เปิดประวัติ ปราสาทพนมรุ้ง สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองบุรีรัมย์

08 กันยายน 2565

เปิดประวัติ ปราสาทพนมรุ้ง สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองบุรีรัมย์ และ เชิญชมความงดงาม รับแสงแรกแห่งปี ชมพระอาทิตย์ตรง 15 ช่องประตู พร้อมขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์บนเขาพนมรุ้ง 8-10 กันยายน นี้

อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง เปิดประวัติ ปราสาทพนมรุ้ง สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองบุรีรัมย์ และ เชิญชมความงดงาม รับแสงแรกของปี พระอาทิตย์ตรง 15 ช่องประตู พร้อมขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์บน เขาพนมรุ้ง 8-10 กันยายน 2565 นี้ 

เปิดประวัติ ปราสาทพนมรุ้ง สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองบุรีรัมย์

ประวัติปราสาทพนมรุ้ง

ปราสาทหินพนมรุ้ง เป็นโบสถ์พราหมณ์ลัทธิไศวะ มีการบูรณะก่อสร้างต่อเนื่องกันมาหลายสมัย ตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 15 ถึงพุทธศตวรรษที่ 17 และในพุทธศตวรรษที่ 18 พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งอาณาจักรขะแมร์ได้หันมานับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน เทวสถานแห่งนี้จึงได้รับการดัดแปลงเป็นวัดมหายาน ในช่วงแรกปราสาทหินพนมรุ้ง สร้างขึ้นจากหินทรายสีชมพู ตั้งอยู่บนยอดเขาพนมรุ้งสูง 1,320 ฟุตจากระดับน้ำทะเล ชื่อพนมรุ้งแปลว่าภูเขาใหญ่ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 15-18

จารึกต่าง ๆ ที่นักวิชาการได้อ่านและแปลพอจะสรุปได้ว่า พระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 2 กษัตริย์แห่งพระนคร (พ.ศ. 1487-1511) ได้สถาปนาเทวสถานถวายพระศิวะที่เขาพนมรุ้ง ซึ่งในสมัยแรก ๆ คงยังไม่ใหญ่โตนัก ต่อมาพระเจ้าชัยวรมันที่ 5 (พ.ศ. 1511-1544) ได้ทรงอุทิศที่ดินและข้าทาสถวายแด่เทวสถานพนมรุ้ง ในสมัยพุทธศตวรรษที่ 17 นเรนทราทิตย์ เจ้านายแห่งราชวงศ์มหิธรปุระที่ปกครองดินแดนแถบนี้ (ซึ่งเป็นต้นตระกูลของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ผู้สร้างนครวัด) ได้สร้างปราสาทแห่งนี้ขึ้นและได้ทรงบำเพ็ญพรตเป็นโยคี ณ ปราสาทพนมรุ้ง

ปราสาทพนมรุ้ง ประวัติปราสาทพนมรุ้ง พระอาทิตย์ตรง 15 ช่องประตู อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง

อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง

ความงดงามของปราสาทพนมรุ้ง นั้นมีอีกมากมาย มี ความเชื่อ กันว่า เส้นทางเดินสู่ปราสาทซึ่งเปรียบเสมือนจุดเชื่อมต่อระหว่างโลกมนุษย์และสรวงสวรรค์ มีเส้นทางที่มีเสานางตั้งเรียงรายอยู่ ผ่านสะพานนาคซึ่งเป็นชุดเชื่อมระหว่างโลกมนุษย์และสรวงสวรรค์ นำสู่องค์ ปราสาทประธาน เปรียบได้ดั่งยอดเขาพระสุเมรุ นั่นเองคะ

จุดเด่นปราสาทพนมรุ้ง

ปราสาทประธานนี้สร้างด้วย หินทรายสีชมพู มีความงดงามมาก มีไฮไลท์คือองค์ปรางค์ประธาน ที่ภายในตัวเรือนมีธาตุ มีห้องครรภคฤหะ ประดิษฐานศิวลึงค์รูปเคารพสำคัญของลัทธิไศวนิกาย ความพิเศษของศิวลึงค์ที่นี่ก็คือ จะมีท่อโสมสูตร หรือ ร่องรับน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ได้จากพิธีกรรมเซ่นสังเวยองค์ศิวเทพต่อยาวออกมานั่นเองคะ

จุดเด่นสำคัญอีกจุดก็คือ ลวดลายสลักหิน หรือ ภาพจำหลักหิน ที่ถือเป็นงานฝีมือประณีตงดงาม โดยนำภาพ ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ และ ศิวนาฏราช อยู่เคียงคู่กัน และยังมีภาพลวดลายของขอมโบราณสลักไว้ตามแง่มุมต่างๆ สวยงามและค่อนข้างสมบูรณ์เป็นส่วนมาก

นอกจากนี้ ยังมี ปรากฎการณ์ ที่เรียกว่า สิ่งที่น่าอัศจรรย์ ก็คือ ใน 1 ปี จะมี 4 วัน ที่ พระอาทิตย์ขึ้น และตกผ่านช่องประตูทั้ง 15 ประตูเป็นแนวเดียวกัน

โดยในทุกๆ ปีปราสาทพนมรุ้งจะมีปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ขึ้นและตก ลอดช่องผ่านประตูทั้ง 15 ช่อง เป็นแนวเดียวกัน 4 ครั้งเท่านั้น คือ พระอาทิตย์ขึ้นลอดช่องประตู 2 ครั้ง ในช่วงวันที่ 3-5 เมษายน และ 8 -10 กันยายน พระอาทิตย์ตกลอดช่องประตู 2 ครั้ง ในช่วงวันที่ วันที่ 5-7 มีนาคม และ 5-7 ตุลาคม

เรื่องนี้มีข้อสันนิษฐานจากนักวิชาการว่า สถาปนิกขอมโบราณน่าจะเลือกสร้างปราสาทพนมรุ้ง โดยใช้แสงอาทิตย์ยามเช้ากำหนดทิศทางของปราสาทและแนวประตูทั้ง 15 ช่อง ซึ่งคาดว่าน่าจะตรงกับช่วงเทศกาลสงกรานต์พอดี แต่ต่อมาการหมุนของโลกเบี่ยงเบนไปเรื่อยๆ วันที่พระอาทิตย์ขึ้นส่องลอดทะลุประตูทั้ง 15 ช่อง จึงเลื่อนขึ้นมาปรากฏในช่วงต้นเดือนเมษายน

พระอาทิตย์ตรง 15 ช่องประตู 8-10กันยายน2565 เปิดประวัติ ปราสาทพนมรุ้ง สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองบุรีรัมย์