อ.เจษฎา แจงความจริง หลังแพร่สะพัด ภาพปอดติดโควิด ฉีดวัคซีน เทียบไม่ฉีด

14 พฤษภาคม 2564

อ.เจษฎา อาจารย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชี้แจงข้อเท็จจริง หลังโลกออนไลน์แพร่สะพัด ภาพปอดผู้ป่วยติดโควิด 19 ที่ฉีดวัคซีนโควิด เปรียบเทียบไม่ฉีด พร้อมทั้งระบุ เห็นหรือยังว่าทำไมคุณถึงควรจะฉีดวัคซีนเมื่อยังมีโอกาสอยู่?

จากที่ก่อนหน้านี้มีการออกข่าวและแชร์กันอย่างต่อเนื่อง ถึงภาพปอดของผู้ป่วย ซึ่งได้ระบุว่า "เห็นหรือยังว่าทำไมคุณถึงควรจะฉีดวัคซีนเมื่อยังมีโอกาสอยู่ ลองดูภาพ CT scan ของผู้ป่วยที่ติดโรคโควิด 19 สองรูปนี้สิ ว่าต่างกันอย่างไร?" ทำให้กลายเป็นที่พูดถึงและโจษจันอย่างมากในโลกออนไลน์
 

ล่าสุด อ.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ชี้แจงเกี่ยวกับเรื่องนี้ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า "ภาพเปรียบเทียบปอด ระหว่างคนที่ฉีดและไม่ได้ฉีดวัคซีนโรคโควิด-19 นี้ เป็นข่าวปลอมนะครับ !! เมื่อวานนี้มีหลายสำนักข่าวเลยที่เผยแพร่ภาพนี้ ซึ่งแชร์ส่งต่อกัน หรือแม้กระทั่งนำไปโพสต์ในเพจทางด้านสาธารณสุขหลายแห่ง 


ว่าเป็น ภาพ CT scan คอมพิวเตอร์ รูปปอดในคนที่ติดโควิด 19 ที่ฉีดวัคซีน กับไม่ฉีดวัคซีน โดยระบุทำนองว่า มีแพทย์ชาวอินเดียเผยแพร่ภาพ CT scan ปอดของคนที่ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 ซึ่งจะเห็นว่าไม่มีการอักเสบ ปอดดูจะโปร่งและใส ส่วนภาพคอมพิวเตอร์ปอดอักเสบ ของคนที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน จะเป็นฝ้าขาว เนื่องจากมีน้ำเหลืองจากการอักเสบ และมีเม็ดเลือดขาวมาออกันอยู่ในปอดมาก !!
 

อ.เจษฎา แจงความจริง หลังแพร่สะพัด ภาพปอดติดโควิด ฉีดวัคซีน เทียบไม่ฉีด

แถมด้วยแคปชั่นประกอบว่า "เห็นหรือยังว่าทำไมคุณถึงควรจะฉีดวัคซีนเมื่อยังมีโอกาสอยู่ ลองดูภาพ CT scan ของผู้ป่วยที่ติดโรคโควิด 19 สองรูปนี้สิ ว่าต่างกันอย่างไร? คุณหมอสุมิท เค ดับบี้  Sumit K Dubey ได้แชร์รูปนี้บนทวิตเตอร์ !? แม้ว่าภาพลักษณะเช่นนี้ จะช่วยกระตุ้นให้เรารู้สึกหวาดกลัวกับการติดเชื้อไวรัสโรค covid-19 จนปอดอักเสบรุนแรง และอยากจะฉีดวัคซีนป้องกัน 


แต่ก็ขอเตือนก่อนนะครับว่า ภาพนี้เป็นข่าวปลอม ที่เผยแพร่กันอย่างไวรัลในต่างประเทศ และระบาดมาถึงไทยแล้ว !!  (สังเกตว่า อุตส่าห์มีการทำกราฟฟิกภาษาไทย ประกอบลงไปในภาพด้วย) ถ้าได้นำรูปนี้ไปตรวจสอบด้วย google จะพบว่ามีการรายงานไว้แล้ว ว่ารูปดังกล่าวไม่ใช่ผลของการทำ CT scan คนที่ฉีดวัคซีนโรคโควิด-19 (เช่นที่เพจ Factly.in


เพราะจริงๆแล้วรูปนี้ถูกเผยแพร่ตั้งแต่เดือนเมษายน ปีที่แล้ว (ค.ศ. 2020) เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาวิจัยโดยโรงพยาบาล the Vancouver Hospital มหาวิทยาลัย British Columbia University ร่วมกับสถาบัน the Vancouver Coastal Health Research Institute ประเทศแคนาดา เพื่อเอาภาพ CT scan มาช่วยทำนายการติดโรคโควิด-19 (คลิกเพื่ออ่านโพสต์ต้นฉบับ)


ซึ่งในช่วงเดือนเมษายน 2020 นั้น ยังไม่มีการเริ่มฉีดวัคซีนโรค covid-19 ที่ไหนเลย !! ดังนั้น แม้รูปภาพปอดดังกล่าว จะมีประโยชน์ในการรณรงค์ให้คนมาฉีดวัคซีนก็ตาม แต่ต้องยอมรับความจริงว่า มันไม่ถูกต้องที่จะบอกว่า เป็นภาพปอดของคนที่ฉีดวัคซีน แล้วติดเชื้อโรคโควิด-19 (เพราะจริงๆ เป็นภาพของปอดของคนปกติทั่วไป ... และถึงเราฉีดวัคซีนแล้วก็ตาม สภาพปอดก็จะมีความเสียหายเกิดขึ้นได้ เพียงแต่ไม่รุนแรงเท่าคนที่เกิดอาการปอดอักเสบรุนแรง จากโรคโควิด 19)

อ.เจษฎา แจงความจริง หลังแพร่สะพัด ภาพปอดติดโควิด ฉีดวัคซีน เทียบไม่ฉีด


อ่านโพสต์ต้นฉบับ 

อ่านโพสต์ต้นฉบับ

อ่านโพสต์ต้นฉบับ