุณพ่อ คุณแม่ พี่สาว พี่คนรอง พี่เขย และลูกสองคน แม่บ้าน แถว ๆ วันที่ 20 เดือนที่แล้ว คุณแม่เริ่มไอเยอะ เลยพาไปตรวจทั้งบ้าน แล้วก็พบว่าเป็นบวกกันหมดเลย คุณแม่ 75 ปี คุณพ่อ 78 ปี พอเอกซเรย์ตอนแรก พอมีอาการไอหรือมีไข้ ปอดคุณแม่ไปทั้งสองข้างเลย ส่วนพี่สาวคนโตปอดไปข้างนึง ผ่านไป 4-5 วันคุณแม่ก็เสียเลย แม่เสียวันที่ 25 พอเสียปุ๊บเราก็ไม่บอกพี่แอ้ม ไม่ได้บอกพ่อ เพราะไม่อยากให้ทรุด ตอนนั้นทุกคนอยู่ รพ. กันหมดแล้ว พอแม่เสีย พี่สาวคนรองที่ยังไม่ติดก็กักตัวอยู่บ้าน ผมก็ไปรับศพคุณแม่ ซึ่งเราไม่สามารถเห็นหน้าคุณแม่ได้ เขาซีลอย่างดี เราไม่สามารถลาคุณแม่ได้ ไม่สามารถบอกพ่อและพี่สาวได้ สักพักพี่สาวรู้ เขาคุยในไลน์บอกว่าฝันถึงแม่ มีอะไรปิดบังหรือเปล่า หลังจากนั้นพี่สาวก็รู้ ไม่นานประมาณวันที่ 30 คุณพ่อก็เสีย

หนุ่ม กรรชัย : ตอนคุณพ่อเสีย ไม่ได้ทราบว่าคุณแม่เสียด้วย ?

นพ.สิทธิพงศ์ : ใช่ครับ ห่างจากแม่ประมาณ 5 วัน พอคุณพ่อเสีย จัดการงานศพ เราก็ไม่กล้าบอกพี่แอ้ม จนพี่เขยหาย แม่บ้านหาย ลูกเขาหาย พี่แอ้มอาการดีขึ้นเยอะเลย ออกจากไอซียู เขาบอกฉันต้องหาย ฉันต้องไม่ตาย หลังจากนั้นทราบว่าตรวจแล้วเป็นเนกาทีฟ ออกจาก รพ. จะไปทำบุญให้คุณแม่ แต่อยู่ดี ๆ ประมาณวันที่ 11 พี่สาวคนรอง โทร. มาบอกว่าพี่แอ้มไม่โอเคแล้วนะ แย่แล้ว เราก็สงสัยทำไมถึงทรุด ทั้งที่กำลังดีขึ้น แพทย์ที่ภูมิพลบอกว่าไม่ไหว สุดท้ายก็เสีย

หนุ่ม กรรชัย : หมอแอ้มฉีดวัคซีนแล้ว ?

นพ.สิทธิพงศ์ : ฉีดแล้วครับ คุณพ่อคุณแม่ก็ฉีดแล้ว ทั้งคู่ฉีดแอสตร้าฯ พ่อกับแม่ฉีดเข็มแรกรอเข็มสองอยู่ ส่วนพี่แอ้มฉีดสองเข็ม
น้องหมอแอ้ม

 

หนุ่ม กรรชัย : ฉีดไปนานหรือยังกว่าจะมาติดโควิด ?

นพ.สิทธิพงศ์ : ผมว่าน่าจะสักประมาณ 2-3 เดือน ผมไม่แน่ใจเรื่องเวลาเท่าไหร่

หนุ่ม กรรชัย : หลังหมอแอ้มเสียชีวิต เห็นบทความนึง หมอเป็นคนลงไว้ หมอบรรยายว่าเข้าใจบริบทการเสียชีวิตของพี่สาว เราไม่ได้ด้อยค่าซิโนแวคนะ นี่เรากำลังพูดความจริงที่กำลังเกิดขึ้นจริงกับครอบครัวหมอ อยากสะท้อนให้เห็นว่าเกิดอะไรขึ้น หลังจากนั้นพอลงไป มีประเด็นเกิดขึ้น เพราะในนั้นบอกว่าอยากให้มีการนำวัคซีนแบบเสรีเข้ามา คุณหมอมองยังไง ?

