เปิดประวัติ ชุดกิโมโน ชุดประจำชาติญี่ปุ่น มีที่มาอย่างไร

28 ตุลาคม 2565

ประวัติชุดประจำชาติญี่ปุ่น หรือ ชุดกิโมโน มีความหมายและที่มาอย่างไร รวมไปถึง ข้อสำคัญในการใส่ชุดกิโมโนมีอะไรบ้าง

ชุดประจำชาติญี่ปุ่น วันนี้ทีมข่าว Thainews Online จะพาทุกคนไปทำความรู้จัก เปิดประวัติ ชุดกิโมโน ชุดประจำชาติญี่ปุ่น มีที่มาอย่างไร รวมไปถึง ความหมายของชุดกิโมโน และ ข้อสำคัญในการใส่ชุดกิโมโนมีอะไรบ้าง

เปิดประวัติ ชุดกิโมโน ชุดประจำชาติญี่ปุ่น มีที่มาอย่างไร

 

ประวัติชุดกิโมโน

เริ่มตั้งแต่ สมัยนารา (ค.ศ. 710 - 794) ก่อนที่ชุดกิโมโนจะเป็นที่นิยม ชาวญี่ปุ่นมักแต่งชุดท่อนบนกับท่อนล่างเหมือนกันหรือผ้าชิ้นเดียวกัน

ต่อมาในยุคสมัยเฮอัน (ค.ศ. 794 - 1192) ซึ่งถือเป็นช่วงเริ่มต้นการใส่กิโมโน ชาวญี่ปุ่นพัฒนาเทคนิคการตัดชุดเสื้อผ้าด้วยการตัดผ้าเป็นเส้นตรง เพื่อให้ง่ายต่อการสวมใส่ และตัดเย็บให้เหมาะกับฤดูกาล ความสะดวกสบายนี้ทำให้ชุดกิโมโนแพร่หลายไปอย่างรวดเร็ว โดยวงการแฟชั่นสมัยนั้น ชุดกิโมโนจะมีสีสัน ผสมผสานกันด้วยสีต่างๆให้เหมาะสมกับสภาพอากาศและชนชั้นทางสังคม ถือว่าเป็นช่วงที่ชุดพัฒนาในเรื่อง สี มากที่สุด

มาถึงยุคคามาคุระ (ค.ศ. 1338 - 1573) ทั้งผู้หญิงและผู้ชายจะนิยมใส่ชุดกิโมโนที่สีสันแสบทรวง ยิ่งเป็นนักรบจะต้องยิ่งใส่ชุดที่สีฉูดฉาดมากๆเพื่อแสดงถึงความเป็นผู้นำ

ในยุคเอโดะ ( ค.ศ. 1600-1868) ในช่วงนี้นักรบซามูไรแต่ละสำนักจะแต่งตัวแบ่งแยกตามกลุ่มของตนเอง เรียกว่าเป็น “ชุดเครื่องแบบ” โดยชุดที่ใส่นี้ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ชุดกิโมโน ชุดคามิชิโม ตัดเย็บด้วยผ้าลินินใส่คลุมชุดกิโมโนเพื่อให้ไหล่ดูตั้ง และกางเกงขายาวที่ดูเหมือนกระโปงแยกชิ้นชุดกิโมโนของซามูไรจำเป็นต้องเนี้ยบมาก ดังนั้นจึงเป็นช่วงที่พัฒนากิโมโนไปอีกขั้น จนเป็นผลงานศิลปะชิ้นหนึ่ง

จนกระทั่งยุคเมจิ (ค.ศ. 1868 - 1912) จนถึงปัจจุบัน ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากต่างชาติมากขึ้น ชาวญี่ปุ่นเปลี่ยนมาใส่ชุดสากลในชีวิตประจำวัน ผู้ที่สวมกิโมโนในชีวิตประจำวันจะมีเพียงผู้ประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องกับศิลปะญี่ปุ่นแต่โบราณเท่านั้น หรือสวมใส่เฉพาะงานพิธีการต่างๆ เช่น งานแต่งงาน งานปีใหม่ งานฉลองบรรลุนิติภาวะ เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ผู้ที่สามารถสวมชุดกิโมโนได้เองมีน้อย ถึงขนาดจัดเป็นคุณสมบัติข้อหนึ่งของการเตรียมตัวเพื่อเป็นเจ้าสาวของสตรีญี่ปุ่น

ชุดประจำชาติญี่ปุ่น เปิดประวัติ ชุดกิโมโน ชุดประจำชาติญี่ปุ่น มีที่มาอย่างไร

 

อย่างไรก็ตาม การใส่กิโมโนก็มีกฎ 3 ข้อใหญ่ๆ ที่ควรรู้ก่อนใส่ อย่างแรกคือต้องจำไว้ว่าการใส่กิโมโนนั้นด้านซ้ายจะต้องอยู่ด้านบนเสมอ เพราะหากด้านขวาทับด้านซ้ายจะเป็นการใส่ให้กับคนที่เสียชีวิตเท่านั้น อีกอย่างคือต้องยอมรับว่าคนญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับฤดูกาลเป็นอย่างมาก การใส่กิโมโนบางลายจะสามารถใส่ได้เฉพาะบางช่วงของปี เช่น กิโมโนที่มีลวดลายของต้นซากุระจะได้ใส่ช่วงฤดูซากุระบานเท่านั้น ยกเว้นแต่ลายดอกซากุระที่สามารถใส่ได้ตลอดทั้งปี ส่วนข้อสุดท้าย โอบิต้องอยู่ด้านหลังเสมอ จะมีเฉพาะผู้หญิงที่ทำงานที่ Red-light-district หรือย่านโคมแดงเท่านั้นที่จะใส่โอบิไว้ด้านหน้า

ในปัจจุบัน กิโมโน เครื่องแบบประจำชาติของชาวญี่ปุ่นไม่ได้มีแค่ผู้สูงอายุที่หยิบมาใส่เท่านั้น เด็กวัยรุ่นก็ยังคงใส่กิโมโนในวันพิเศษต่างๆ เช่นกัน อย่างวันฉลองอายุครบ 20 ปี หรือในบางโรงเรียนมักจะให้เด็กๆ ใส่ชุดกิโมโนในวันจบการศึกษา อีกทั้งแบรนด์เสื้อผ้าในประเทศญี่ปุ่นยังนิยมหยิบยกเอากิโมโนมาทำให้ดูทันสมัยมากขึ้น จึงไม่แปลกใจที่เวลาเราไปเยือนญี่ปุ่น มักจะเห็นเด็กๆ วัยรุ่นใส่กิโมโนออกมาใช้ชีวิตกันเป็นปกติ

ชุดกิโมโนมีแบบไหนบ้าง

1. ฟุริโซเดะ

2. ฮิคิซึริ 

3. โทเมโซเดะ

4. โฮมงกิ

5. อิโระมุจิ

6. โคะมง

7. ยูกาตะ

8. ชิโระมุคุ

9. กิโมโนสำหรับผู้ชาย

ชุดกิโมโนมีแบบไหนบ้าง เปิดประวัติ ชุดกิโมโน ชุดประจำชาติญี่ปุ่น มีที่มาอย่างไร