น้องหมอแอ้ม

นพ.สิทธิพงศ์ : ที่ผมเขียนไม่ได้ว่าใครเลย ไม่ได้ตัดพ้ออะไร ผมมองว่าตอนนี้การนำวัคซีนมาในเมืองไทย ใหญ่ ๆ คือสถาบันวัคซีน สองกรมควบคุมโรค สามองค์การเภสัช สี่สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ห้าล่าสุดคือสภากาชาด ที่ผมพูดผมกำลังบอกว่าแค่อยากลองว่าเราจะมีโอกาสมั้ย องค์กรที่หก เจ็ด แปด นำเข้าวัคซีนมาในเมืองไทย อย่างกทม. มีเงินเยอะ ทำเรื่องไปก็ได้ หรือแต่ละจังหวัดนำเข้าแต่ละอันได้มั้ย หรือจะให้เอกชนนำเข้าได้มั้ย แต่ผมก็ทราบว่าเวลาเขาดีลวัคซีนเมืองไทย ที่ดีลกับเมืองไทย ต้องดีลกับรัฐเท่านั้น แต่มันก็ไม่ได้ไปล็อกว่าเป็นไปไม่ได้ ถ้าเราแก้กฎว่าเอกชนได้ หรือองค์กร เช่น กทม. ไปดีลโดยตรง ลองดูมั้ย ถ้าเขาโอเคก็ไม่ผิดที่เราจะลองไม่ใช่เหรอ ได้ไม่ได้ก็อีกเรื่องนึง
 

หนุ่ม กรรชัย : ยืนยันเราไม่ได้ด้อยค่าซิโนแวค เพราะผมก็ฉีดซิโนแวคเหมือนกัน ขอถามอาจารย์ ตอนนี้ซิโนแวคสองเข็ม มันเอาไม่อยู่แล้วใช่มั้ย ?

นพ.สิทธิพงศ์ : เคสคุณหมอน่าสนใจมาก เพราะว่าทุกคนได้รับวัคซีนหมด ก่อนหน้านี้ที่เราทราบกันมาช่วงระบาดใหม่ ๆ มีการพูดกันว่าวัคซีนกันติดไม่ได้ แต่กันตายได้ เพราะเรามีความมั่นใจว่าภูมิคุ้มกันในร่างกายเราจะมีระดับที่สามารถป้องกันการติดเชื้อรุนแรง ทำให้เกิดเชื้อลงปอด และทำให้ความรุนแรงของโรคเกิดขึ้น แต่ข้อมูลที่ได้ตอนนี้สายพันธุ์เดลต้า มีบางอย่างที่แตกต่างไปจากการระบาดครั้งก่อน ๆ ที่เราเจอ ข้อมูลค่อนข้างชัดว่าเดลต้าอยู่ในร่างกายเราได้ไว เพิ่มปริมาณตัวเองในร่างกายได้ค่อนข้างไวมาก ๆ และ มีปริมาณมากกว่าสภาวะปกติพันเท่า

หมอแอ้ม

กรณีวัคซีน เราเข้าใจว่าวัคซีนที่เราฉีดเข้าไปจะไม่อยู่กับร่างกายเราตลอด อย่างที่คุณหนุ่มบอกว่าตอนนี้ซิโนแวคสองเข็มอยู่ในร่างกายคุณหนุ่มเหลือแค่ 20 กว่า นั่นหมายความว่าภูมิคุ้มกันการฉีดวัคซีนมันจะอยู่และพอไม่ได้ใช้ประโยชน์ ถ้าเกิดติดเชื้อซ้ำ ภูมิคุ้มกันที่เรามี ความทรงจำจากการฉีดวัคซีนจะเริ่มทำงาน เซลล์ต่าง ๆ จะเริ่มสร้างแอนติบอดี้ขึ้นมา แต่ใช้เวลาประมาณ 6-8 วัน ถ้าดูเดลต้า เดลต้าใช้เวลาเข้าร่างกายเรา 3-4 วัน จะมีช่วงที่เซลล์สร้างแอนติบอดี้ไม่ทัน ทำให้เดลต้าเริ่มสร้างปัญหา เช่นติดไปในปอด เข้าไปในคนต่าง ๆ ที่มีความเสี่ยงค่อนข้างสูง

ความสมดุลมันไม่เสมอกัน ถ้าเมื่อก่อนที่ฉีดซิโนแวคไป 2 เข็ม ถามว่าโอเคมั้ยก็โอเคแต่นั่นมันคือเมื่อก่อน ถามว่าเพราะอะไรเพราะเชื่อก่อนหน้านี้พอรับไป กว่าจะเริ่มมีปฏิกิริยาลงปอด ใช้เวลา 5-7 วัน เซลล์เราจะกระตุ้นแอนติบอดี้ทัน เสมอกัน แต่พอเป็นเดลต้ามัน 3 วันเท่านั้น ที่เราฉีดไปภูมิยังไม่กระตุ้นขึ้นมา ฉะนั้นแค่ 3 วัน มันจัดการเราก่อน

น้องหมอแอ้ม

ขอขอบคุณข้อมูลจาก Tnews